xs
xsm
sm
md
lg

คลิปใหม่.. ไปดูโรงเก็บเครื่องบินพับได้ใช้ลมเป่าในมัณฑะเลย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>เครื่องบินพลังงานสุริยะจอดในโรงเก็บที่ทีมงานนำไปด้วย เนื่องจากไม่อาจจะพึ่งพาโรงเก็บที่สนามบินปลายทางได้ตลอดเวลา ด้วยความก้าวหน้าในเรื่องนี้ ทำให้โซลาร์อิมพัลส์ 2 (Solar Impulse 2) รอดปลอดภัยจากความรุนแรงทางธรรมชาติ รวมทั้งแรงกระทบจากวัตถุต่างๆ  ในมัณฑะเลย์ช่วงใกล้เทศกาลสงกรานต์ ฝนตกแบบวันเว้นวัน หรือ ตกต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง Si2 จอดที่นี่ถึงวันนี้ก็ 10 วันพอดี ทุกฝ่ายกำลังลุ้น 5 ทุ่มคืนนี้ ลมฟ้าอากาศจะเอื้ออำนวยให้ขึ้นบินต่อไปยังนครฉ่งชิ่ง ประเทศจีนได้หรือไม่.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทีมงานเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์ อิมพัลส์ 2 ได้แสดงการกางออกเพื่อใช้งานสิ่งที่เรียกว่า “โรงเก็บเครื่องบินพกพาได้แบบใช้ลมเป่า” ซึ่งใช้เป็นที่เก็บเครื่องบินพลังงานสุริยะในนครมัณฑะเลย์ ตั้งแต่คืนวันศุกร์ 20 มี.ค. นับตั้งแต่ลงจอดที่นั่น จนถึงวันนี้เป็นเวลาถึง 10 วันแล้ว นับเป็นอุปกรณ์ใหม่ที่เพิ่งนำออกใช้งานในช่วงที่อยู่ในพม่านี่เอง

โซลาร์ อิมพัลส์ 2 จอดอยู่ในโรงเก็บเครื่องบินแบบเก็บพับได้นี้ตลอดมา ท่ามกลางเปลวแดดจ้า และฝนตกหนักแทบจะวันเว้นวันในนครใหญ่อันดับ 2 ของพม่า และสนามบินนานาชาติแห่งนี้ไม่มีโรงเก็บเครื่องบินที่สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่เช่น Si2 ลำนี้ได้

ปีกทั้งสองข้างกางออกกว้างถึง 72 เมตร เทียบกับเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 747-8I รุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งปีกยาวรวมกัน 68.5 เมตร สูงเท่าๆ กับเครื่องบินโดยสารไอพ่นขนาดกลางลำหนึ่ง ปีกทั้งสองข้างยังเต็มไปด้วยแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งนำแสงจากดวงอาทิตย์ไปผลิตกระแสไฟฟ้ารวมจำนวนกว่า 17,000 ชิ้น และยังมีแบตเตอรี่ลิเธียมโพลิเมอร์ ที่ใช้เก็บไฟสำหรับหมุนใบพัดอีก 4 ลูกขนาดใหญ่ เครื่องบินพลังงานสุริยะจึงต้องการการปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากแดดจ้า กับสายฝนในยามที่ไม่ได้ขึ้นบิน

วิดีโอชิ้นใหม่ที่นำขึ้นโพสต์วันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความแตกต่าง ระหว่างโรงเก็บเครื่องบินพับได้แบบใช้ลมเป่า (Inflatable Hangar) ของ Si2 กับโรงเก็บชนิดเดียวกันที่ผลิตจากแหล่งอื่น ที่ส่วนใหญ่จะใช้โครงเหล็กเสริมข้างใน แต่โรงเก็บที่กางออกใช้ที่สนามบินมัณฑะเลย์ ใช้ความแข็งแกร่งของวัสดุโพลิเมอร์ กับเรซิน ทำหน้าที่แทนเสาค้ำยัน ผนังทุกด้านรวมทั้งหลังคาของโรงเก็บเป็นผ้าที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ แบบเดียวกับที่ใช้ทำใบเรือขนาดใหญ่ กันน้ำ กันไฟ และโครงสร้างทั้งหมดสามารถทานลมแรงระดับ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้

เจ้าหน้าที่ของ Si2 ที่นำเสนอวิดีโอชิ้นนี้กล่าวว่า การกางออกใช้งานไม่ได้ยากเย็น ไม่ได้ใช้พัดลมแรงพิเศษในการเป่าลม หากอาศัยแรงลมธรรมชาติเข้าช่วยด้วย

ไม่มีข้อมูลว่าโรงเก็บชนิดใช้ลมเป่าของ Si2 ผลิตจากแหล่งใด แต่บริษัทอุตสาหกรรมไฮเทคในอังกฤษ กับเยอรมนีหลายแห่งที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้นำผลิตภัณฑ์คล้ายๆ กันนี้ออกจำหน่ายหลายปีมาแล้ว ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น ทำโรงแสดงนิทรรศการชั่วคราว โกดังสินค้า และอื่นๆ
.

MandalaySi2China
.
ในวิดีโอชิ้นล่าสุดนี้ ทีมงาน Si2 ได้แสดงให้เห็นการนำโรงเก็บแบบเป่าลมหลายชิ้น นำเข้าประกอบกันเป็นโรงเก็บเครื่องบินขนาดใหญ่ ตามความกว้าง และความยาวของเครื่องบิน ใหญ่โตพอที่จะใช้เป็นทั้งโรงเก็บกับโรงซ่อมบำรุง และยังใช้เป็นออฟฟิศชั่วคราวได้อีกด้วย เจ้าหน้าที่กล่าวว่า การประกอบแต่ละครั้งเพื่อให้ได้โรงเก็บเครื่องบินที่สมบูรณ์จะใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง

เมื่อครั้งจอดที่สนามบินกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมื่อไปลงจอดที่กรุงมัสกัต ประเทศโอมาน เลยต่อไปยังเมืองอาร์เมดาบัด กับเมืองพาราณสีในอินเดีย ช่วงที่ผ่านมานั้น โซลาร์ อิมพัลส์จอดในเต็นท์ผ้ายางชั่วคราวที่ใช้โครงเหล็กค้ำยันแบบที่เห็นกันทั่วไป

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า โรงเก็บแบบใช้เป่าลม และพับเก็บได้นี้ เมื่อเปิดให้ลมออกก็จะเป็นแผ่นผ้าคล้ายกับร่วมชูชีพ เก็บได้ง่าย สามารถไปไหมาไหนได้สะดวก ทำให้ SI2 สามารถลงจอดที่ใดก็ได้ นอกเหนือจากจุดแวะพักที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า

เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์จอดอยู่ในมัณฑะเลย์ยาวนานกว่าจุดแวะพักอื่นๆ ที่ผ่านมา และมีกำหนดจะขึ้นบินต่อไปยังนครฉ่งชิ่ง สาธารณรัฐประชาชน ในคืนวันอาทิตย์ 29 มี.ค.นี้ เวลา 23.00 น. แต่ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยมีสภาพภูมิอากาศเป็นตัวกำหนด ศูนย์ควบคุมที่ตั้งอยู่ในประเทศโมนาโก ซึ่งติดตามเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่ Si2 ตลอดเวลา รวมทั้งการพยากรณ์อากาศ จะเป็นผู้ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

เครื่องบิน Solar Impulse 2 เคยมีกำหนดจะขึ้นบินจากมัณฑะเลย์ วันศุกร์ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากเกิดฝนตกในเขตป่าเขาภาคเหนือของพม่า ที่จะต้องบินผ่าน และต่อมาก็เกิดฝนตกหนักในมณฑลทางภาคตะพวันตกเฉียงใต้ของจีน จึงทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการบินช่วงที่ 5 หรือ ไฟลต์ 5 ออกไป “เป็นอย่างเร็ว” ในคืนวันอาทิตย์นี้

ศูนย์ควบคุมการบินส่ง “ซิก” ถึงทีมงานในมัณฑะเลย์ตอนค่ำวันเสาร์ 28 มี.ค.นี้ และ แบตร็องด์ พิกการ์ด ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อนตั้ง เป็นประธาน และเป็นนักบินคนหนึ่งของ Si2 ได้ทวิตเรื่องนี้ให้ทีมงานเตรียมพร้อมสำหรับการอำลาดินแดนพม่า

กำลังจะเป็นครั้งแรกเช่นกันที่ Si2 จะขึ้นบินในเวลากลางคืน ถึงแม้ว่า 4 เที่ยวบินแรกที่ผ่านมา จะบินทั้งกลางวัน และกลางคืนคาบเกี่ยวกันมาแล้วก็ตาม

หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ ซึ่งเป็นสื่อกึ่งทางการรายงานว่า ก่อนอำลานครใหญ่ทางภาคเหนือ Si2 จะขึ้นบินวนเหนือมัณฑะเลย์ กับอาณาบริเวณที่ราบสูงที่เรียกว่า “เนินเขาสะกาย” (Sagaing Hill) อันสวยงามด้วย

หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่า Si2 มีกำหนดจะบินเหนือเขตโบราณสถาน ทุ่งเจดีย์แห่งเมืองพุกามด้วย ซึ่งทำให้หลายฝ่ายคาดหวังว่า จะได้เห็นภาพถ่ายอันหมดจดงดงามเผยแพร่ตามออกมา

โซลาร์ อิมพัลส์ 2 อยู่ระหว่างการบินรอบโลก โดยไม่ใช้เชื้อเพลิงชนิดใดๆ นอกจากพลังงานจากแสงอาทิตย์ในการหมุนใบพัด จำนวน 4 ใบ ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์การใช้พลังงานสะอาด ไม่สร้างมลพิษต่อโลก การเดินทางไกลจะใช้เวลา 5-6 เดือน รวมระยะทางราว 35,000 กม. โดยขึ้นบินจากกรุงอาบูดาบี เมื่อวันที่ 9 เดือนนี้ และ 20 วันที่ผ่านมา ได้บินมาแล้วจำนวน 4 ช่วง จากทั้งหมด 12 ช่วง และได้ระยะทางรวมกัน 4,000 กม.เศษ

ตามข้อมูลในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ “ไฟลต์ 5” ของเครื่องบินพลังสุริยะ จะมีระยะทางราว 1,300 กม. คาดว่าจะเวลาบินประมาณ 20 ชั่วโมง การขึ้นบินจากพม่าเวลากลางคืน จะทำให้ไปถึงสนามบินปลายทางในนครฉ่งชิ่ง เวลาค่ำในวันถัดไป.
.
ป้องกันฝนกับสายลมแรง SolarImpulse.Com

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15
<FONT color=#00003>อยากจะบินแล้ว -- อยู่ในโรงเก็บตลอดเวลา แต่ก็จะต้องออกมารับแสงแดด เพื่อชาร์จแบตเตอรีตามกำหนด พร้อมแล้วที่จะขึ้นบิน ต่อไปยังนครฉ่งชิ่ง ประเทศจีน กับ นครหนานจิง ซึ่งจะเป็นปลายทางสุดท้ายในทวีปเอเชีย ก่อนจะบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังรัฐฮาวาย ระยะทางกว่า 8,000 กม. ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง. </FONT>
16
กำลังโหลดความคิดเห็น