xs
xsm
sm
md
lg

จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ชาวไทยเริ่มใช้ไฟจากโรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดของลาวสัปดาห์นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>อลังการงานสร้างทีเดียว .. โรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดใน สปป.ลาว ระหว่างการก่อสร้างเมื่อกลางปีที่แล้ว ผ่านมา 5 ปี โรงไฟฟ้าหงสาก็เริ่มให้ดอกผล กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเครื่องปั่นไฟหน่วยแรกจากทั้งหมด 3 หน่วย เริ่มส่งไฟขายให้แก่ไทยแล้วเมื่อวันสองวันมานี้ สนองความต้องการในหน้าร้อนอย่างทันการณ์. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - โรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในลาวเริ่มส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย.เป็นต้นมา ทั้งหมดเป็นไฟฟ้าที่ผลิตได้จากหน่วยผลิตที่ 1 ซึ่งเป็นไปตามแผนการ และกำหนดเวลาในสัญญาการซื้อขายกระแสไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ และเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่สำหรับโครงการที่มีความเป็นมายาวนาน สำนักข่าวของทางการรายงานอ้างแหล่งข่าวในบริษัทผู้ดำเนินการ

โครงการไฟฟ้าหงสา ที่เมือง (อำเภอ) หงสา แขวง (จังหวัด) ไซยะบูลี ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลลาวครั้งแรกเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว แต่ผู้ลงทุนจากประเทศไทย ติดขัดเรื่องเงินงบทุนดำเนินงานในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ทำให้ไม่เป็นไปตามเงื่อนเวลาตามสัญญา รัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาวได้ยึดคืนโครงการลงทุนขนาดใหญ่นี้ และผู้ลงทุนจากประเทศไทยอีกรายหนึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิ ภายใต้สัญญาลงทุนใหม่เป็นเวลา 25 ปี เริ่มนับจากปี 2559 จนถึงปี 2584

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนแห่งนี้ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2553 ใช้ถ่านหินผลิตจากพื้นที่โครงการเป็นเชื้อเพลิง ติดตั้งเครื่องปั่นไฟ จำนวน 3 หน่วยๆ ละ 626 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งหมด 1,878 เมกะวัตต์ กลายเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน หน่วยผลิตที่ 2 มีกำหนดส่งกระแสไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. เดือน พ.ย.ปีนี้ และหน่วยที่ 3 ในเดือน มี.ค.2559 สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด (Hongsa Power) เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนใน สปป.ลาว ประกอบด้วยผู้ถือหุ้น 3 รายใหญ่ คือ บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือหุ้น 40% บริษทบ้านปูพาวเวอร์ จำกัด ในกลุ่มบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) จากไทย 40% และรัฐวิสาหกิจผู้ถือหุ้นลาว ซึ่งเป็นนิติบุคคลของรัฐบาลลาว ถือส่วนที่เหลืออีก 20%

“รัฐบาลแห่ง สปป.ลาว มีความมุ่งหวังให้โรงไฟฟ้าหงสา เป็นแบบอย่างของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดลล้อม และเป็นที่ยอมรับของชุมชน” นอกจากผลิตไฟฟ้าขายให้ไทย และอีกส่วนหนึ่งขายให้รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าของลาวเองแล้ว บริษัทผู้ลงทุนยังจะต้องเอาใจใส่ดูแลสภาพแวดล้อม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนคู่ขนานกันไปอีกด้วย สำนักข่าวทางการ กล่าวระบุ

โรงไฟฟ้าหงสาได้ทดลองเปิดเดินเครื่องปั่นไฟหน่วยที่ 2 เมื่อไม่นานมานี้ และจะส่งไฟฟ้าให้แก่ไทยได้ตามกำหนดปลายปีนี้

ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโครงการนี้จะส่งขายให้รัฐวิสาหากิจไฟฟ้าลาวเพียง 100 เมกะวัตต์ เพื่อใช้ในแขวงภาคเหนือ ปริมาณที่เหลือ 1,473 เมกะวัตต์ จะส่งจำหน่วยให้ไทย ตามระบบสายส่งความยาวรวม 115 กิโลเมตร ทางหนึ่งเป็นสายส่งขนาด 115 กิโลโวลต์ ไปยังเมือง (อำเภอ) เชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง ที่อยู่เหนือขึ้นไป กับอีกทางหนึ่งขนาด 500 กิโลโวลต์ จากหงสาไปยังชายแดนลาว-ไทย ทางทิศตะวันตก เพื่อเชื่อมต่อกับข่ายสายส่งไฟฟ้าแรงสูงของไทย ที่จุดชายแดนเมืองเชียงห่อน แขวงไซยะบูลีเดียวกัน

ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 3,710 ล้านดอลลาร์ ทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุด และลงทุนมากที่สุดในลาวปัจจุบัน ทุกอย่างดำเนินไปตามกฎ และมาตรฐานโลก ขปล.กล่าว

ในระบบยังมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกหลายประการ รวมทั้งการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจากลำน้ำ (ห้วย) เลือก กับลำน้ำแก่น ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อนำน้ำไปใช้ผลิตไอน้ำแรงดันสูง และใช้ในระบบปรับอุณหภูมิของโรงไฟฟ้า ก่อนหน้านี้ มีการอพยพประชาชนหลายพันคนออกไปยังแหล่งที่ทำกินแห่งใหม่ที่มีการสร้างงานอย่างยั่งยืนให้แก่ทุกคน ทุกครอบครัวได้รับเงินชดเชยอย่างยุติธรรม ผู้ลงทุนได้จัดระบบสาธารณูปโภคเพื่อให้ประชาชนเหล่านั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในถิ่นที่อาศัยทำกินแห่งใหม่ สำนักข่าวของทางการกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น