ASTVผู้จัดการออนไลน์ - หลังจากสภาวะแห้งแล้งยาวนานมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน เนื่องจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ฤดูฝนปี 2515 ก็มาทักทายประชาชนใน 2 ประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงด้วยอุทกภัยใหญ่ คือ พม่า กับลาว ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านในย่านนี้ที่อยู่ในระบบลมฟ้าอากาศเดียวกัน และร่วมสายน้ำแห่งเดียวกันกำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ชาวพม่าหลายล้านคนต้องเจอกับฝนตกหนักมาแล้ว 2 ช่วง เจอน้ำท่วมมา 2 ครั้งในช่วงเวลาข้ามเดือนมานี้ ฝนตกเป็นเวลานานหลายวันใน
ในช่วงไล่เลี่ยกัน ทางการลาวต้องออกช่วยเหลือประชาชนนับพันคนในแขวงหัวพัน ท่วมหนักที่สุดในเขตอำเภอเชียงค้อ และใต้ลงไปในเขตภาคเหนือตอนล่าง ที่เมืองปากลายแขวงไซยะบูลี
สัปดาห์ที่ผ่านมา พม่าเจออุทกภัยที่ใหญ่หลวงกว่าครั้งแรก คราวนี้ไปรวมศูนย์ในเขตสะกาย (Sagaing) ซึ่งเขตปกครองกว้างใหญ่ไพศาล แผ่คลุมพื้นที่ภาคกลางตอนบนกับภาคเหนือตอนล่างของประเทศ สาเหตุเดิมๆ ก็คือ ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทหาร และหน่วยงานของทางการต้องออกช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย มีการอพยพโยกย้ายราษฎรนับหมื่นออกจากพื้นที่น้ำท่วม กับพื้นที่เสี่ยงต่างๆ
สำนักงานประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ รายงานในสัปดาห์นี้ว่า มีบ้านเรือนประชาชนกว่า 12,000 หลัง ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ในเขตสะกาย ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนกว่า 70,000 คน โรงเรียนหลายแห่งต้องปิดการเรียนการสอน หนังสือพิมพ์เมียนมาร์อาลิน รายงานว่า ปริมาณน้ำฝนในรอบ 24 ชั่วโมง ในเขตสะกาย วัดได้ 200 มิลลิเมตร นับเป็นปริมาณสูงที่สุดในรอบ 24 ปี ในดินแดนที่ค่อนข้างจะแห้งแล้งของประเทศ
นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่นาข้าวอีกหลายร้อยไร่จมอยู่ใต้น้ำ ถนน และรางรถไฟถูกน้ำท่วม กระทบต่อการคมนาคม ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักยังสร้างความเสียหายต่อเส้นทางรถไฟสายมัณฑะเลย์-มี๊ตจีนา รัฐกะฉิ่น ทำให้ทางการต้องระงับการให้บริการในบางส่วน อุทกภัยยังส่งผลกระทบต่อประชาชนมากกว่า 800 ครัวเรือน ในกะฉิ่น ทางภาคเหนือของประเทศ
อุทกภัยในพม่าปีนี้จึงไม่ได้เป็นแค่น้ำท่วมในฤดูมรสุม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปรกติธรรมดาในประเทศนี้
จากภาคกลางพม่า ข้ามที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังภาคกลางของลาว ช่วงเดียวกันนี้ประชาชนหลายพันคนในหลายเมืองของแขวงคำม่วน
ภาพที่เผยแพร่ผ่านสื่อประชาสังคม และสื่อทางการของลาวแสดงให้เห็นน้ำจากลำเซบั้งไปสายยาว ไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้าน และบ้านเรือนของราษฎร มีเสียงร้องขอความช่วยเหลือ และมีการรณรงค์ขอบริจากเครื่องยังชีพ รวมทั้งข้าวสารอาหารแห้งต่างๆ สำหรับผู้ประสบภัยอีกด้วย
ทุกปีที่เกิดน้ำท่วมในลาว กัมพูชาที่อยู่ล่างลงไปก็มักจะเป็นแห่งต่อไปเสมอๆ หากน้ำสะสมปริมาณมากๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดเป็นน้ำต้นทุนมากมายมหาศาล และถ้าหากเกิดฝนตกหนักซ้ำเติมในท้องถิ่น อุทกภัยในแบบเดียวกันมักเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในกัมพูชา ลามไปถึงเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ในภาคใต้เวียดนาม ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2554 กับอีกหลายครั้งก่อนหน้านั้น
แล้วดินแห่งแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่ระหว่างกลาง จะต้องเจออุทกภัยใหญ่แบบเดียวกันหรือไม่ ในปีนี้? เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามสภาพลมฟ้าอากาศต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำมาตลอด และกลายเป็นสาเหตุซ้ำเติมให้อุทกภัยใหญ่เมื่อปี 2554 เป็นครั้งที่หนักหน่วงรุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษ
การบริหารจัดการน้ำอย่างผิดพลาดของรัฐบาลชุดที่แล้ว ยังถูกนำมาอ้างเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาวะแห้งแล้งในประเทศไทยปีนี้ ในหลายท้องถิ่นหลายเป็นภัยแล้งเข็ญ ชาวนาในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่มีน้ำเพียงพอทำนาปรัง.
.
ปีนี้ไม่ปกติธรรมดา Reuters/Soe Zeya Tun
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
น้ำท่วมระลอกสองในภาคกลางของลาว ระหว่างวันที่ 19-22 ก.ค.2558 ที่เมืองท่าแขก (33-34) กับเมืองมะหาไซ (35) แขวงคำม่วน ในภาพจากหนังสือพิมพ์ลาดพัดทะนา และหนังสือพิมพ์ปะเทดลาว ยังเกิดน้ำท่วมในเขตเมืองวีละบูลี แขวงสะวันนะเขต ตัดเส้นทางคมนาคมระหว่างหมู่บ้าน (36-38) เส้นทางไปสู่เหมืองทองเซโปน ถูกตัดขาดอยู่หลายวัน ในภาพที่เผยแพร่ผ่านประชาคมออนไลน์. |
33
34
35
36
37
38