xs
xsm
sm
md
lg

สหภาพแรงงานกัมพูชาขู่ชุมนุมประท้วงหลังโรงงานมีมติไม่ปรับเพิ่มค่าแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพี วันที่ 2 พ.ค. 2556 คนงานกัมพูชาเดินผ่านโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชานกรุงพนมเปญ หลังจากสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) มีมติในหมู่สมาชิกว่าจะไม่ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 177 ดอลลาร์ต่อเดือนในปี 2559 ตามคำร้องขอของสหภาพแรงงาน ทำผลให้สหภาพแรงงานขู่เตือนว่าจะผละงานประท้วง.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.</font></b>

รอยเตอร์ - โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปกัมพูชา มีมติปฏิเสธข้อเรียกร้องปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในปีหน้า ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่บรรดาสหภาพแรงงาน และเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหารุนแรงในภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ

ผลการสำรวจที่จัดทำขึ้นในหมู่สมาชิกสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) ที่เป็นตัวแทนของโรงงานมากกว่า 500 แห่งของประเทศ ระบุว่า 63% ของสมาชิกทั้งหมดไม่ต้องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และ 26% สนับสนุนให้ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-5 ดอลลาร์เท่านั้น

การสำรวจดังกล่าวมีขึ้นก่อนการหารือในเดือนหน้าระหว่างรัฐบาล โรงงาน และสหภาพแรงงาน ที่จะจัดการต่อข้อเรียกร้องปรับเพิ่มค่าแรงจากเดิมที่ 128 ดอลลาร์ต่อเดือน เป็น 177 ดอลลาร์ต่อเดือนในปี 2559 โดยการพิจารณาตัดสินใจครั้งสุดท้ายจะมีขึ้นในเดือน ต.ค.

เหตุความไม่พอใจใดๆ ก็ตามจะส่งผลกระทบต่อกัมพูชา ที่คำสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าสำหรับสินค้าหลากหลายยี่ห้อ เช่น Gap Nike Adidas และ H&M ได้ช่วยสร้างงาน และเป็นกุญแจสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

“เราสอบถามสมาชิกของเราว่า พวกเขาสามารถจ่ายเพิ่มค่าแรงให้ได้เท่าไหร่ แต่สมาชิกบอกว่าพวกเขาไม่สามารถจ่ายได้” เคน ลู เลขาธิการ GMAC กล่าวต่อรอยเตอร์

การปรับเพิ่มค่าแรงให้สูงขึ้นอาจทำให้แรงงานพอใจ แต่ขณะเดียวกัน ก็ส่งผลให้ประเทศขาดความน่าสนใจ นอกจากนั้น การชุมนุมประท้วงของสหภาพแรงงานยังเสี่ยงที่จะทำให้นักลงทุนไม่กล้าทำธุรกิจ

การแข่งขันของกัมพูชากำลังเพิ่มสูง ด้วยพม่าในเวลานี้ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรปเช่นเดียวกับกัมพูชา และยังดึงดูดนักลงทุนต่างชาติด้วยการปรับลดภาษี และแรงงานที่มีราคาถูกกว่า นอกจากนั้น ผลผลิตของโรงงานในเวียดนามยังแข็งแกร่ง ด้วยรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าที่ 31,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา และกำลังเจรจาข้อตกลงการค้าแปซิฟิกที่จะทำให้เวียดนามเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของกัมพูชาแบบปลอดภาษี

ฮิโรชิ อุเอมัตซึ หัวหน้าเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ กล่าวว่า ปัญหาค่าแรงกำลังเป็นที่กังวลของบรรดานักลงทุน และการปรับเพิ่มค่าแรงใดๆ ก็ตาม ควรเป็นไปอย่างเหมาะสม และมีเหตุผล

การเติบโตของภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นดาบสองคมสำหรับกัมพูชา อุตสาหกรรมที่สร้างงานกว่า 600,000 ตำแหน่งให้แก่ครอบครัวคนในพื้นที่ชนบท และยังสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งให้แก่ประเทศมาเป็นเวลาหลายปี แต่การผละงานประท้วงของสหภาพแรงงานกำลังจะกลายเป็นปัญหา

สหภาพแรงงานแสดงความไม่พอใจ และขู่ที่จะหยุดงานหากโรงงานไม่เต็มใจที่จะปรับเพิ่มค่าแรง

“การปรับเพิ่มค่าแรงที่ผ่านมาได้มาด้วยเลือด หากโรงงานไม่ให้ค่าแรงเพิ่ม พวกเขาจะต้องเผชิญต่อปัญหาไม่มีคนงาน" เจีย มุนี ประธานสหภาพแรงงานเสรี กล่าว

ปอ สีนา จากสหภาพเคลื่อนไหวแรงงาน ระบุว่า สหภาพแรงงานไม่มีทางเลือกอื่น และคนงานจะไม่นิ่งเฉย.
กำลังโหลดความคิดเห็น