xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มสิทธิมนุษยชนร้อง UN ช่วยเหลือชาวบ้านถูกไล่ที่โครงการเขื่อนในเขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 12 ม.ค. เขื่อนไฟฟ้ารุสสีจรุมกรอม ขนาด 338 เมกะวัตต์ ที่จีนสร้างในจ.เกาะกง เป็นเขื่อนล่าสุดที่เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ผู้นำกัมพูชาระบุว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างเขื่อนมีีน้ำหนักมากว่าประเด็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวทำให้บรรดานักสิ่งแวดล้อมและนักสิทธิมนุษยชนต่างวิตกกังวลและออกมาเรียกร้องให้คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือผู้ที่ถูกไล่ที่ในโครงการก่อสร้างเขื่อนเซซาน 2 เขื่อนอีกแห่งหนึ่งที่รัฐบาลระบุว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2561.--Xinhua/Sovannara.</font></b>

เอเอฟพี - กลุ่มรณรงค์สิทธิมนุษยชนร้องสหประชาชาติในวันนี้ (13) ให้ช่วยเหลือคุ้มครองประชาชนหลายพันคนที่ถูกบังคับไล่ที่ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย เพื่อสร้างเขื่อนที่จีนให้การสนับสนุน มูลค่า 780 ล้านดอลลาร์

คำร้องของกลุ่มสิทธิมนุษยชนมีขึ้นหลังนายกรัฐมนตรีฮุนเซน กล่าวว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากเขื่อนที่สร้างขึ้นหลายแห่งมีน้ำหนักมากกว่าข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศ ที่ประชากรราว 1 ใน 4 ยังคงขาดแคลนไฟฟ้า

ประชาชนราว 5,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองชายขอบ อาจถูกแทนที่ด้วยโครงการเขื่อนเซซาน 2 ขนาด 400 เมกะวัตต์ บนลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ใน จ.สะตึงเตรง ทางภาคเหนือ ตามการระบุของเครือข่าย 3S เพื่อปกป้องแม่น้ำ (3SPN)

“ชาวบ้านถูกกดดัน และข่มขู่ให้เห็นชอบต่อการสำรวจ และแผนตั้งถิ่นฐานใหม่” เครือข่ายระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

“ชีวิตของผู้คนนับพันจะได้รับความเสียหาย และถูกทำลายโดยโครงการนี้ นอกจากนั้น โครงการยังไม่มีความโปร่งใสในการพิจารณาตัดสินใจ และการปรึกษาอย่างแท้จริงต่อชุมชนต่างๆ” ผู้ประสานงาน 3SPN ระบุ

กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มนี้ได้เรียกร้องให้ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ช่วยเหลือป้องกันการละเมิดสิทธิ และระบุว่า เขื่อนจะสร้างความเสียหายต่อจำนวนปลา และกระทบการทำประมงของชุมชนที่อยู่ต่ำลงไปของแม่น้ำโขง

นอกจากสหประชาชาติที่เพิ่งยกประเด็นความวิตกเกี่ยวกับโครงการเขื่อน นักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ ยังร่วมเรียกร้องให้ระงับโครงการเขื่อน เนื่องจากกังวลถึงผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งอาหารของภูมิภาค

แต่รัฐบาลกัมพูชา นำโดยฮุนเซน ได้สนับสนุนโครงการเขื่อนเซซาน 2 ที่คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2561

รายงานระบุว่า เขื่อน 9 แห่งในกัมพูชา ที่หลายแห่งได้รับทุนจากจีน มีกำหนดเปิดใช้ภายในปี 2562 และเมื่อเขื่อนทั้งหมดเข้าสู่ระบบการผลิต รัฐบาลระบุว่าเขื่อนเหล่านี้จะสามารถผลิตพลังงาน 2,045 เมกะวัตต์ รองรับทุกจังหวัดของประเทศ

แต่กัมพูชาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากการอนุญาตให้บริษัทหลายแห่งเข้าหักร้างถางพงพื้นที่ป่าหลายหมื่นหลายแสนไร่ รวมทั้งในเขตคุ้มครอง เพื่อให้กิจการต่างๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นของชาวจีน และเวียดนาม ทำสวนยาง ไร่อ้อย และเขื่อนไฟฟ้า.
กำลังโหลดความคิดเห็น