xs
xsm
sm
md
lg

เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเยือนสหรัฐฯ หารือโอบามาตั้งแต่พรุ่งนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เหวียน ฝู จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม จะเดินทางเยือนสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 6-10 ก.ค. ตามคำเชิญของรัฐบาลสหรัฐฯ.--Associated Press/Tran Van Minh.</font></b>

เอเอฟพี - เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม จะเดินทางเยือนทำเนียบขาวเป็นครั้งแรกในวันพรุ่งนี้ (6) โดยจะเข้าพบกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี สิ้นสุดสงครามระหว่างสองประเทศ

การเยือนครั้งสำคัญที่เป็นการย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างอดีตศัตรูสงคราม ท่ามกลางความตึงเครียดทางทะเลในระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับจีน

เหวียน ฝู จ่อง จะกลายเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนแรก ที่เดินทางเยือนสหรัฐฯ และทำเนียบขาว

โอบามา และเหวียน ฝู จ่องจะพบหารือกันในวันอังคาร (7) และพูดคุยถึงหนทางที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ฟื้นคืนสู่ระดับปกติเมื่อ 20 ปีก่อน ตามการระบุของทำเนียบขาว

เหวียน ฝู จ่อง ที่เป็นหัวหน้าพรรครัฐบาล แต่ไม่ได้มีตำแหน่งในรัฐบาล จะได้เข้าพบกับโอบามาที่ห้องทำงานรูปไข่ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นหัวหน้าประเทศ หรือรัฐบาล

“ประธานาธิบดียังยินดีกับโอกาสที่จะได้หารือในประเด็นต่างๆ ซึ่งรวมทั้งความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) สิทธิมนุษชน และความร่วมมือด้านการป้องกันทวิภาคี” ทำเนียบขาวระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

เวียดนาม กระตือรือร้นที่จะดึงดูดการลงทุน และเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาที่กำลังดำเนินอยูต่อข้อเสนอ TPP ข้อตกลงการค้าที่สหรัฐฯ เป็นแกนนำท่ามกลางชาติในภูมิภาคแปซิฟิก 12 ประเทศ

“การเยือนครั้งนี้ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อเวียดนามที่จะแสดงให้เห็นภาพของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดขึ้นกับสหรัฐฯ” บุ่ย เกียน แถ่ง นักเศรษฐศาสตร์ชาวเวียดนามกล่าว แต่เตือนว่า ฮานอยควรระมัดระวังปฏิกิริยาของจีน

ปีนี้ยังเป็นปีครบรอบ 20 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหลังสงคราม ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

อดีตศัตรูสงครามที่กลับมาปรองดองกันในเวลานี้ ได้สร้างความสัมพันธ์ทางการค้า การทหาร และการปกครองที่ลึกซึ้งขึ้น ด้วยความต้องการที่จะจำกัดอิทธิพลของจีน

ท่าทีรุกรานของจีนต่อการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ ที่รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์ทางทหารในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่เวียดนามเองก็อ้างสิทธิในพื้นที่บางส่วนเช่นกัน ยิ่งทำให้เชื่อว่า วอชิงตันและฮานอยต้องทำงานร่วมกัน

นอกจากข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้แล้ว การค้า และสิทธิมนุษยชนก็จะอยู่ในวาระหารือด้วย

เวียดนาม กำลังมองหาการยกเลิกการห้ามขายอาวุธของสหรัฐฯ ทั้งหมด และหวังที่จะซื้ออุปกรณ์เฝ้าระวัง และเรือตรวจการณ์ที่จะช่วยป้องกันน่านน้ำของประเทศ

การใช้จ่ายของกองทัพเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราว 130% นับตั้งแต่ปี 2548 ตามการระบุของสถาบันค้นคว้าวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม แต่กฎหมายของสหรัฐฯ ระบุห้ามขายอาวุธร้ายแรงให้แก่ฮานอย และสภาคองเกรส ยังคงวิตกว่าอาวุธต่างๆ อาจถูกนำไปใช้ในการละเมิดสิทธิมนุษยชน.
กำลังโหลดความคิดเห็น