xs
xsm
sm
md
lg

พม่าขอความช่วยเหลือจากต่างชาติช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมยอมรับดำเนินการล่าช้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ทหารและเจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยกันขนสิ่งของบรรเทาทุกข์สำหรับเหยื่อประสบภัยน้ำท่วมลงจากเฮลิคอปเตอร์ทหารที่สนามบินสิตตะเว ในรัฐยะไข่ วันที่ 4 ส.ค.--Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์/เอเอฟพี - ทางการพม่าขอรับบริจาคความช่วยเหลือจากต่างชาติเพื่อช่วยจัดหาอาหาร ที่พักพิงชั่วคราว และเสื้อผ้าสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมากกว่า 210,000 คน หลังฝนตกหนักต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และตามรายงานของรัฐบาลระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยครั้งนี้แล้วอย่างน้อย 47 คน

รัฐบาลพม่ายอมรับตอบสนองวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นทั่วประเทศไม่รวดเร็วพอ ตามการรายงานของสื่อพม่าวันนี้ (4) และทางการเตือนว่า แม่น้ำที่เอ่อล้นกำลังจะสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ใหม่

กระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเพิ่มมากขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ที่กล่าวหาว่า รัฐบาลดำเนินการตอบสนองต่อภัยพิบัติไม่เต็มที่ และไม่รวดเร็วพอที่จะเตือนประชาชนถึงวิกฤตครั้งนี้

“การตอบสนองที่ไม่รวดเร็วของรัฐบาลต่อภัยพิบัตินำไปสู่ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับความพยายามในการอพยพ” หนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ ของทางการรายงานอ้างคำกล่าวของโฆษกรัฐบาล

สำหรับการร้องขอความช่วยเหลือจากนานาประเทศของพม่าในครั้งนี้แตกต่างอย่างมากกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งพม่าปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งรัฐบาลทหารได้ปฏิเสธความช่วยเหลือจากภายนอกต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไซโคลนนาร์กิส ในปี 2551 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติดังกล่าวถึง 130,000 คน

รัฐบาลกึ่งพลเรือนที่เข้าบริหารประเทศในปี 2554 กำลังดำเนินความพยายามในการบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัย ขณะที่ทหารปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือในภาคพื้นดิน

“เรากำลังทำงานร่วมกัน และขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เราต้องเริ่มติดต่อองค์กรผู้บริจาคและประเทศต่างๆ เท่าที่เป็นไปได้” เย ตุ๊ต รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารและโฆษกสำนักงานประธานาธิบดี กล่าว

เย ตุ๊ต ยังกล่าวว่า ความช่วยเหลือจากต่างชาติมีจำเป็นสำหรับการอพยพโยกย้ายผู้คน และการฟื้นฟูชุมชนหลังน้ำท่วมลดระดับ

สถานทูตจีนในนครย่างกุ้งได้เริ่มให้ความช่วยเหลือจัดหาสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในสัปดาห์นี้

รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารพม่า ยังระบุว่า น้ำท่วมเริ่มลดระดับลงในรัฐยะไข่ ที่ประสบภัยพิบัติหนักกว่าที่อื่นๆ เนื่องจากอิทธิพลของไซโคลนโกเมนที่ขึ้นฝั่งบังกลาเทศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
<br><FONT color=#000033>ชาวพม่าพายเรือผ่านบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมในเมืองกะเล เขตสะกาย หนึ่งใน 4 พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยร้ายแรงที่สุด.--Agence France-Presse/Sai Zaw.</font></b>
.

ภาพถ่ายของรอยเตอร์เมื่อวันจันทร์ (3) จากเฮลิคอปเตอร์ทหารที่เดินทางไปยังพื้นที่น้ำท่วมในรัฐยะไข่ เผยให้เห็นประชาชนหลายร้อยคนฝ่าน้ำท่วมออกมารวบรวมสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จัดส่งให้ทางอากาศ

เจ้าหน้าที่กู้ภัยฉุกเฉินยังคงเผชิญต่อความยากลำบากในรัฐชิน จากเหตุดินถล่มเนื่องจากฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ภูเขาที่อยู่ติดพรมแดนอินเดีย และบังกลาเทศ ถนนสายหลักที่ตัดผ่านรัฐยังไม่สามารถใช้งานได้ และความพยายามที่จะเข้าถึงเมืองต่างๆ ทางเฮลิคอปเตอร์ถูกขัดขวางจากฝนตกหนัก เย ตุ๊ต กล่าว

พม่าประกาศให้ 4 รัฐ และเขต ที่ประกอบด้วย รัฐยะไข่ รัฐชิน เขตสะกาย และเขตมะเกว เป็นพื้นที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเตือนว่า น้ำท่วมได้เริ่มแพร่ลามลงไปยังพื้นที่ทางใต้เมื่อน้ำท่วมไหลบ่าลงสู่แม่น้ำ

เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองสิตตะเว กล่าวว่า เฉพาะในรัฐยะไข่ มีประชาชนเสียชีวิตแล้ว 37 คน นับจนถึงวันอาทิตย์ (2) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ยอดผู้เสียชีวิตรวมทั้งประเทศอาจเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ทางการรายงาน

หนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ รายงานอ้างคำกล่าวของกระทรวงศึกษาธิการพม่าว่า โรงเรียนมากกว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศ ต้องหยุดการเรียนการสอนเนื่องจากน้ำท่วม

ฉ่วย มาน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศเลื่อนการประชุมสภาที่มีกำหนดจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ส.ค. ซึ่งเป็นการประชุมสภาครั้งสุดท้ายก่อนประเทศจัดการเลือกตั้งในวันที่ 8 พ.ย.นี้

พื้นที่ทางการเกษตรหลายแสนไร่จมอยู่ใต้น้ำ สหประชาชาติเตือนว่า อุทกภัยครั้งนี้อาจกระทบต่อฤดูกาลเพาะปลูก และกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาว

โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ รายงานว่า สหพันธ์ข้าวพม่าจะระงับการส่งออกข้าวไปจนกระทั่งกลางเดือน ก.ย. ในความพยายามที่จะรักษาราคาข้าวไม่ให้เพิ่มสูง และให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น