xs
xsm
sm
md
lg

กัมพูชาชี้อาเซียนควรอยู่ห่างจากปัญหาทะเลจีนใต้ ให้ประเทศที่อ้างสิทธิจัดการกันเอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา จัดการประชุมในกรุงพนมเปญ ในช่วงเช้าวันนี้ (7) พร้อมคณะนักการทูตต่างชาติในกัมพูชาเพื่อแจ้งผลการประชุมอาเซียนครัั้งที่ 26 ในมาเลเซีย.--Photo/AKP/Chim Nary.</font></b>

รอยเตอร์ - กัมพูชาแสดงท่าทีสนับสนุนสถานะของจีนในการจัดการข้อพิพาททะเลจีนใต้ในวันนี้ (7) โดยอ้างเหตุผลว่าข้อขัดแย้งดินแดนควรจัดการกันระหว่างผู้อ้างสิทธิ และไม่ควรเกี่ยวข้องต่อกลุ่มอาเซียน

การแสดงความเห็นโดยชาติที่ไม่ได้มีส่วนในการอ้างสิทธิในประเด็นอ่อนไหวที่สุดที่อาเซียนกำลังเผชิญอยู่ กัมพูชาได้สื่อสารข้อความดังกล่าวในระหว่างการประชุมหารือกับนักการทูตจาก 28 ประเทศ

“การอ้างสิทธิดินแดนในทะเลจีนใต้ต้องจัดการโดยประเทศที่เกี่ยวข้อง อาเซียนไม่สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งนี้ได้ เราไม่ใช่สถาบันกฎหมาย ควรเป็นศาลที่ตัดสินว่าใครถูกใครผิด” เซือง รัฐจาวี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กล่าวต่อผู้สื่อข่าวหลังการหารือ

จีน อ้างสิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่ร้อยละ 90 ของน่านน้ำยุทธศาสตร์ และกล่าวมานานว่า อาเซียนไม่ใช่คู่กรณีในข้อขัดแย้ง และปัญหาควรจัดการระหว่างสองฝ่าย ทั้งนี้ ประเทศที่อ้างสิทธิอธิปไตยในพื้นที่บางส่วนของน่านน้ำดังกล่าวประกอบด้วย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน และมาเลเซีย

การจัดประชุมหารือครั้งนี้ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนที่สุดของกัมพูชาต่อปัญหานับตั้งแต่เกิดเหตุขัดแย้งเกี่ยวกับถ้อยความที่กล่าวถึงความตึงเครียดทางทะเลในร่างคำแถลงที่การประชุมสุดยอดในปี 2555

กัมพูชา ที่ทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนหมุนเวียนในช่วงเวลานั้น ถูกกล่าวหาว่า ทำให้กลุ่มเสียงแตกเมื่อกัมพูชาปฏิเสธที่จะกล่าวถึงการกระทำของจีนในทะเลจีนใต้ จนเป็นผลให้กลุ่มไม่สามารถออกคำแถลงปิดการประชุมตามธรรมเนียมได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลุ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2510

จีน ให้การสนับสนุนกัมพูชาทั้งทางเศรษฐกิจ และทหาร พันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปฏิเสธว่า มีอิทธิพลภายในอาเซียน ผู้แสดงความคิดเห็นบางคนกล่าวว่า จีนมีอำนาจที่จะใช้กัมพูชาเป็นเสียงยับยั้งในมติกลุ่ม

การถมทะเลของจีนในทะเลจีนใต้ครอบงำการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งล่าสุดในมาเลเซียเมื่อสัปดาห์ก่อน เมื่อคำแถลงชี้ว่า กิจกรรมดังกล่าวได้บ่อนทำลายความไว้วางใจ และความเชื่อมั่น

ผู้ที่อ้างสิทธิอธิปไตยในบริเวณน่านน้ำของทะเลจีนใต้ทั้งหมดมักเรียกร้องความร่วมมืออยู่เสมอในการร่างระเบียบปฏิบัติที่มีผลผูกมัด แนวคิดที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงอาเซียน-จีน เมื่อ 13 ปีก่อน

เซือง รัฐจาวี ยืนยันว่า จีนไม่มีอิทธิพลเหนือกัมพูชา กัมพูชานั้นเป็นกลาง และจีนเป็นเพียงเพื่อนใกล้ชิดกับกัมพูชา รวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น