xs
xsm
sm
md
lg

เปิดแล้วสะพานใหญ่ข้ามน้ำโขงไปเวียดนาม สงกรานต์ปีนี้เขมรมีเฮ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ภาพจากเฟซบุ๊กของ Sarat Bunheng วิศวกรชาวเขมรร่วมกันถายรูปบนสะพาน หลังก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา สะพานยาวกว่า 2 กม. สร้างด้วยเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ก่อสร้างโดยบริษัทสุมิโตโมจากญี่ปุ่น ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ทุกปีที่ผ่านมา รถจะติดยาวเหยียดที่บริเวณท่าแพขนานยนต์เมืองเนียกเลือง แต่เหตุการณ์เช่นนั้นคงจะไม่มีให้เห็นอีกแล้ว ในช่วงวันหยุดยาวใกล้จะถึงนี้ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาไปเป็นประธานพิธีเปิดใช้สะพานเนียกเลือง อย่างเป็นทางการตอนเช้าวันจันทร์ 6 เม.ย.นี้. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน ร่วมกับผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ทำพิธีเปิดใช้อย่างเป็นทางการสะพานเนียกเลือง (Neak Loeung) ตอนเช้าวันจันทร์ 6 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นสะพานยุทธศาสตร์สำคัญบนทางหลวงสายที่ 1 จากกรุงพนมเปญ ไปยังชายแดนเวียดนาม เป็นการเปิดศักราชใหม่เอื้ออำนวยให้การคมนาคมขนส่งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างไทย กัมพูชา และเวียดนาม

สะพานเนียกเลือง หรือ “เนียะเลิง” (Nea Leung) ตามที่เรียกกันในท้องถิ่น ตั้งอยู่ใน จ.กันดาล (Kandal) ห่างจากเมืองหลวงราว 60 กิโลเมตร สะพานมีความยาว 2,215 เมตร กับถนนเข้าสู่สะพานทั้งสองข้างรวมระยะทางอีก 3,100 เมตร สร้างขึ้นด้วยเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Grant Aid) จากรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นเงิน 90 ล้านดอลลาร์ สมทบกับงบประมาณรวมเป็นมูลค่า 131 ล้านดอลลาร์

“สะพานสึบาสะ” (Tsubasa) ตามชื่อที่ฝ่ายญี่ปุ่นตั้งขึ้น มีบทบาทสำคัญในโครงการทางหลวงอาเซียนสายที่ 1 (ASEAN Highway 1) ที่เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตก ไปจนถึงมาเลเซีย และสิงคโปร์ รวมทั้่งพม่าในอนาคต “สะพานกับทางหลวงจะช่วยเปิดโอกาสให้สร้างรายได้มากขึ้น ทางด้านการค้า การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การเกษตร การสาธารณสุข ด้านความมั่นคงปลอดภัย และโอกาสในการสร้างงานใหม่ๆ” สถานทูตญี่ปุ่นในพนมเปญ ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว

สะพานเนียกเลือง จะช่วยระบายความคับคั่งของการจราจร ตามทางหลวงสาย 1 ช่วงใกล้กับชายแดนกัมพูชา-เวียดนาม รวมทั้งบนถนนส่วนที่อยู่ในเวียดนาม ที่มุ่งไปยังด่านชายแดนหม็อกบ่าย (Moc Bai) ขณะที่ฝ่ายเวียดนาม มีแผนการที่จะขยายทางหลวงจากด่านชายแดนด้านนั้น ไปยังนครโฮจิมินห์ ให้เป็นขนาด 6 ช่องจราจรในอนาคตอันไม่ไกลนี้

สถานทูตญี่ปุ่นยังระบุอีกว่า นอกจากสะพานสึบาสะ จะเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายอาเซียนตามแผนการแล้ว ก็ยังสอดคล้องต่อแผนพัฒนาระบบขนส่งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ GMS (Greater Mekong Sub-Region) ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชียอีกด้วย

ไม่เพียงแต่สะพานแห่งใหม่จะสร้างเงื่อนไขสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งให้แก่ประชาชนกัมพูชาที่อาศัยตามสองข้างทางเท่านั้น หากยังรวมถึงประชาชนในประชาคมอาเซียนทั้งมวล ที่จะสามารถไปมาหาสู่กันสะดวก และง่ายดาย รวมทั้งในการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจต่างที่จะตามมาด้วย

นอกจากสะพานแหงนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังช่วยกัมพูชาก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงในจุดสำคัญอีก 2 แห่ง ซึ่งได้แก่ สะพานมิตรภาพกัมพูชา-ญี่ปุ่นในกรุงพนมเปญ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสะพานจรอยจังวร (Chroy Changvar) กับอีกแห่งคือสะพานคิโซนา (Kizona Bridge) หรือสะพานมิตรภาพกัมพูชา-ญี่ปุ่น ข้ามแม่น้ำโขงใน จ.กัมปงจาม

รัฐบาลญี่ปุ่น ยังสนับสนุนด้านการเงินแบบให้เปล่าเพื่อบูรณะและก่อสร้างทางหลวงสาย 1 จากกรุงพนมเปญ ไปยังสะพานเนียกเลืองแห่งนี้อีกด้วย โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง เสร็จไปแล้ว 3 ช่วง คงเหลือช่วงสุดท้ายซึ่งคาดว่าจะเริ่มขึ้นในเดือน เม.ย.นี้

ก่อนหน้านี้่ ญี่ปุ่นยังสนับสนุนการเงินแบบ ODA หรือความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance) ในการบูรณะก่อสร้างทางหลวงสาย 5 จากทางทิศตะวันตกย่านรอบนอกของเมืองหลวง ไปยัง อ.ปอยเปต ใกล้กับชายแดนไทย ช่วยก่อสร้างท่าเทียบเรืออีกแห่งหนึ่งใน จ.พระสีหนุ รวมทั้งช่วยศึกษาโครงการทางด่วนสายพนมเปญ-บ่าเว็ต ด้วย.
.
เปิดศักราชการขนส่ง Facebook/Sarat Bunheng






กำลังโหลดความคิดเห็น