xs
xsm
sm
md
lg

ปีนี้จับบึกน้อยได้มากมายเป็นประวัติการณ์ในเวียดนาม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>บึกน้อยเคราะห์ร้ายนับร้อยๆ ตัวไปติดอวนลากในเวียดนาม ปลาพันธุ์ท้องถิ่นประจำแม่น้ำโขงเริ่มหาได้ยากทางตอนเหนือของลำน้ำขึ้นไป แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้กลับไปปรากฏให้เห็นจำนวนมากมายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็ก ในเขตที่ราบปากแมน้ำทางตอนใต้สุดของเวียดนาม. -- ภาพ: อานซยางออนไลน์. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ในขณะที่ปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ประจำท้องถิ่นในแม่น้ำโขงเริ่้มหายาก และมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ ทางตอนบนของลำน้ำ สำหรับเวียดนามหลายปีมานี้กลับพบปลายักษ์ชนิดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในเขตที่ราบปากแม่น้ำ สื่อในท้องถิ่นรายงานในสัปดาห์นี้่ว่า ช่วงที่ผ่านมา ราษฎร จ.อานซยาง (An Giang) ที่อยู่ติดชายแดนกัมพูชา จับปลาบึกได้มากมายเป็นประวัติการณ์ เพียงแต่ยังเป็นปลาตัวยังไม่โตเต็มที่เท่านั้น

ราษฎรซึ่งเป็นชาวประมงท้องถิ่นใน อ.เจิวแถ่ง (Chau Thanh) จับปลาบึกขนาดน้ำหนัก 5-7 กิโลกรัมได้นับร้อยตัว ในช่วงหลังปีใหม่ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ และนำส่งตลาดในอำเภอ ซึ่งขายดิบขายดีมาก จำหน่ายได้ราคา กก.ละ 200,000-280,000 ด่ง (8-9 ดอลลาร์) เป็นที่ยินดีกันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย การลากอวนจับปลาบึกในลำน้ำเหิ่ว (Hau) ยังคงดำเนินต่อไปอย่างคึกคัก มีรายงานเรื่องนี้ในอานซยางออนไลน์ เว็บไซต์ยอดนิยมในจังหวัด

นางฝ่ามถิเตวี๊ยตเวิน (Pham Thi Tuyet Van) แม่ค้าในตลาดเจิวแถ่ง บอกต่อเว็บไซต์แห่งนี้ว่า ชาวบ้านนำปลาบึกตัวเขื่องๆ ส่งตลาดมากที่สุดในช่วง 2-3 วันมานี้ ซึ่งมากมายกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา และตลอด 7-8 วันที่ผ่านมา ปลาบึกจากลำน้ำเหิ่วก็ขายดีมาก ได้รับความนิยมมาก นับเป็นฤดูกาลแห่งการจับปลาบึกจริงๆ แบบไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งเธอเองก็ไม่ทราบสาเหตุ

ลำน้ำเหิ่ว เป็นหนึ่งใน 9 สาขาของแม่น้ำโขง ที่แยกออกเป็นหลายทางน้ำไหล ในระบบนิเวศเขตที่ราบปากแม่น้ำอันสลับซับซ้อน ทางตอนใต้สุดของเวียดนาม และอานซยาง ก็เป็นจังหวัดแรกที่แม่น้ำไหลผ่าน มีชายแดนติดกัมพูชา ห่างจากกรุงพนมเปญราว 150 กิโลเมตร และ 190 กม.ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จากนครโฮจิมินห์

หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงเดือน ต.ค.-พ.ย.2543 ราษฎรในละแวกนี้เคย พบปลาบึกขนาดใหญ่จำนวนมากในลำน้ำเหิ่ว ทำให้ทางการต้องเข้าป้องปรามมิให้จับขึ้นจากแม่น้ำ เนื่องจากเป็นปลาที่หายากในท้องถิ่น

ไม่กี่ปีมานี้ ชาวประมงในนครเกิ่นเทอ (Can Tho) ที่อยู่ใต้ลงไปตามลำน้ำสายเดียวกัน และในอีกหลายจังหวัด ได้ จับปลาบึกขนาดใหญ่ขึ้นจากลำน้ำ อีกหลายตัว และเจ้าหน้าที่ทางการได้ขอให้ปล่อยคืนสู่แม่น้ำเช่นกัน

แต่ในขณะที่เวียดนามห้ามปรามมิให้ราษฎรจับปลาบึก ภัตตาคารร้านอาหารหลายแห่ง กลับซื้อปลาขนาดใหญ่ที่จับขึ้นจากแม่น้ำโตนเลสาบ ในกรุงพนมเปญ และ จึงมีการเพาะพันธุ์ และมีฟาร์มเลี้ยงผุดขึ้นมากมาย ในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งในไทย และในกัมพูชา นอกจากนั้น ก็ยังมี การผสมข้ามพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิต และเพื่อการตลาด แต่ยังไม่เคยปรากฏมีฟาร์มเลี้ยงปลายักษ์ชนิดนี้ในเวียดนาม ถึงแม้ว่าจะมีการเพาะเลี้ยงปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน รวมทั้งเลี้ยงเพื่อส่งออกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในตลาดทั่วไปปลาบึกที่เลี้ยงในฟาร์มจะมีราคาถูกกว่าปลาบึกทึ่จับได้จากลำน้ำธรรมชาติ ซึ่งว่ากันว่า เนื้ออร่อยกว่า รสชาติดีกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป.
กำลังโหลดความคิดเห็น