xs
xsm
sm
md
lg

ทร.พม่าคว้ามาอีก 6 ลำ เรือเล็กโจมตีเร็วติดจรวดรุ่นใหม่เครื่องวอเตอร์เจ็ตสุดทันสมัยสายพันธุ์อิสราเอล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพเหตุการณ์เมื่อเดือนที่แล้ว ผู้บัญชาการกองทัพพม่า กับ ประธานกลุ่มบริษัท IAI บนเรือซูเปอร์ดวอรัค MKIII ของกองทัพเรืออิสราเอลลำหนึ่ง เว็บไซต์ข่าวกระทรวงกลาโหมพม่าเผยแพร่ในสัปดาห์นี้ เป็นการยืนยันข่าวการซื้่อเรือชนิดนี้จำนวน 6 ลำ ซึ่งใช้เป็นเรือเร็วโจมตีติดจรวดนำวิถี หรือ ทำเป็นเรือเร็วติดปืนสำหรับปฏิบัติการในแม่น้ำ รวมทั้งใช้ในภารกิจอื่นๆ ได้อีกมากมาย. -- ภาพ: เฟซบุ๊ก พล.อ.มินอองหล่าย. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองทัพเรือพม่า เพิ่งจะเผยแพร่ข่าวการซื้อเรือเร็วโจมตีทันสมัย ความเร็วสูงติดจรวดนำวิถี และปืนใหญ่เรือแบบอัตโนมัติ ผลิตในอิสราเอล จำนวน 6 ลำรวด ซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อต้นเดือนที่แล้ว ภาพที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็น พล.อ.อาวุโสมินอองหล่าย (Min AUng Hlaing) กับประธานบริษัทผู้ผลิต เยี่ยมชมบนเรือความเร็วสูงลำหนึ่งระหว่างไปเยือนอิสราเอล

นี่คือ เรือซูเปอร์ดวอรัก มาร์ค 3 (Super Dvorak MK III) ขนาด 48-53 ตัน ซึ่งเป็นรุ่นที่ส 3 ของ “ยานโจมตีเร็ว” (Fast Attack Craft- FAC) ที่ผลิตในประเทศอิสราเอล และได้ชื่อเป็น FAC ดีที่สุดรุ่นหนึ่งของโลกในขนาดเดียวกัน ปัจจุบัน ยังคงประจำการในกองทัพเรืออิสราเอลจำนวน 10 ลำ และยังต้องการอีก 6 ลำ สามารถติดจรวดนำวิถียิงเรือได้อีกด้วย

สำหรับพม่า การซื้อเรือรุ่นนี้นับเป็นเพียงครั้งที่ 2 ในรอบ 2-3 ปีมานี้ ในความพยายามพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพเรือ และยังถูกมองว่าเป็นอีกความพยายามหนึ่งในการกระจายความเสี่ยง หลังจากพึ่งพาอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นหลักตลอด 20-30 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่พม่าเร่งพัฒนาขีดความสามารถทางยุทธนาวีอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งมีทั้งการจัดซื้่อ และ ต่อเรือรบเองออกมาหลายลำ

ปลายปี 2556 พม่าประสบความสำเร็จในการต่อเรือเร็วติดจรวดอีกรุ่นหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่กว่าเรือซูเปอร์ดวอรัค MKIII เกือบเท่าตัว ด้วยความช่วยเหลือจากจีน และติดตั้งระบบเรดาร์กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตลอดจนระบบจรวดนำวิถีอาวุธที่ผลิตในประเทศจีนทั้งหมด นอกจากนั้น พม่าเพิ่งนำเข้าประจำการเรือฟริเกตติดจรวดอีกลำหนึ่งเมื่อต้นปีนี้

เรือโจมตีเร็วจากอิสราเอลทั้ง 6 ลำ สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ ทั้งในปฏิบัติการชายฝั่ง และตามลำน้ำ จะช่วยเพิ่มขีดความสารถของกองทัพเรืออีกเท่าทวีอย่างไม่ต้องสงสัย เว็บไซต์ข่าวของกระทรวงกลาโหมพม่า และเว็บข่าวกลาโหมในภูมิหลายแห่งรายงานสัปดาห์นี้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับกำหนดการส่งมอบ ตลอดจนราคาซื้อขาย

เรือซูเปอร์ดวอรัค 3 ต่อโดยบริษัทแรมทา (Ramta) แขนงหนึ่งของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมอวกาศแห่งอิสราเอล หรือ IAI (Israel Aerospace Industries) ซึ่งเป็นกลุ่มเทคโนโลยีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของประเทศ บริษัทนี้ส่ง FAC รุ่นที่ 3 ให้กองทัพเรือลำแรกเมื่อปี 2546 กองทัพเรือนำไปติดอาวุธ ก่อนออกแล่นทดสอบในทะเลในปี 2551 ทั้งนี้ เป็นข้อมูลในเว็บไซต์ IAI

ซูเปอร์ดวอรัค 3 ยาวเพียง 27 เมตร กว้างสุด 5.7 เมตร ติดเครื่องยนต์ดีเซล V-12 ขนาด 4,000 ซีซี จำนวน 2 เครื่อง ให้กำลังรวม 4,175 แรงม้า ผลิตโดยบริษัทดีทรอยต์ดีเซล เอ็มทียู ในรัฐมิชิแกน พร้อมติดตั้งระบบขับด้วยแรงดันน้ำ โดยบริษัทอาร์นีสัน เซอร์เฟซ ไดรว์ แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย จำนวน 2 ชุด สามารถทำความเร็ว 45-50 นอต (83-93 กม./ชม.) และมีระยะปฏิบัติการ 1,300 กิโลเมตร นับเป็นความเร็วสูงมาก และเสถียรมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่งในขณะออกแล่นปฏิบัติการ วิดีโอคลิปเกี่ยวกับการทดสอบหลายชิ้่นที่เผยแพร่กันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้ช่วยยืนยันในเรื่องนี้
.

.
กองทัพเรืออิสราเอล ได้ติดตั้งระบบอาวุธ ที่ประกอบด้วย จรวดนำวิถียิงเรือระยะใกล้ ที่ผลิตในประเทศรุ่นหนึ่ง กับปืนกลขนาด 12.7 มม. จำนวน 2 ชุด ระบบปืนใหญ่เรือแบบยิงอัตโนมัติ ขนาด 30 มม. ของเออร์ลิคอน (Oerlikon) 1 ชุด หรือติดปืนระบบปืนใหญ่เรืออัตโนมัติแบบไต้ฝุ่น (Typhoon) ขนาด 25 หรือ 30 มม. ผลิตในประเทศอีก 1 ชุด ที่ส่วนท้ายเรือแทนที่จรวด ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานกลุ่มนาโต้

กองทัพเรือไต้หวัน นำเรือเร็วอิสราเอลรุ่นนี้ไปติดตั้งระบบจรวดนำวิถีแบบเฮลไฟร์ (Hellfire) ชนิดใช้ยิงเรือแทน ในพื้นที่ส่วนท้ายเรือสำหรับติดตั้งปืนใหญ่ เช่นกัน

เว็บไซต์ข่าวของกระทรวงกลาโหมในพม่า กล่าวว่า เรือซูเปอร์ดวอรัค มีประโยชน์อย่างมากในการจัดการปัญหาในน่านน้ำ และในลำน้ำของประเทศ ตั้งแต่ปัญหาโจรสลัด การค้าของเถื่อน จนถึงการค้ามนุษย์ที่เป็นปัญหาใหญ่ ทำให้พม่าได้รับความสนใจจากทั่วโลก และใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย กับการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมได้ด้วย

ปัจจุบัน กองทัพเรือพม่ามีเรือฟริเกต 6 ลำ เรือ “ไลท์ฟริเกต” ซึ่งเป็นเรือติดจรวดขนาดเล็กลงอีก 2 ลำ เรือคอร์แว็ต/โอพีวี กับเรือเร็วติดจรวดนิวิถีขนาดใหญ่ (45-49 เมตร) อีก 21 ลำ เรือเร็วติดปืนขนาดใหญ่ (45 เมตร) จำนวน 11 ลำ เรือเร็วติดจรวดปราบเรือดำน้ำอีก 6 ลำ เรือเร็วโจมตีติดจรวดนำวิถีอีกกว่า 20 ลำ เรือเล็กลาดตระเวนชายฝั่งติดจรวดอีกกว่า 20 ลำ ซึ่งเกือบทั้งหมดซื้อจากจีน หรือต่อเองด้วยความช่วยเหลือจากจีน จำนวนหนึ่งตั้งแต่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มีขึ้นตั้งแต่เริ่มสหัสวรรษใหม่เป็นต้นมา ในนั้นมีเพียงประมาณ 10 ที่ซื้อจากโปแลนด์ ตั้งแต่ยุสงครามเย็น
.
<FONT color=#00003>เรือ Super Dvorak MKIII ประจำการกองทัพเรืออิสราเอลกับกองทัพเรืออีกหลายประเทศ ทั้งในย่านแอฟริกา อเมริกากลาง รวมทั้งกองทัพเรืออินเดีย และกองทัพเรือไต้หวัน ที่นำไปติดจรวดเฮลไฟร์ (Hellfire) ชนิดยิงจากเรือ.</b>
2
เรือรบพม่าติดระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบโซนาร์ และระบบอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจรวดนำวิถี ทั้งจากอินเดีย จีน และรัสเซีย และตามข้อมูลของศูนย์วิจัยกลาโหมในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ปัจจุบัน พม่าเป็นลูกค้ารายใหญ่อันดับ 3 ของอาวุธยุทโธปกรณ์จีน ถัดจากปากีสถาน กับบังกลาเทศ

รัฐบาลใหม่กึ่งพลเรือนของพม่าได้แสดงออกให้เห็นมาหลายครั้งในความพยายามลดการพึ่งพาอาวุธจากจีน รวมทั้งในเดือน ส.ค.ปีนี้ ระหว่างงานแสดงอาวุธรัสเซีย หรือ RAE (Russia Arms Exhibition 2015) ในเขตอูราล ซึ่งพม่าแสดงความสนใจ และศึกษาการจัดซื้อ ยานโจมตีหุ้มเกราะแบบ BMP-3 จากรัสเซีย ที่อาจจะมีจำนวนหลายสิบคัน

ปลายปีที่แล้ว พล.อ.อาวุโส มินอองหล่าย ได้เดินทางเยือนรัสเซีย เบลารุส กับอีกหลายสาธารณรัฐพันธมิตรรัสเซีย ได้ไปเยี่ยมชมอุตสาหกรรมอาวุธในแต่ละประเทศอย่างหลากหลาย และยังเป็นที่มาของข่าวที่ว่า ผู้นำทางทหารจากพม่า เจรจากับรัสเซียเกี่ยวกับการซื้อเรือดำน้ำชั้นคิโล 2-4 ลำ เฮลิคอปเตอร์สำหรับภารกิจปราบเรือดำน้ำแบบคาร์มอฟ (Kharmov) Ka-28 อีก 2 ลำ สำหรับเรือฟริเกต

เดือน เม.ย.ปีนี้ พล.อ.อาวุโสมินอองหล่าย เป็นประธานในพิธีฝึกซ้อมครั้งใหญ่ของกองทัพเรือในทะเลอันดามัน ที่มีการระดมเรือรบรุ่นต่างๆ กว่า 10 เข้าร่วม นับเป็นการฝึกซ้อมทางนาวีครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศนี้ ซึ่งมีการทดลองยิงจรวดนำวิถีที่ผลิตจากจีนด้วย.
.

<FONT color=#00003>เรือบุเรงนอง (UMS Bayinnaung, F-772) ยิงจรวด C-802 ที่ซื้อจากจีน ระหว่างเข้าร่วมการฝึกซ้อมครั้งใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือ ที่จัดขึ้นในทะเลอันดามันเดือน เม.ย.ปีนี้ อย่างไรก็ตามพม่าได้แสดงให้เห็นหลายครั้ง ในความพยายามลดการพึ่งพาอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนลง หันเข้าหาระบบอาวุธของนาโต้ และ อาวุธรัสเซียกับยุโรปตะวันออกมากขึ้น. </b>
3
<FONT color=#000033>เรือรบกว่า 10 ลำ ที่เข้าร่วมการฝึกซ้อมในเดือน เม.ย.ปีนี้ เป็นเรือที่ซื้อจากจีน หรือต่อขึ้นในประเทศด้วยความช่วยเหลือจากจีน และติดระบบอาวุธจีน แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้พม่าได้แสดงให้เห็นหลายครั้ง ในความพยายามลดการพึ่งพาอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีน และ หันเข้าหาระบบอาวุธนาโต้ และอาวุธจากค่ายรัสเซีย/ยุโรปตะวันออกมากขึ้น.</b>
4
<FONT color=#00003>พล.อ.อาวุโสมินอองหล่าย กับนายทหารระดับสูงของกองทัพ โบกมือให้ขณะเรือมหาบันดูลา (UMS Maha Bandoola, F-21) แล่นผ่านเรือประธาน ระหว่างการฝึกซ้อมครั้งใหญ่ของกองทัพเรือ เดือน เม.ย.ปีนี้ เป็นเรือชั้นเจียงฮู-2 (Jianghu-II Class) หรือ Type 053H1 ที่ซื้อจากจีน ลำที่สองในชุดเดียวกันคือ เรือมหาติหะตูรา (UMS Maha Thiha Thura, F-23) ทั้งสองลำ เข้าประจำการเมื่อปี 2555. </b>
5
<FONT color=#00003>เรือตะเบงชเวตี้ (UMS Tabinshwehti, F-773) หนึ่งในสามลำ เรือ ไล้ต์ฟริเกต ชุดอะนอรธา (Anawrata) ถัดจากเรือบุเรงนอง (UMS Bayinnaung, F-772) ติดจรวด C-802 กับ จรวดชุดปราบเรือดำน้ำผลิตในจีน เป็นเรือชุด ล่องหน ที่ต่อเอง ด้วยความช่วยเหลือจากจีนเช่นกัน ในภาพนี้เป็นพิธีปล่อยลงน้ำเดือน พ.ย.2557 ก่อนขึ้นระวางประจำการต้นปีนี้.</b>
6
<FONT color=#00003>เรือชิ่นพะยูชิน (UMS Sin Byu Shin, F-14) หรือ เรือมังระ เป็นหนึ่งในเรือชุดอองเซยา (UMS Aung Zeya, F-11) จำนวน 4 ลำ ถัดจากเรือเกียนสิตตา (UMS Kyansittha, F-12) สองลำแรกเป็นพระนามเดิมของพระเจ้าอลองพญา ส่วนลำที่ 3 คือ F-13 ซึ่งเน้นหนักด้านระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน ยังต่อไม่เสร็จในขณะนี้ สื่อจีนรายงานในเดือน เม.ย.ปีที่แล้วว่า พม่าจะต่อออกมาทั้งหมด 8 ลำด้วยกัน.   </b>
7
กำลังโหลดความคิดเห็น