xs
xsm
sm
md
lg

ทัพฟ้าไทยได้เพื่อนอีก สวีเดน-บราซิลฉลุยดีล Gripen NG ล็อตใหญ่ 36 ลำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>สยายปีกสู่อเมริกาใต้ด้วยล็อตใหญ่ 36 ลำ กลุ่มซาบกับกองทัพอากาศบราซิล ประกาศในวันพฤหัสบดี 10 ก.ย.ที่ผ่านมา เดินหน้าข้อตกลง เตรียมตั้งสายการผลิตในประเทศนั้น นับเป็นการเปิดตลาดในทวีปใหญ่ครั้งแรก ไม่ต่างกับครั้งที่ทัพฟ้าไทยได้เป็นผู้ใช้ JAS 39 กริพเพน รายแรกในย่านเอเชียเมื่อ 5 ปีก่อน. -- ภาพ : Saab Group.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กลุ่มซาบแห่งสวีเดน ออกแถลงในวันพฤหัสบดี 10 ก.ย.นี้ว่า สัญญากับรัฐบาลบราซิลได้เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แล้ว และจะเริ่มการผลิตเครื่องบินรบ JAS39 “กริพเพน” รุ่นล่าสุดระหว่างปี 2563-2567 ในข้อตกลงมูลค่า 39,900 ล้านโครนา เงินสวีเดน หรือประมาณ 4,780 ล้านดอลลาร์ รวม Gripen NG จำนวน 36 ลำ ซึ่งเป็นการขายเครื่องบินรบรุ่นใหม่ล็อตใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

“สัญญาได้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากเงื่อนไขที่ต้องการต่างๆ สามารถบรรลุได้ในวันนี้” กลุ่มซาบระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งที่ออกในกรุงสตอกโฮล์ม ซึ่งหมายถึงสัญญาความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายเซ็นกันเมื่อปีที่แล้ว และเข้าสู่การเจรจาทำข้อตกลงในรายละเอียดที่ครอบคลุมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการตั้งโรงงานผลิต “กริพเพ่น เอ็นจี” ในประเทศนั้น

สัญญากับบราซิลเป็นการเปิดตลาด JAS39 ครั้งแรกในย่านอเมริกาใต้ ไม่ต่างกับการเปิดตลาดในทวีปเอเชีย ซึ่งกองทัพอากาศไทยเป็นลูกค้ารายแรก สั่งซื้อล็อตแรก จำนวน 6 ลำ เมื่อปี 2551 เป็น Gripen C ที่นั่งเดี่ยว 2 ลำ กับ Gripen D สองที่นั่งอีก 4 ลำ โดยซาบได้ทยอยส่งมอบในปี 2554 และต่อมา ในเดือน พ.ย.2553 ไทยสั่งซื้อเพิ่มอีกล็อตหนึ่ง จำนวน 6 ลำ ได้รับมอบครบทั้งหมดในปลายปี 2556 และยังแสดงความต้องการจะซื้ออีกอย่างน้อย 6 ลำในล็อตต่อไป

ภายใต้สัญญากับบราซิลนั้น บริษัทผู้ผลิตจะต้องถ่ายทอดทั้งโนว์ฮาว และเทคโนโลยีเครื่องบินรบให้แก่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของบราซิล รวมทั้งรับเจ้าหน้าที่ กับวิศวกรบราซิลไปฝึกอบรมที่แหล่งผลิตในสวีเดน โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้เป็นต้นไป กลุ่มซาบ กล่าว

กริพเพนได้รับการยอมรับเป็นเครื่องบินรบดีที่สุดรุ่นหนึ่งของค่ายยุโรป ผลิตขึ้นมาเพื่อภารกิจทางอากาศ และอากาศกับภาคพื้นดินอย่างครบวงจร รวมทั้งการบินสอดแนม บินตรวจการณ์ การโจมตีเป้าหมาย การบินลาดตระเวณ และการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยกริพเพนติดระบบแอ็กทีฟสแกนเรดาร์ (AESA) และระบบติดตามค้นหาแบบอินฟราเรด ติดระบบดาตาลิงก์ ปฏิบัติการร่วมกับเครื่องบินเตือนการล่วงหน้า กับเรือรบ กับเครื่องบินรุ่นอื่นๆ ยังเป็นเครื่องบินรบขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ใช้ทางวิ่งขึ้นลงสั้นๆ ซ่อมบำรุงรักษาง่าย และต้นทุนต่อเที่ยวบินต่ำ
.

.

.
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 19 พ.ค.2558 ระหว่างการฝึก Lion Effort ที่ฐานทัพอากาศซาสลาฟ (Caslav) สาธารณรัฐเช็ค ซึ่งเป็นการชุมนุมกริพเพนครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เป็นการฝึกร่วมครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศผู้ใช้ในยุโรป ซึ่งทุกครั้งมีการเชิญตัวแทนผู้ใช้ JAS 39 จากทวีปอื่นๆ ไปร่วมสังเกตการณ์-ร่วมฝึกด้วย หลายปีข้างหน้า อาจจะมีฝูงใหญ่ข้ามฟ้าไปจากบราซิล. --NATO HQ AIRCOM/Christian Timmig. </b>
2
ซาบได้พัฒนา “กริพเพน E” ขึ้นมาเป็นซีรีส์ใหม่เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งกลายมาเป็น กริพเพน NG ในวันนี้

ปัจจุบัน JAS39 รุ่นต่างๆ เป็นเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศสวีเดน ซึ่งยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มนาโต้ และต้องเผชิญต่อการรุกล้ำน่านฟ้าโดยเครื่องบินของรัสเซียอยู่เป็นระยะๆ ตลอดหลายปีมานี้ นอกจากไทยแล้ว ประเทศที่ใช่้กริพเพนในปัจจุบันยังประกอบด้วยชาติสมาชิกนาโต้อีก 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐเช็ก และฮังการี กับกองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และอังกฤษที่นำไปใช้ใน Empire Test Pilots' School หรือโรงเรียนฝึกนักบินไอพ่น

อินเดีย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสนใจกริพเพนอย่างจริงจัง และได้เริ่มเจรจากับกลุ่มซาบเพื่อขอซื้อล็อตใหญ่ ภายใต้เงื่อนไขคล้ายกันกับบราซิล คือ จะต้องตั้งโรงงานผลิตในอินเดีย นักวิเคราะห์ลงความเห็นก่อนหน้านี้ว่า ความสำเร็จในการเจรจาระหว่างซาบกับบราซิล จะเป็นตัวอย่างทำให้อินเดียตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ก่อนหน้านี้ กองทัพอากาศอินเดียได้ตกลงซื้อเครื่องบินแบบราฟาล (Rafale) ที่ผลิตโดยบริษัทดาซอลต์ (Dassault) ประเทศฝรั่งเศส เป็นจำนวนกว่า 100 ลำ ในแผนการจัดหาเป็นเวลา 20 ปี แต่ต่อมา ได้ลดจำนวนลงเหลือไม่กี่สิบลำ ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่า การเจรจากับกลุ่มซาบมีส่วนทำให้อินเดียเปลี่ยนความตั้งใจ.
กำลังโหลดความคิดเห็น