xs
xsm
sm
md
lg

ยูเครนยอมรับอืด อาจส่ง Oplot-M ให้ไทยได้อีก 5 คันสิ้นปีนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>เพิ่งส่งมอบได้สองครั้ง 10 คัน เริ่มอืดแล้ว สำนักข่าวเอกชนในกรุงเคียฟ รายงานความไม่ราบรื่นในการผลิตรถถังหลัก T-84 โอปล็อต-M ให้แก่กองทัพบกไทย และพยายามแก้ไขปัญหาจนดีขึ้น แต่ถึงแม้จะประกาศกำหนดการ ส่งมอบล็อตใหม่ เอาไว้สิ้นปีก็ตาม ก็ยังจะต้องวัดดวงกัน. -- ภาพ: Ukroboronprom. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ยูโครโบรอนพรอม (Ukroboronprom) รัฐวิสาหกิจส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของยูเครน อาจจะส่งรถถังโอปล็อต-เอ็ม (Oplot-M) ให้กองทัพบกไทยได้อีก 5 คัน ภายในวันที่ 31 ธ.ค.ปีนี้ ผู้บริหารกล่าวว่า ที่ผ่านมา มีปัญหาเกี่ยวกับซัปพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ทำให้การผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว

หากสามารถส่งมอบได้ตาม “เส้นตาย” ที่กำหนดในสิ้นปีนี้ ไทยก็จะได้รับโอปล็อต-M รวมทั้งหมด 15 คัน จากที่สั่งซื้อทั้งหมด 49 คันในชั้นต้น สำนักข่าวยูนิอาน (UNIAN) ซึ่งเป็นสำนักข่าวของเอกชนในกรุงเคียฟ รายงานอ้างการสัมภาษณ์ นายเซร์เก ปินคาส (Sergei Pinkas) รองผู้อำนวยการใหญ่ยูโครโบรอนพรอมคนที่ 1

ยูนิอาน รายงานเรื่องนี้วันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา และกำลังตกเป็นข่าวในเว็บไซต์ เว็บบล็อก และ เฟซบุ๊กข่าวกลาโหมหลายแห่งในย่านนี้ บางแห่งได้นำการส่งมอบโอปล็อต-M ของไทย ไปเทียบกับเลโอพาร์ด 2A4 (Leopard/เล็พเพิร์ด 2A4) ที่อินโดนีเซียได้รับมอบจากเยอรมันอีกล็อตหนึ่ง จำนวน 14 คัน พร้อมกับยานเกราะอื่นๆ อีก 11 คัน เมื่อต้น

“ผมไม่อาจจะพูดได้ว่า การผลิตรถถังหลักรุ่นนี้เป็นไปโดยราบรื่นง่ายดาย มันยากมาก.. ผมพูดได้ว่ามีการมอบหมายให้โรงงานไปแล้ว มาลีเชฟ (โรงงานผลิต) บอกว่า (สถานการณ์) ไม่สู้จะดีทั้งหมด ตอนนี้เรากำลังซื้อโลหะล็อตใหญ่มากสำหรับรถถัง สถานการณ์ด้านซัปพลายชิ้นส่วนต่างๆ ก็ดีขึ้น พูดสั้นๆ ก็คือ ความรวดเร็วอาจจะไม่ได้ตามที่เราต้องการ แต่ขอให้เรารอจนถึงสิ้นปีเราจะให้ข่าวสารอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง“”

ยูนิอาน รายงานข้างต้นในหน้าเว็บภาคภาษาอังกฤษ ด้วยภาษาที่ไม่ชัดเจน และดูเหมือนมีถ้อยคนตกหล่นจำนวนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวเดียวกันนี้ได้อ้างคำแถลงฉบับหนึ่งของยูโครโบรอนพรอม ที่ออกในช่วงต้นปีนี้ว่า โรงงานมาลีเชฟ (ในเมืองคาร์คิฟ) จะผลิตโอปล็อต-M ได้เพียง 40 คันเท่านั้น รวมทั้งผลิตเพื่อกองทัพบกยูเครนด้วย แต่ปี 2559 เป็นต้นไป จะสามารถผลิตได้มากขึ้นถึงระดับ 100-120 คันต่อปี

เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารโรงงานมาลีเชฟ ได้ปลดหัวหน้าโรงงานออกจากตำแหน่ง เนื่องจากล้มเหลวไม่สามารถทำการผลิตตามแผนได้ และโรงงานเองก็มีปัญหาภายใน ไม่สามารถระดมการร่วมทุนจากภาคเอกชนได้ การระดมทุนเพิ่มจะทำให้โรงงานสามารถปรับปรุงเครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่ได้ สามารถปรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เข้ากับกลุ่มนาโต้ได้
.

2
<FONT color=#000033>เลโอพาร์ด 2A4 จำนวน 4 คันกับยานเกราะโจมตีแบบมาร์เดอร์  (Marder IFV) อีก 2 คัน ซึ่งรวมอยู่ในล็อตใหม่ทั้งหมด 14 คันที่ส่งถึงท่าเรือ ในกรุงจาการ์ตาเมื่อต้นเดือนนี้. </b>
3
<FONT color=#000033>เลโอพาร์ด หรือ เลพเพิร์ด 2A4 กับเลโอพาร์ด 2 เรฟโวลูชั่้น (Revolution) ที่อินโดนีเซียซื่้อจากเยอรมนี แม้จะเป็นยานเกราะผ่านการ่ใช้งานแล้ว แต่จะต้องทำการอัปเกรด ก่อนส่งมอบ.</b>
4
ไทยเซ็นสัญญาซื้อโอปล็อต-M ในปี 2554 เป็นมูลค่าราว 250 ล้านดอลลาร์ ส่งมอบ 5 คันแรกในปลายปี 2556 อีกล็อตหนึ่ง จำนวน 5 คัน ส่งมอบในเดือน มิ.ย.ปีนี้ ยูนิอาน กล่าว

เว็บไซต์ข่าวกลาโหมในอินโดนีเซีย ได้วิจารณ์เรื่องนี้ในวันอังคาร ระบุว่า ยูเครนส่งมอบรถถังให้ไทยช้าเกินควร หากเทียบกับอินโดนีเซียที่เซ็นสัญญาซื้อเลโอพาร์ด 2A4 ซึ่งอินโดนีเซียเซ็นสัญญาซื้อจากเยอรมนี ในต้นปี 2556 เป็นเลโอพาร์ด 2A4 จำนวน 61 คัน เลโอพาร์ด “เรฟโวลูชั่น” (Revolution) ที่ใหม่กว่าอีก 42 คัน และ ยานหุ้มเกราะโจมตีแบบมาร์เดอร์ (Marder IFV) อีก 80 คัน พ่วงกับรถหุ้มเกราะสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่ง รวมมูลค่าราว 280 ล้านดอลลาร์

ทั้งหมดเป็นยานเกราะที่ผ่านการใช้งานแล้ว และใช้เป็นกองหนุน ซึ่งจะต้องผ่านการอัปเกรดก่อนรับมอบ การซื้อยุทโธปกรณ์ล็อตใหญ่ ยังรวมทั้งเงื่อนไขที่ฝ่ายเยอรมนีจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี และการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อซ่อมบำรุงด้วย

เยอรมนี ส่งมอบเลโอพาร์ด 2A4 ให้ล็อตแรกเพียง 2 คัน ในเดือน ก.ย.2556 เพื่อนำออกแสดงในงานครบรอบปีที่ 68 การก่อตั้งกองทัพในเดือน ต.ค. ส่วนล็อตที่ 2 ที่ส่งมอบใน ส.ค.2557 มีรถถัง 24 คัน รถ IFV หุ้มเกราะอีก 28 คัน เมื่อรวมกับล็อตล่าสุด ทำให้กองทัพบกอินโดเนีเซียมีรถถังหลักทันสมัยประจำถึง 40 คันในขณะนี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น