xs
xsm
sm
md
lg

มาเลย์ร้องพม่าเลิกกดขี่โรฮิงญาทำผู้อพยพเพิ่มสูง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาและบังกลาเทศถูกเจ้าหน้าที่นำตัวไปยังเรือของกองทัพเรือมาเลเซียเพื่อเดินทางไปยังแผ่นดินใหญ่ หลังกลุ่มผู้ลี้ภัยเหล่านี้ขึ้นฝั่งที่เกาะลังกาวี รัฐเคดาห์ มาเลเซีย วันที่ 14 พ.ค.--Reuters/Olivia Harris.</font></b>

เอเอฟพี - มาเลเซีย จำต้องส่งสารแข็งกร้าวถึงพม่าให้หยุดกดขี่ชนกลุ่มน้อยโรฮิงญาที่เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นมนุษย์เรือ ด้วยความวิตกต่อวิกฤตด้านมนุษยธรรมในภูมิภาค เจ้าหน้าที่รัฐบาลมาเลเซียกล่าววันนี้ (14)

วัน จูไนดี ตวนกู จาฟาร์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทยของมาเลเซีย กล่าวว่า ปัญหาผู้ลี้ภัยที่เพิ่มขึ้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นเพราะการปฏิบัติของพม่าต่อโรฮิงญา ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่เผชิญต่อการเลือกปฏิบัติของรัฐ และตกเป็นเป้าในความรุนแรงทางศาสนาเมื่อไม่นานที่ผ่านมา

“แน่นอนว่านี่เป็นปัญหาหลังบ้านของพม่าด้วยวิธีที่พวกเขาปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจำเป็นต้องส่งข้อความไปยังพม่าว่า พวกเขาจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติต่อคนของเขาด้วยมนุษยธรรม คนเหล่านั้นต้องได้รับการปฏิบัติในฐานะมนุษย์ และไม่ควรถูกกดขี่” วัน จูไนดี กล่าว

มาเลเซีย ระบุว่า สัปดาห์นี้มาเลเซียจะผลักดันเรือที่เต็มไปด้วยผู้อพยพที่สิ้นหวังจากพม่า และบังกลาเทศพ้นน่านน้ำ เว้นแต่มนุษย์เรือเหล่านั้นอยู่ในอันตรายจากสถานการณ์เรือจม ตามรอยเพื่อนบ้านอินโดนีเซีย

ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีมนุษย์เรืออย่างน้อย 2,000 คน ได้รับการช่วยเหลือ หรือว่ายเข้าฝั่งมาเลเซีย และอินโดนีเซีย

กลุ่มผู้อพยพเตือนว่า การผลักดันเรือเปรียบเสมือนกับโทษประหารชีวิตให้แก่คนที่ตกอยู่ในความเสี่ยงอยู่แล้ว ทั้งจากความอดอยาก และโรคภัยหลังรอนแรมอยู่กลางทะเลนานหลายสัปดาห์ ซึ่งผู้ที่เดินทางมาถึงฝั่งเมื่อไม่นานนี้ระบุว่า มีหลายคนเสียชีวิตระหว่างทาง และร่างของผู้ที่เสียชีวิตเหล่านั้นถูกโยนลงน้ำ

ผู้สนับสนุนสิทธิผู้อพยพยังระบุว่า ทั้งชายหญิง และเด็กหลายพันคนเชื่อว่ายังคงติดอยู่กลางทะเลหรือถูกทิ้งโดยพวกค้ามนุษย์ที่พยายามหลบหนีการจับกุม หลังการปราบปรามของตำรวจไทยตามเส้นทางลักลอบค้ามนุษย์

วัน จูไนดี กล่าวว่า มาเลเซียนั้นมีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่แล้วจำนวนหลายหมื่นคน มาเลเซียไม่สามารถที่จะเป็นผู้รับผิดชอบเพียงประเทศเดียวในการรับคนเหล่านี้ไว้ และคาดว่าปัญหานี้จะถูกหยิบยกขึ้นหารือในการประชุมอาเซียนครั้งต่อไปในปีนี้

แม้ชาติสมาชิกอาเซียนจะไม่เข้าแทรกแซงกิจการภายในของแต่ละประเทศ แต่ อานิฟาห์ บิน ฮาจิ อามาน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวเมื่อไม่นานนี้ว่า ปัญหาโรฮิงญาได้กลายเป็นปัญหาระดับนานาชาติที่จำเป็นต้องมีการหารือ

ชาวโรฮิงญา มากกว่า 1.3 ล้านคน ที่สหประชาชาติระบุว่า เป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงรังแกมากที่สุดในโลก อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของพม่า ทางการพม่าปฏิเสธที่จะให้สิทธิพลเมือ งและปฏิบัติต่อคนกลุ่มนี้ในฐานะเป็นชาวต่างชาติที่ไม่พึงประสงค์.
กำลังโหลดความคิดเห็น