xs
xsm
sm
md
lg

ลาวตัดถนนเข้าสมรภูมิเก่าภูเบี้ย พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว “ขายอากาศ” ชั้นนำของประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ทิวน์ทัศน์สวยงามใกล้กับเมืองไซสมบูนเมื่อก่อน ในภาพจาก <a href=http://www.panoramio.com/photo/66590495> Panoramio/Google Maps </a>โดย Antoine Magnier ซึ่งเจ้าตัวถ่ายเอาไว้เมื่อปี พ.ศ.2555 ก่อนที่จะกลายมาเป็นเมืองอะนุวงในวันนี้ และ เป็นแขวงที่ 18 ของลาว ทางการกำลังพัฒนาที่นี่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำอีกแห่งหนึ่งของประเทศ. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการลาวได้ตัดถนนเข้าไปถึงภูเบี้ย และจะสร้างต่อไปจนถึงยอดภู ซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนาให้ภูสูงที่สุดในประเทศ ที่เคยเป็นสมรภูมิสู้รบดุเดือดกับลาวฝ่ายขวา ให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่ง “ขายอากาศ” เป็นปลายทางท่องเที่ยวชั้นนำอีกแห่งหนึ่งของประเทศ และเรื่องนี้อยู่ในแผนพัฒนา จังหวัดใหม่ล่าสุด

ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว นายสมบัด เยียลีเฮอ เจ้าแขวงไซสมบูน เปิดเผยเรื่องนี้ในนครเวียงจันทน์ ระหว่างเดินทางไปร่วมการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี และบรรดาเจ้าแขวงจากทั่วประเทศ วันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ปัจจุบัน ทางการแขวงกำลังศึกษางานด้านต่างๆ ตลอดจนแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนา รวมทั้งรวบรวมข้อมูล และประวัติของภูสูงแห่งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแผนพัฒนา และดึงดูดการลงทุนต่อไป

ไซสมบูน เป็นเขตภูดอย และเป็นพื้นที่สีเขียว มีป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ปกคลุมทุกพื้นที่ อากาศดีตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัด ที่ผ่านมา มีการศึกษาค้นคว้าและจัดประชุมสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวในแขวงนี้หลายครั้ง เพื่อรวบรวมข้อมูลในรายละเอียดสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของแขวง

แขวงไซสมบูน ยังมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ และ “มีมูลเชื้ออันวีระอาจหาญของการต่อสู้กู้ชาติในระยะต่างๆ” สำนักข่าวของทางการอ้างคำพูดของเจ้าแขวง

ภูเบี้ย เป็นยอดสูงที่สุดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความสูง 2,820 เมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่เมือง (อำเภอ) อะนุวง ซึ่งเป็นเมืองเอก และศูนย์การบริหารจัดการของแขวงนี้ อยู่ห่างจากเขตเทศบาลเพียง 5-6 กิโลเมตร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตัดถนนเข้าไปถึงตีนภูแล้ว และจะตัดต่อขึ้นไปจนถึงบริเวณยอดสูง เพื่อสร้างเป็นจุดชมทิวทัศน์ และเป็นแหล่งตากอากาศชั้นดี ขปล.กล่าว

ภูเบี้ย แห่งนี้เคยเป็นที่มั่นสุดท้ายของ “ฝ่ายต่อต้าน” ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ที่องค์การสืบราชการลับซีไอเอเคยจัดตั้งขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม เพื่อต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวเมื่อก่อน ถึงแม้ว่าขบวนการคอมมิวนิสต์ที่กลายมาเป็นพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในปัจจุบัน จะยึดอำนาจได้สำเร็จในเดือน ธ.ค.2518 ก็ตาม การต่อสู้กับกองโจรชาวม้งในเขตภูเบี้ย ก็ยังดำเนินต่อมาอีกนานนับ 10 ปี

ในยุคใหม่ ไซสมบูน ยังถูกปกครองภายใต้กฎอัยการศึก ในฐานะ “เขตปกครองพิเศษ” เป็นเวลาอีกหลายปีก่อนจะยกเลิก และในปลายปี 2556 ก็ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดที่ 18 ของประเทศ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองไซสมบูน เป็น “เมืองอะนุวง” เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระเจ้าอะนุวง ที่ทรงนำไพร่พลต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชจากราชอาณาจักรสยาม ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม

ทิวเขาภูเบี้ยยังเป็นเทือกเขาใหญ่ที่ครอบคลุมหลายพื้นที่ทั้งแขวงไซสมบูน เชียงขวาง กับแขวงเวียงจันทน์ ที่นี่ยังเป็นแหล่งที่ตั้งของ เหมืองแร่ขนาดใหญ่ อีกแห่งหนึ่งของประเทศ ปัจจุบันเหมืองภูเบี้ยผลิตทั้งทองคำ เงิน และทองแดง ออกสู่ตลาดโลก

ทางทิศเหนือของภูเป็นเขตบ้านล่องแจ้ง (Long Tien) เมื่อก่อน ซึ่งปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัด เป็นที่ตั้งของสนามบินล่องแจ้งอันเลื่องลือ ที่ถูกใช้เป็นฐานปฏิบัติการของ “แอร์อเมริกา” ที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยองค์การสืบราชการลับซีไอเอของสหรัฐฯ สำหรับการลำเลียงขนส่งอาวุูธ และเสบียง รวมทั้งฝึกฝนกำลังพล สนับสนุนกองทัพชาวม้งของนายพลวังปาวในอดีต ทางการคอมมิวนิสต์ลาวประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่า จะฟื้นฟู และพัฒนาสนามบิน เก่าแก่ ให้เป็นสนามบินพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวแขวงไซสมบูนด้วย

เมื่อขึ้นไปอยู่บนภูสูงแห่งนี้ นักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ทางธรรมชาติอันสวยงามได้กว้างไกล ทั้งแขวงเชียงขวาง ที่อยู่ทางเหนือ แขวงเวียงจันทน์ รวมทั้งนครเวียงจันทน์ ที่อยู่ทางทิศตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ เชื่อว่าในอนาคตที่นี่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลกอีกแห่งหนึ่ง และในเดือน ธ.ค.ปีนี้ ทางการแขวงจะจัดเทศกาลท่องเที่ยวขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมฉองครบรอบ 40 ปี การก่อตั้ง สปป.ลาว และครบรอบ 2 ปี การก่อตั้งแขวง สำนักข่าวของลาวระบุ

นายสมบัด ซึ่งเป็นกรรมการศูนย์กลางพรรค และอดีตเจ้าครอง (ผู้ว่าราชการ) นครเวียงจันทน์คนหนึ่ง ได้กลายเป็นเจ้าแขวงคนแรกของแขวงแห่งนี้.
.
<bR><FONT color=#000033>เส้นทางไปสู่ภูเบี้ยจาก <a href=http://www.panoramio.com/photo/66590495>แหล่งเดียวกันกับภาพแรก</a> ซึ่งเจ้าตัวแนะนำว่า นักท่องเที่ยวไม่ควรจะไปตามเส้นทางนี้ เนื่องจากเป็นเส้นทางหวงห้ามและมีทหารคอยกำกับ นั่นคือข้อมูลเมื่อปี พ.ศ.2555 ปัจจุบันทางการได้ตัดถนนจากเมืองอะนุวง ไปยังตีนภูแห่งนี้แล้ว ในแผนพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติชั้นนำของประเทศ. </b>
2
กำลังโหลดความคิดเห็น