xs
xsm
sm
md
lg

ยูเครนส่ง Oplot-M เข้าปากีสถานทดสอบ ส่อแววเป็นลูกค้าอีกรายถัดจากไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>จากโรงงานในเมืองคาร์คิฟ ที่ผลิตให้แก่กองทัพบกไทย สาธารณรัฐยูเครนส่งโอปล็อต-M ไปถึงปากีสถานเมื่อวันศุกร์ เพื่อทดสอบให้ประเทศนี้ได้เห็นประสิทธิภาพ ไม่มีรายละเอียดอื่นๆ อีก เกี่ยวกับการออกโรดโชว์ของรถถังหลักทันสมัยรุ่นนี้ หากสามารถตกลงซื้อขายกันได้ ปากีสถานก็จะเป็นลูกค้ารายที่ 2 ถัดจากกองทัพบกไทย. -- PakistanDefence.Com</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการยูเครนจัดส่งรถถังโอปล็อต-M (T-84 Oplot-M) จำนวน 1 คัน ไปยังปากีสถาน และในขณะนี้กำลังมีการทดสอบเพื่อให้กองทัพบกประเทศอิสลามแห่งนี้ได้ชม โดยที่ยังไม่มีรายละเอียดอื่นใดเกี่ยวกับแผนการซื้อขาย แต่เว็บบล็อกข่าวการกลาโหมในปากีสถานเองมีการพูดกันถึงเรื่องนี้มา เป็นเวลาข้ามเดือนแล้ว

รถถังโอปล็อต-M ถึงปากีสถาน โดยเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่ แอนโตนอฟ An-124 ที่ผลิตในยูเครนเอง และเข้าใจกันว่าจะมีการทดสอบต่อเนื่องในช่วงสุดสัปดาห์นี้ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในย่านชานเมืองหลวง ภาพที่เผยแพร่ผ่านเว็บบล็อกข่าวกลาโหม 2-3 แห่งในวันศุกร์ แสดงให้เห็นการขนโอปล็อต-M ลงจากเครื่องบิน และนำขึ้นรถเทรลเลอร์ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในวันที่ไปถึง

ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธยุทโธปกรณ์พูดกันในบล็อกปากีสถานดีเฟนซ์ ตั้งแต่เดือน ก.ค.ว่า ถึงแม้จีนจะเป็นพันธมิตรใกล้ชิด และช่วยปากีสถานพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันประเทศมาตลอด แต่โอปล็อต-M ของยูเครน ดีกว่ารถถังหลัก MBT-3000 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดของจีนอย่างไม่สามารถเทียบกันได้

หลายคนบอกว่า โอปล็อต-M เป็นทางเลือกที่เหมาะต่อปากีสถานมากที่สุด ต่อหน้าสภาพความเป็นจริงที่ว่า กองทัพอินเดียซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เบา และมีพรมแดนติดกัน ได้ทยอยจัดซื้อรถถัง T-90 จากรัสเซีย มา 2-3 ปีแล้ว ตามแผนการจัดหากว่า 1,650 คัน จนถึงปี 2563 ในปัจจุบันมีเพียง Oplot-M ที่สามารถต่อกรกับรถถังของรัสเซียได้

กองทัพบกไทยเป็นลูกค้าต่างประเทศรายแรกของ โอปล็อต-M โดยยูเครนส่งมอบให้แล้ว จำนวน 10 คัน ในแผนการจัดหาที่อาจจะมีจำนวนกว่า 40 คัน และถ้าหากสามารถตกลงซื้อขายกันได้ ปากีสถานก็จะเป็นเพียงลูกค้ารายที่ 2 ในโลก

เป็นที่ทราบกันดี โอปล็อต-M พัฒนาจากรถถังหลัก T-84 ในสายการผลิตของยูเครนเอง ติดเครื่องยนต์ใหญ่ขึ้น ประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถดัดแปลงใช้เชื้อเพลิงได้หลายชนิด ติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ก้าวหน้า ติดปืนใหญ่รถถังแบบลำกล้องเกลี้ยงขนาด 125 มม. สามารถใช้เป็นท่อยิงจรวดได้ มีปืนกลเป็นอาวุธรอง ระบบเกราะพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น รวมทั้งติด “เกราะปฏิกิริยา” รุ่นใหม่ ต่อสู้กับจรวด หรือระเบิดที่วิ่งเข้าหาได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย

โอปล็อต-M ผลิตจากโรงงานมาลีเชฟ ในเมืองคาร์คิฟ ซึ่งเป็นศูนย์การผลิต และซ่อมแซมรถถังกับยานเกราะเก่าแก่ มีชื่อเสียงมานานตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต

ปัจจุบัน ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีกองทัพประเทศไหนมีรถถังหลัก T-90 ประจำการ มีเพียง T-72 หลากหลายรุ่น ที่ส่วนใหญ่ซื้อจากยูเครน

ตามตัวเลขของเว็บข่าวกลาโหม ปัจจุบันกองทัพบกพม่ามี T-72 จำนวน 139 คัน เป็นกำลังหลัก โดยซื้อของใช้แล้วจากยูเครน และยังมี MBT 2000 ที่ซื้อจากจีนอีก 148 คัน ส่วนกองทัพประชาชนเวียดนามเป็น T-72BA ซื้อจากโปแลนด์ และยูเครนมีอยู่จำนวนหนึ่ง กำลังจะอัปเกรดขึ้นเทียบ T-90 โดยบริษัทจากรัสเซีย

สำหรับกองทัพบกมาเลเซีย มี PT-91 ซื้อจากโปแลนด์เกือบ 50 คัน เป็นรุ่นที่พัฒนาจาก T-72 ที่ผลิตในโปแลนด์เอง และแตกต่างจากสายการพัฒนา T-72 ทั้งในยูเครน และรัสเซีย

สำหรับปากีสถาน ปัจจุบันใช้รถถังที่ผลิตเองด้วยความร่วมมือช่วยหลือจากจีนเป็นหลัก เคยซื้อ T-80 จากยูเครนในช่วง 20 ปีที่แล้ว กว่า 300 คัน ปัจจุบันกำลังเจรจากับรัสเซียเพื่ออัปเกรดให้ทันสมัย

ในช่วงหลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปากีสถานเคยได้รับโอนถ่าย T-72 ที่ใช้แล้วจากรัฐบาลอิรัก กว่า 100 คัน แต่ไม่มีข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ T-72 ล็อตดังกล่าวนานมาแล้ว.
.

2

3

4
กำลังโหลดความคิดเห็น