ASTVผู้จัดการรายวัน - ตามสั่ง บอร์ด กนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50%ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 4 ของปีนี้ พอใจบาทอ่อนค่า แต่ขอรอดูผลหลังจากลดดอกเบี้ยในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมาให้รอบด้าน เล็งใช้เครื่องมือนโยบายการเงินอื่นดูแแลภาวะเศรษฐกิจไทย ขอเก็บกระสุนไว้ใช้ในยามที่ความเสี่ยงอนาคตยังสูงอยู่ เผยไม่พบเงินทุนเคลื่อนย้ายผิดปกติ "หม่อมอุ๋ย" ชี้ดอกเบี้ยนโยบายไทยต่ำสุดในภูมิภาคแล้ว พอใจค่าเงินบาทอ่อนค่าแล้ว 3% และผู้ส่งออกไทยก็พอใจด้วย
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ดกนง.ครั้งที่ 4 ในรอบปี 58 เมื่อวานนี้ (10มิ.ย.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50%ต่อปี โดยจะยังคงรอดูผลการส่งผ่านการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา นอกจากนี้ ธปท.เตรียมเครื่องมือนโยบายการเงินอื่นๆ หลายตัวในการดูแลภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งนำมาหารือบอร์ด กนง.ครั้งนี้ด้วย
"กนง.มองว่าการคงอัตราดอกเบี้ย เพื่อรักษาความสามารถในการดำเนินนโยบายในยามที่มีความเสี่ยงสูงในอนาคตอยู่ โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินยังไม่น่ากังวล เพราะยังไม่เห็นความผิดปกติ ดังนั้น การทำนโยบายการเงินในขณะนี้ให้น้ำหนักการเจริญเติบโตเศรษฐกิจมากกว่า"เลขานุการบอร์ดกนง.กล่าวและว่า การเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวเศรษฐกิจจีนและเอเชียมองว่ายังคงเหลือกระสุนของนโยบายการเงินไว้ใช้ในยามที่จำเป็นอยู่
เลขานุการบอร์ด กนง.ย้ำว่า ขณะนี้ไทยยังมีพื้นที่ในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) เหลืออยู่และพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อยามจำเป็น เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินในระยะยาว
"การลดดอกเบี้ยนโยบายการเงินลดครั้งละ 0.25% เมื่อวันที่ 11 มี.ค.และวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมาต่อเนื่องกัน กำลังรอดูผลดังกล่าวอยู่ ซึ่งในที่ประชุมมีการถกเถียงเรื่องนี้มากเกี่ยวกับการส่งผ่านนโยบายการเงิน โดยมองว่าการลดดอกเบี้ยรอบแรกเมื่อวันที่ 11 มี.ค.มีผลช้าและน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา แต่รอบถัดมามีผลผ่านให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อยลดลงบ้าง และส่งผ่านมายังค่าเงินบาทด้วย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการธปท.ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น"
หลังจาก ธปท.ผ่อนคลายแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง ถือเป็นระดับน่าพอใจและมองว่าเพียงพอให้เอื้อต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมายังคงไหลออกสุทธิจากตลาดพันธบัตร โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งต่างชาติมีสัดส่วนการถือครองต่ำกว่า 10% ขณะที่ไหลออกจากตลาดหุ้นไม่มาก ดังนั้น ภาพรวมการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังไม่เห็นความผิดปกติ
ในช่วงดอกเบี้ยในระบบต่ำยังไม่พบการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงผิดปกติ ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยถือว่าต่ำสุดในอาเซียน ยกเว้นเพียงประเทศสิงคโปร์ที่ใช้คนละระบบสำหรับภาวะต่างประเทศ ธปท.คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเดือนก.ย.นี้ ซึ่งเป็นเพียงเรื่องนี้เข้าที่ประะชุมบอร์ดกนง.เท่านั้น นอกจากนี้ ในที่ประชุมนี้มีการหารือระดับการออมของประเทศด้วย แต่ไม่ได้ลงรายละเอียด แต่ปัญหาหนี้ครัวเรือนไม่ได้หารือกันมากนัก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเช้าวานนี้ (10 มิ.ย.) ก่อนประชุม กนง. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ว่า การประชุม กนง.ในช่วงบ่าย จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 1.50 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำสุดในภูมิภาค ซึ่งช่วยให้ราคาสินค้าเกษตรส่งออกอย่างเช่น ยางพารา ปรับสูงขึ้น
“ขณะนี้อ่อนค่าลงจาก 32.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ลงมาอยู่ที่ 33.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงคิดเป็น 3% ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าพอใจ โดยสาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศตามกลไกตลาด สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้”
ส่วนกรณีค่าแรงขั้นต่ำนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้ยังไม่เคยประกาศเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2559 ซึ่งปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำกำหนดทั่วประเทศไว้เท่ากันที่วันละ 300 บาท ตามความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี และภาคเอกชนสามารถจ่ายสูงกว่าได้อยู่แล้ว ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่ารัฐบาลจะปรับลดค่าจ้างขั้นต่ำลงก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทยเป็นมติของคณะกรรมการไตรภาคีอยู่แล้วและการกำหนด 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศนั้นไม่ค่อยเหมาะสมนัก เพราะต้นทุนค่าครองชีพแต่ละพื้นที่ต่างกัน จะให้ต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯเท่ากันอย่างปัจจุบันก็ลำบาก ซึ่งผลจากค่าแรงดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ปิดตัวลงหลายรายแล้ว.
ดบ.ไทยต่ำสุดในภูมิภาค
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยระดับ 1.50% ถือว่าต่ำสุดในภูมิภาคแล้ว ขณะที่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออก โดยขณะนี้อ่อนค่าลงจาก 32.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ลงมาอยู่ที่ 33.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงคิดเป็น 3% ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าพอใจ โดยสาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศตามกลไกตลาด สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ส่วนกรณีค่าแรงขั้นต่ำนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้ยังไม่เคยประกาศเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2559 ซึ่งปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำกำหนดทั่วประเทศไว้เท่ากันที่วันละ 300 บาท ตามความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี และภาคเอกชนสามารถจ่ายสูงกว่าได้อยู่แล้ว ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่ารัฐบาลจะปรับลดค่าจ้างขั้นต่ำลงก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทยเป็นมติของคณะกรรมการไตรภาคีอยู่แล้วและการกำหนด 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศนั้นไม่ค่อยเหมาะสมนัก เพราะต้นทุนค่าครองชีพแต่ละพื้นที่ต่างกัน จะให้ต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯเท่ากันอย่างปัจจุบันก็ลำบาก
ซึ่งผลจากค่าแรงดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ปิดตัวลงหลายรายแล้ว
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ดกนง.ครั้งที่ 4 ในรอบปี 58 เมื่อวานนี้ (10มิ.ย.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50%ต่อปี โดยจะยังคงรอดูผลการส่งผ่านการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา นอกจากนี้ ธปท.เตรียมเครื่องมือนโยบายการเงินอื่นๆ หลายตัวในการดูแลภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งนำมาหารือบอร์ด กนง.ครั้งนี้ด้วย
"กนง.มองว่าการคงอัตราดอกเบี้ย เพื่อรักษาความสามารถในการดำเนินนโยบายในยามที่มีความเสี่ยงสูงในอนาคตอยู่ โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินยังไม่น่ากังวล เพราะยังไม่เห็นความผิดปกติ ดังนั้น การทำนโยบายการเงินในขณะนี้ให้น้ำหนักการเจริญเติบโตเศรษฐกิจมากกว่า"เลขานุการบอร์ดกนง.กล่าวและว่า การเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวเศรษฐกิจจีนและเอเชียมองว่ายังคงเหลือกระสุนของนโยบายการเงินไว้ใช้ในยามที่จำเป็นอยู่
เลขานุการบอร์ด กนง.ย้ำว่า ขณะนี้ไทยยังมีพื้นที่ในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) เหลืออยู่และพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อยามจำเป็น เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินในระยะยาว
"การลดดอกเบี้ยนโยบายการเงินลดครั้งละ 0.25% เมื่อวันที่ 11 มี.ค.และวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมาต่อเนื่องกัน กำลังรอดูผลดังกล่าวอยู่ ซึ่งในที่ประชุมมีการถกเถียงเรื่องนี้มากเกี่ยวกับการส่งผ่านนโยบายการเงิน โดยมองว่าการลดดอกเบี้ยรอบแรกเมื่อวันที่ 11 มี.ค.มีผลช้าและน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา แต่รอบถัดมามีผลผ่านให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อยลดลงบ้าง และส่งผ่านมายังค่าเงินบาทด้วย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการธปท.ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น"
หลังจาก ธปท.ผ่อนคลายแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง ถือเป็นระดับน่าพอใจและมองว่าเพียงพอให้เอื้อต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมายังคงไหลออกสุทธิจากตลาดพันธบัตร โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งต่างชาติมีสัดส่วนการถือครองต่ำกว่า 10% ขณะที่ไหลออกจากตลาดหุ้นไม่มาก ดังนั้น ภาพรวมการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังไม่เห็นความผิดปกติ
ในช่วงดอกเบี้ยในระบบต่ำยังไม่พบการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงผิดปกติ ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยถือว่าต่ำสุดในอาเซียน ยกเว้นเพียงประเทศสิงคโปร์ที่ใช้คนละระบบสำหรับภาวะต่างประเทศ ธปท.คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเดือนก.ย.นี้ ซึ่งเป็นเพียงเรื่องนี้เข้าที่ประะชุมบอร์ดกนง.เท่านั้น นอกจากนี้ ในที่ประชุมนี้มีการหารือระดับการออมของประเทศด้วย แต่ไม่ได้ลงรายละเอียด แต่ปัญหาหนี้ครัวเรือนไม่ได้หารือกันมากนัก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเช้าวานนี้ (10 มิ.ย.) ก่อนประชุม กนง. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ว่า การประชุม กนง.ในช่วงบ่าย จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 1.50 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำสุดในภูมิภาค ซึ่งช่วยให้ราคาสินค้าเกษตรส่งออกอย่างเช่น ยางพารา ปรับสูงขึ้น
“ขณะนี้อ่อนค่าลงจาก 32.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ลงมาอยู่ที่ 33.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงคิดเป็น 3% ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าพอใจ โดยสาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศตามกลไกตลาด สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้”
ส่วนกรณีค่าแรงขั้นต่ำนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้ยังไม่เคยประกาศเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2559 ซึ่งปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำกำหนดทั่วประเทศไว้เท่ากันที่วันละ 300 บาท ตามความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี และภาคเอกชนสามารถจ่ายสูงกว่าได้อยู่แล้ว ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่ารัฐบาลจะปรับลดค่าจ้างขั้นต่ำลงก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทยเป็นมติของคณะกรรมการไตรภาคีอยู่แล้วและการกำหนด 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศนั้นไม่ค่อยเหมาะสมนัก เพราะต้นทุนค่าครองชีพแต่ละพื้นที่ต่างกัน จะให้ต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯเท่ากันอย่างปัจจุบันก็ลำบาก ซึ่งผลจากค่าแรงดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ปิดตัวลงหลายรายแล้ว.
ดบ.ไทยต่ำสุดในภูมิภาค
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยระดับ 1.50% ถือว่าต่ำสุดในภูมิภาคแล้ว ขณะที่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออก โดยขณะนี้อ่อนค่าลงจาก 32.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ลงมาอยู่ที่ 33.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงคิดเป็น 3% ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าพอใจ โดยสาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศตามกลไกตลาด สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ส่วนกรณีค่าแรงขั้นต่ำนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้ยังไม่เคยประกาศเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2559 ซึ่งปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำกำหนดทั่วประเทศไว้เท่ากันที่วันละ 300 บาท ตามความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี และภาคเอกชนสามารถจ่ายสูงกว่าได้อยู่แล้ว ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่ารัฐบาลจะปรับลดค่าจ้างขั้นต่ำลงก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทยเป็นมติของคณะกรรมการไตรภาคีอยู่แล้วและการกำหนด 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศนั้นไม่ค่อยเหมาะสมนัก เพราะต้นทุนค่าครองชีพแต่ละพื้นที่ต่างกัน จะให้ต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯเท่ากันอย่างปัจจุบันก็ลำบาก
ซึ่งผลจากค่าแรงดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ปิดตัวลงหลายรายแล้ว