xs
xsm
sm
md
lg

ลาวรวยอีกแล้ว ไฟฟ้าหงสาเดินเครื่องหน่วยที่ 2 รับรองส่งขายไทยตามกำหนด มิ.ย.นี้แน่นอน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>รอกันมาหลายปี นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรี ผู้ชี้นำเศรษฐกิจมหภาคและการผลิต เดินทางไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้า พลังความร้อน ที่เมืองหงสา แขวงไซยะบูลี ในเดือน ธ.ค.2557 หลังจากนั้นก็มีคณะไปเยือนอีกหลายคณะ ทั้งของลาวและจากฝั่งไทย ทุกฝ่ายต่างเร่งวันเร่งคืน เพื่อรับประกันให้โรงไฟฟ้าขนาด 1,878 เมกะวัตต์แห่งนี้ ส่งไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่ไทยและลาวได้ตามกำหนด ซึ่งจะเริ่มเดือนหน้าเป็นต้นไป. -- ภาพ: บริษัทไฟฟ้าหงสา.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุน ระหว่างไทย และลาว ได้ทดลองเปิดเดินเครื่องปั่นไฟหน่วยที่ 2 แล้วเมื่อไม่นานมานี้ แม้จะเกิดการขัดข้อง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าของเครื่องปั่นไฟหน่วยที่ 1 และ ทุกฝ่ายกำลังเร่งแก้ไขให้ใช้งานได้เป็นปกติ ซึ่งจะทำให้ส่งไฟฟ้าผลิตได้จากหน่วยที่ 1 จำหน่ายให้แก่ไทยได้ในเดือน มิ.ย. และจากหน่วยที่ 2 ตามกำหนดปลายปีนี้อย่างแน่นอน สื่อของทางการรายงาน

ตามรายงานสำนักข่าวสารปะเทดลาว การทดลองเดินเครื่องของหน่วยปั่นไฟหน่วยที่ 2 สะดุดลงเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากเกิดเสียงดัง โดยมีต้นเหตุจากเครื่องเก็บเสียง หรือ Silencer ไม่ปกติ และก่อนหน้านั้น หม้อต้มน้ำ (Boiler) แรงดันสูงของหน่วยที่ 2 ก็เกิดเสียหายเช่นกัน แต่รายการหลังได้รับการแก้ไขจนใช้งานเป็นปกติดีแล้ว

วันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา นายยันยง สีปะเสิด รองเจ้าแขวง แขวงไซยะบูลี พร้อมด้วย นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติของไทย ซึ่งเป็นองค์การอิสระ ได้ลงตรวจสอบเยี่ยมชมโครงการ และได้รับรายงานว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตของหน่วยปั่นไฟหน่วยที่ 1 และปัญหาเกี่ยวกับ “เครื่องเก็บเสียง” ของหน่วยที่ 2 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้งกำลังได้รับการแก้ไข

ปัจจุบัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างเร่งดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อรับประกันให้หน่วยปั่นไฟทั้ง 3 หน่วยของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหินแห่งแรกในลาว ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามสัญญาซื้อขาย ที่เซ็นกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทย และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว โดยหน่วยที่ 1 จะส่งขายได้ในเดือนหน้านี้ หน่วยที่ 2 เดือน พ.ย. และหน่วยที่ 3 เดือน มี.ค.2559 ขปล.กล่าว

ตั้งอยู่ในเขตเมืองหงสา ซึ่งเป็นแหล่งถ่านหินขนาดใหญ่อีกแหล่งหนึ่ง ในแขวงไซยะบูลีของลาว การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแห่งนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ 100% เมื่อต้นปี ก่อนเข้าสู่กระบวนการทดลองระบบต่างๆ รวมทั้งเดินเครื่องปั่นไฟหน่วยที่ 1 ทดลองผลิตกระแสไฟฟ้า ติดตามด้วยหน่วยที่ 2 ตามกำหนด

เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2553 ด้วยมูลค่าลงทุน 3,710 ล้านดอลลาร์ เพื่อผลิตไฟฟ้ารวม 1,878 เมกะวัตต์ หรือหน่วยละ 626 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าหงสา เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุด และ ลงทุนมากที่สุดในลาวปัจจุบัน ทุกอย่างดำเนินไปตามกฎ และมาตรฐานโลก
.
<bR><FONT color=#000033>นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีพลังงาน นำคณะไปเยี่ยมชมกิจการโรงไฟฟ้าหงสา วันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา นี่คือโครงการผลิตไฟฟ้าใหญ่ที่สุด ลงทุนมากที่สุดในลาวปัจจุบัน ไฟฟ้าที่ผลิตโดยเครื่องปั่นไฟหน่วยแรก จะเริ่มส่งข้ามแดนขายให้ชาวไทยได้ใช้ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป ไฟฟ้าจากหน่วยที่ 2 จะตามมาช่วงปลายปี และ หน่วยที่ 3 ต้นปีหน้า ตามกำหนด.  -- ภาพ: บริษัทไฟฟ้าหงสา.</b>
2
ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งขายให้รัฐวิสาหากิจไฟฟ้าลาวเพียง 100 เมกะวัตต์ เพื่อใช้ในแขวงภาคเหนือ ปริมาณที่เหลือ 1,473 เมกะวัตต์ จะส่งจำหน่วยให้ กฟผ. ของไทย ตามระบบสายส่ง รวมความยาว 115 กิโลเมตร ทางหนึ่งเป็นสายส่ง 115 กิโลโวลต์ ไปยังเมือง (อำเภอ) เชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง ที่อยู่เหนือขึ้นไป กับอีกทางหนึ่งเป็นสายส่ง 500 กิโลโวลต์ จากหงสาไปยังชายแดนลาว-ไทย ทางทิศตะวันตก เพื่อเชื่อมต่อกับข่ายสายส่งไฟฟ้าแรงสูงของไทย ที่จุดชายแดนเมืองเชียงห่อน แขวงไซยะบูลีเดียวกัน

ในระบบโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแห่งนี้ ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายประการ รวมทั้งการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจากลำน้ำ (ห้วย) เลือก กับลำน้ำแก่น ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อนำน้ำไปใช้ผลิตไอน้ำแรงดันสูง และในระบบปรับอุณหภูมิของโรงไฟฟ้า

ก่อนหน้านี้ มีการอพยพประชาชนหลายพันคนออกไปยังแหล่งที่ทำกินแห่งใหม่ ที่มีการสร้างงานอย่างยั่งยืนให้แก่ทุกคน ทุกครอบครัวได้รับเงินชดเชยอย่างยุติธรรม และผู้ลงทุนคือ บริษัทหงสาพาวเออร์ ได้จัดระบบสาธารณูปโภคเพื่อให้ประชาชนเหล่านั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในถิ่นที่อาศัยทำกินแห่งใหม่ สำนักข่าวของทางการกล่าว.
.


3
<bR><FONT color=#000033>สองภาพข้างบนเป็นอีกกิจกรรมล่าสุด วันที่ 11 เม.ย.2558 บริษัทไฟฟ้าหงสาจำกัด สนับสนุนเงินกว่า 65 ล้านกีบและสนับสนุนเครื่องจักร ช่วยราษฎร 5 หมู่บ้าน สร้างฝายกั้่นน้ำจากลำห้วยเลือก เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ เป็นฝายแบบหินถม โครงการผลิตไฟฟ้าแห่งนี้ ยังมีอีกหลายองค์ประกอบ รวมทั้งการสร้างเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ การจัดถิ่นฐานใหม่ให้ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ จัดงานทำที่ยั่งยืน จัดสร้างระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย. -- ภาพ: บริษัทไฟฟ้าหงสา.</b>
4
กำลังโหลดความคิดเห็น