xs
xsm
sm
md
lg

กัมพูชาเนรเทศครอบครัวชาวเขาลอบข้ามแดนกลับเวียดนาม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายที่ได้รับการเผยแพร่จากกลุ่มสิทธิมนุษยชน ADHOC เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2557 เผยให้เห็นกลุ่มชาวเขา 8 คน พบกับทีมเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติหลังออกจากที่ซ่อนตัวในป่า ชาวเขาจากเวียดนามจำนวนมากได้หลบหนีการกดขี่ข่มเหงมายังฝั่งกัมพูชา และหลบซ่อนตัวอยู่ในป่ารอการช่วยเหลือจากสหประชาชาติเพื่อขอลี้ภัย แต่มีบางส่วนที่เจ้าหน้าที่กัมพูชาจับตัวได้ และล่าสุดทางการกัมพูชาได้ส่งตัวกลุ่มชาวเขา 5 คน ที่ลอบข้ามแดนกลับไปยังเวียดนาม.-- Agence France-Presse/ADHOC.</font></b>

เอเอฟพี - ครอบครัวชาวเขาลี้ภัยถูกส่งตัวกลับเวียดนามในสัปดาห์นี้ หลังถูกจับจากที่ซ่อนในป่าของกัมพูชา นักเคลื่อนไหวเผยวันนี้ (5)

ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนาม 5 คน ได้ลอบข้ามแดนมายังฝั่งกัมพูชาเมื่อกลางเดือน ม.ค. ตามรอยชาวเขาคนอื่นๆ ที่พยายามหาที่หลบภัยในช่วงไม่กี่เดือนมานี้

ครอบครัวชาวเขาที่ถูกเนรเทศถูกเจ้าหน้าที่กัมพูชาจับตัวได้เมื่อวันอาทิตย์ (1) ในป่าห่างไกลของ จ.รัตนะคีรี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นักเคลื่อนไหวจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาระบุ

“พวกเขาถูกส่งตัวกลับเวียดนาม” ชาย ธี นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน กล่าว

เจ้าหน้าที่ของ จ.รัตนะคีรี ยืนยันว่า กลุ่มชาวเวียดนามถูกเนรเทศกลับประเทศแล้ว แต่ปฏิเสธว่ากลุ่มคนดังกล่าวเป็นชาวเขา

“คนกลุ่มนี้ข้ามแดนเข้ามาในแผ่นดินกัมพูชาอย่างผิดกฎหมาย เพื่อหักร้างถางพงทำการเกษตร ดังนั้น เจ้หาน้าที่ของเราจึงได้จับกุมตัว และเนรเทศกลับเวียดนาม” โฆษกจังหวัดรัตนะคีรี กล่าว

แต่หน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่งว่าครอบครัวที่ถูกส่งกลับไปเวียดนามยังไม่มีโอกาสที่จะได้ยื่นคำร้องขอลี้ภัย

“การกลับไปโดยไม่ได้ตั้งใจของบุคคลยังดินแดนที่ชีวิต หรือเสรีภาพของคนเหล่านั้นอาจตกอยู่ในอันตราย เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ” วิเวียน ตัน โฆษกหญิงประจำภูมิภาค กล่าว

ชาย ธี กล่าวว่า ยังมีชาวเขาอย่างน้อย 27 คน ซ่อนตัวอยู่ในป่าของกัมพูชารอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ และด้วยความช่วยเหลือของสหประชาชาติ ชาวเขาบางส่วนได้จัดการยื่นคำร้องขอลี้ภัย แต่ยังมีอีกหลายคนที่กังวลต่อการเข้ามาติดต่อกับเจ้าหน้าที่กัมพูชา ด้วยเกรงว่าจะถูกส่งตัวกลับ เนื่องจากทางการเวียดนามักร้องขอให้กัมพูชาส่งตัวผู้ที่หลบหนี

ในปี 2544 กองกำลังทหารของเวียดนามเข้าปราบปรามการชุมนุมประท้วงในเขตที่ราบสูงภาคกลาง ที่ทำให้ชาวเขาจำนวนมากอพยพออกจากพื้นที่ และในปี 2554 ชาวม้งหลายพันคนรวมตัวกันในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เพื่อรอการมาถึงของพระผู้ช่วยให้รอด ซึ่งการรวมตัวครั้งนั้นถูกทางการเข้าสลาย หลายสิบถูกจำคุกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งทางการเวียดนามอ้างว่า เป็นแผนของผู้สนับสนุนการแบ่งแยกที่ต้องการจะโค่นล้มรัฐบาล.
กำลังโหลดความคิดเห็น