ASTVผู้จัดการออนไลน์ - อากาศยานที่ใช้พลังงานสุริยะลำที่ 2 ของโลก มีกำหนดลงจอดที่ท่าอากาศษยานนานาชาตินครมัณฑะเลย์ ของพม่า วันที่ 8 มี.ค.นี้ ก่อนจะบินสาธิตเหนือกรุงเก่า กับทุ่งเจดีย์พุกาม ให้ที่ผู้ติดตาม และผู้สนใจทั่วไปได้ชมกัน สื่อที่รัฐบาลให้การสนับสนุนรายงานเรื่องนี้ในฉบับวันศุกร์ 20 ก.พ.
เป็นครั้งแรกที่สื่อทางการพม่าพูดถึงเรื่องนี้ นับตั้งแต่บริษัทในสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศเมื่อเดือนที่แล้ว แผนการนำยานโซลาร์อิมพัลส์-2 (Solar Impulse-2) บินรอบโลกเป็นเวลา 5 เดือน โดยเริ่มจากตะวันออกกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการติดต่อประสานงานทุกอย่างลงตัว หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ กล่าวว่า จะมีการแถลงเรื่องนี้อย่างละเอียดวันที่ 24 ก.พ.นี้ ในนครย่างกุ้ง กับอีกครั้งที่สนามบินมัณฑะเลย์
โซลาร์อิมพัลส์ จะขึ้นบินจากเมืองอาบูดาบี ก่อนหยุดพักรายทางในอินเดีย พม่า และจีน สำหรับการบินรอบโลกประมาณ 35,000 กิโลเมตร ก่อนจะบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ข้ามสหรัฐฯ และ ยุโรปใต้ กลับไปยังต้นทางในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ กล่าวว่า ระหว่างแวะพักในนครมัณฑะเลย์ วันที่ 9-10 มี.ค. ลูกเรือของโซลาร์อิมพัลส์ จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีเซลล์สุริยะแก่ผู้ที่สนใจ ก่อนจะขึ้นบินสาธิตเหนือกรุงเก่าพุกาม ที่อยู่ใกล้กัน
ระหว่างบินรอบโลกครั้งนี้โซลาร์อิมพัลส์ จะใช้พลังงานจากเซลล์สุริยะเท่านั้น โดยมีนักบินชาวสวิส จำนวน 2 คน ผลัดกันบังคับ
“สิ่งมหัศจรรย์สามารถเกิดขึ้นได้จากพลังงานที่สามารถหมุนเวียนใช้ได้เช่นพลังงานสุริยะ เราต้องการจะแสดงให้เห็นว่า เราสามารถบินอากาศยานนี้ได้ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน โดยที่พลังงานจะไม่ลดน้อยลง” นายแบร์ตร็อง พิการ์ด หนึ่งในนักบิน และยังเป็นผู้ก่อตั้งโครงการคนหนึ่ง กล่าวระหว่างการแถลงข่าวในอาบูดาบี ปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เป็นรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์
“เครื่องบิน” ที่ใช้ไฟฟ้าผลิตจากเซลล์สุริยะลำนี้ บินด้วยเร็วระหว่าง 20-100 กม./ชม. มีน้ำหนัก 2,300 กิโลกรัม เท่าๆ กับรถครอบครัวคันหนึ่ง และปีกที่เต็มไปด้วยแผงโซลาร์เซลล์ กางกว้างรวมความยาวเท่าๆ กับปีกของเครื่องบินโดยสาร
.
.
.
.
.
.
เครื่องบินโซลาร์อิมพัลส์ลำนี้ ใช้เวลาในการออกแบบ และก่อสร้างถึง 12 ปี “มันไม่ใช่เครื่องบินที่ใช้พลังงานสุริยะลำแรกของโลก แต่ก็เป็นลำแรกที่ใช้สามารถบินข้ามมหาสมุทรกับข้ามผืนทวีป” นายอันเดร บอร์ชแบร์ก นักบินคนที่ 2 และผู้ช่วยนักบินกล่าว
นายปิกการ์ด กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า มนุษย์ต่างปราถนาที่จะทำให้โลกดีกว่านี้ และหาทางในการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก และ “ถ้าหากเกิดอะไรขึ้น (ระหว่างนี้) เราจะสร้างเครื่องบินลำใหม่ขึ้นมา และเดินทางต่อไป”
บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งได้เป็นห้วนส่วนในโครงการนี้ รวมทั้งไบเยอร์เอจี (Bayer AG) โซลเวย์ (Solvay) เอบีบี (ABB) ชินด์เลอร์ (Schildler) นาฬิกาโอเมก้า (Omega) และบริษัทมาสดาร์ (Masdar) ในอาบูดาบีด้วย
โซลาร์อิมพัลส์ เป็นเครื่องบินระยะไกลพลังงานแสงอาทิตย์ สร้างขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์ โดยนายปิการ์ด ซึ่งเป็นจิตแพทย์ และเป็นนักบินอวกาศชาวสวิส ร่วมกับ นายบอร์ชแบร์ก นักธุรกิจสัญชาติเดียวกัน ลำแรกสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2552 และขึ้นบินทดสอบในปลายปีเดียวกัน จนกระทั่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นอากาศยานอย่างถูกต้องในสวิตเซอร์แลนด์
ในปี 2555 ทั้ง 2 คนประสบความสำเร็จในการนำโซลาร์อิมพัลส์ บินข้ามยุโรปตะวันตกไปยังประเทศสเปน และเข้าโมร็อกโก ในแอฟริกาเหนือ และในปี 2556 ก็ได้ประสบความสำเร็จในการบินข้ามหลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา จากซานฟรานซิสโกทางฝั่งตะวันตก ไปยังนครนิวยอร์ก
ตามรายงานในเว็บไซต์ solarimpulse.com เครื่องบินลำที่ 2 สร้างเสร็จเมื่อปี 2556 ตามดีไซน์ของลำแรก และเริ่มวางแผนบินรอบโลกเมื่อปีที่แล้ว แต่ความไม่พร้อมทำให้เลื่อนมาเป็นต้นปีนี้.
.
วันที่ 5 ม.ค.2558 โซลาร์อิมพัลส์ถูกแยกชิ้นออกจากกัน นำขึ้นเครื่องโบอิ้ง 747 ของบริษัทคาร์โกลักซ์ ที่สนามบินทหารปาเยิร์น ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และออกเดินทางไปยังเมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่จะใช้เป็นต้นทางในการสร้างประวัติการณ์ใหม่ให้แก่วงการบิน เครื่องบินที่ใช้พลังงานสุริยะลำนี้ต้องการจะพิสูจน์ให้เห็นว่า สามารถบินได้ทั้งกลางวันกลางคืน โดยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะไม่ลดน้อยลงแต่อย่างใด ระหว่างการบินรอบโลกตลอด 5 เดือนข้างหน้า. --- Reuters/Denis Balibouse. |
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2