xs
xsm
sm
md
lg

“บิ๊กตู่” บอกไทย-เวียดนามเป็นมิตรมิใช่คู่แข่ง จับมือ “เหวียนเติ๋นยวุ๋ง” เพิ่มเป้าการค้า $20,000 ล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย (ขวา) ผายมือบอกทางแก่นายกรัฐมนตรีเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง ของเวียดนาม (ซ้าย) ขณะตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ ในพิธีต้อนรับที่ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ วันที่ 23 ก.ค.--Agence France-Presse/Pornchai Kittiwongsakul.</font></b>

รอยเตอร์ - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย แสดงความคิดเห็นไม่สนใจต่อข้อวิตกที่ว่า เวียดนามกำลังเบียดไทยในการเป็นฐานการผลิตของภูมิภาค โดยระบุว่าเวียดนามนั้นเป็นมิตรไม่ใช่คู่แข่ง

ความคิดเห็นนี้มีขึ้นระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง ของเวียดนาม เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และในช่วงเวลาที่บริษัทต่างชาติจำนวนมากกำลังย้ายการดำเนินการการผลิตจากไทยไปเวียดนาม ส่วนหนึ่งเนื่องด้วยเหตุผลด้านลอจิสติกส์

“วันนี้เราใช้คำว่าเพื่อน ไม่ใช่คู่แข่ง” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในการแถลงข่าวร่วมกับผู้นำเวียดนาม และว่าไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เจ้าหน้าที่ไทยแสดงความวิตกว่า เวียดนามกำลังดึงดูดการลงทุนด้านการผลิตจากต่างชาติมากขึ้น ความกังวลที่เพิ่มขึ้นสำหรับรัฐบาลที่กำลังหาทางกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนเพื่อเร่งการเติบโตที่ชะลอตัว

ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นพักๆ ในไทย รวมทั้งเหตุรุนแรงตามท้องถนน ก่อให้เกิดคำถามถึงความเหมาะสมของประเทศในการเป็นฐานการผลิตของภูมิภาคสำหรับนักลงทุนต่างชาติบางส่วน

นายกรัฐมนตรีเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง กล่าวในการแถลงข่าวว่า ไทยและเวียดนามเห็นชอบที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าสองฝ่ายเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2563 ซึ่งในปี 2557 ที่ผ่านมา การค้าสองฝ่ายระหว่างไทย และเวียดนามอยู่ที่ 11,800 ล้านดอลลาร์ ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์

นับตั้งแต่มีการรัฐประหารในปี 2557 ไทยได้พยายามที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศจีนที่ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านเวียดนามนั้นตึงเครียดจากเหตุพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้

จีนได้อ้างสิทธิอธิปไตยเหนือดินแดนทับซ้อนกับเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไต้หวัน และบรูไน ในทะเลจีนใต้

ไทย และเวียดนามระบุในคำแถลงร่วมวันนี้ (23) ว่า ข้อขัดแย้งดินแดนในทะเลจีนใต้กระทบต่อความไว้วางใจ และความเชื่อมั่น และอาจทำลายสันติภาพและความมั่นคง รวมทั้งความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือ และทั้งสองประเทศยังย้ำถึงความจำเป็นสำหรับการดำเนินการอย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพของปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้.
กำลังโหลดความคิดเห็น