xs
xsm
sm
md
lg

หม่องหลายร้อยตบเท้าอีกระลอก เรียกร้องทางการปิดเหมืองทองแดงจีน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>พระนำหน้า -- พระสงฆ์จำนวนมากเข้าร่วมการประท้วงเหมืองจีนระลอกใหม่ในวันเสาร์ 28 ธ.ค. ที่บริเวณใกล้กับสถานกงสุลจีน นครมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ หญิงวัย 50 ปีคนหนึ่งเสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ หลังถูกยิงระหว่างการประท้วงคราวก่อนหน้านี้ ราษฎรในพื้นที่กล่าวว่าเหมืองที่บริหารโดยบริษัทจีนเบียดยึดเอาที่ดินของประชาชน และ ได้เข้าขัดขวางมิให้บริษัทจีนขึงรั้วลวดหนามในพื้นที่ขัดแย้งกับราษฎร. --  Agence France-Presse/Si Thu Lwin</b>

ย่างกุ้ง (เอเอฟพี) - ชาวพม่าราว 500 คน รวมทั้งพระสงฆ์หลายสิบรูป ได้ชุมนุมประท้วงใกล้กับสถานกงสุลจีนในเมืองมัณฑะเลย์ ทางตอนกลางของประเทศในวันเสาร์ 27 ธ.ค.นี้ เรียกร้องให้ปิดเหมืองทองแดง ซึ่งได้กลายเป็นแหล่งความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงมาหลายครั้ง นับเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีหญิงคนหนึ่งถูกยิงระหว่างการเดินขบวนประท้วงเหมืองเล็ตปาดอง (Letpadaung) ในมอนยอ (Monywa) ทางทิศตะวันตก เหมืองซึ่งเป็นของบริษัทที่จีนมีหุ้นส่วนอยู่ด้วยถูกกล่าวหาว่า เบียดยึดเอาที่ดินของราษฎร และยังทำให้สภาพแวดล้อมได้รับผลกระทบ

วันจันทร์ที่ผ่านมา นางขิ่นวิน (Khin Win) วัย 50 ปีเศษ เสียชีวิตลงเมื่อตำรวจยิงปืนเข้าใส่ฝูงชน ที่พยายามเข้าขัดขวางบริษัทเหมืองมิให้ก่อสร้างรั้วลวดหนาม ในเขตที่พิพาทกับเกษตรกรชาวนาในท้องถิ่น

เหมืองที่บริหารโดยบริษัทหวันเป่า (Wanbao) จากจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจใหญ่ของกองทัพแห่งหนึ่ง ได้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการพึ่งพาการลงทุนจากจีน เพื่อนบ้านที่ให้การสนับสนุนอันสำคัญแก่ระบอบทหารในอดีต

“พวกเราต้องการความจริงว่า เกิดขึ้นที่เล็ตปาดอง ซึ่งขิ่นวิน ถูกสังหาร เราต้องการให้ทางการได้ดำเนินมาตรการอย่างเหมาะสม” เต็งอองมี้น (Thein Aung Myint) ซึ่งเป็นผู้จัดการประท้วงให้แก่ขบวนการพลังกระแสประชาธิปไตย (Movement for Democracy Current Force) หรือ MDCF กล่าวต่อเอเอฟพี

ที่ผ่านมา มีการประท้วงเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่เกือบจะมีลักษณะเป็นรายวัน ทั้งนนครย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์

“พวกเราไม่ได้ต่อต้านจีน เราเป็นเพื่อนบ้านกัน แต่เรากังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าซึ่งอาจจะได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากความขัดแย้งเกี่ยวกับเหมือง” นายอองมี้น กล่าว

ตำรวจมัณฑะเลย์ได้ยืนยันเกี่ยวกับการประท้วงครั้งล่าสุด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมหลายร้อยคน แต่ไม่มีการจับกุมใดๆ

หวันเป่าเองก็อยากที่จะป้องกันมิให้ปัญหานี้ลุกลามออกไป และได้ออกแถลงแสดงความเสียใจต่อ “การเสียชีวิตอย่างไร้สติ” ของหญิงคนนั้น ซึ่งทำให้รู้สึก “เจ็บปวดและรวดร้าว” ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศจีนได้แสดงความ “เสียใจ” ต่อเหตุการณ์

เหมืองทองแดงเล็ตปาดอง ได้ทำให้เกิดการประท้วงจากราษฎรในพื้นที่มาหลายต่อหลายครั้ง ในเดือน พ.ย.2555 ตำรวจได้ปราบปรามฝูงชนอย่างผิดพลาดโดยใช้ฟอสฟอรัส ทำให้ผู้ประท้วงจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์ได้รับบาดเจ็บเป็นแผลไฟไหม้ การประท้วงครั้งนั้นซึ่งนับว่ารุนแรงที่สุด นับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองโดยระบอบทหารในปี 2554 และทำให้พระสงฆ์ทั่วทั้งประเทศเคลื่อนไหวเตรียมลุกฮือ

เมื่อต้นปีนี้ มีคนงานชาวจีน 2 คน ถูกกลุ่มนักเคลื่อนไหวควบคุมตัวไปจากเหมือง ถึงแม้ว่าจะถูกปล่อยตัวในเวลาต่อมา โดยไม่ได้ถูกทำทารุณใดๆ ก็ตาม

รัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นทหารกึ่งพลเรือน ได้ดำเนินมาตรการปฏิรูปที่กลายเป็นข่าวพาดหัวใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ รวมทั้งการปล่อยนักโทษการเมือง และอนุญาตให้นางอองซานซูจีผู้นำฝ่ายค้านเข้าสู่สภาได้ แต่ความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินในประเทศที่รุ่มรวยด้วยทรัพยากรนี้ นับวันทำให้เกิดความท้าทายอย่างใหญ่หลวง

บริษัทหวันเป่า แถลงเมื่อวันจันทร์ว่า พม่าจะได้รับเงินปีละ 140 ล้านดอลลาร์ ในรูปของการจ่ายภาษีจากโครงการนี้ ในเดือน ก.ค.2556 พม่าได้ทบทวนสัญญาการลงทุนของวานเป่า เพื่อให้เจ้าของประเทศเข้าร่วมรับผลกำไรด้วย ในความพยายามที่จะผ่อนคลายความไม่พอใจของสาธารณชน.
.
<bR><FONT color=#00003>ผู้ประท้วงตะโกนคำขวัญ ขณะเดินขบวนใกล้กับสถานกงสุลใหญ่จีน นครมัณฑะเลย์ ในวันเสาร์ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา เรียกร้องให้ทางการปิดเหมืองที่เป็นปัญหานี้. -- Agence France-Presse/Si Thu Lwin</b>
2
<bR><FONT color=#00003>ตำรวจยืนเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่แนวกั้น ขณะผู้ประท้วงเดินขบวนใกล้สถานกงสุลใกหญ่จีนในนครมัณฑะเลย์ วันเสาร์ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา เรียกร้องให้ทางการพม่าปิดเหมืองทองแดง ที่บริหารโดยบริษัทจีน ซึ่งมีปัญหากับราษฎรในพื้นที่มาเป็นเวลาข้ามปี. -- Agence France-Presse/Si Thu Lwin</b>
3
กำลังโหลดความคิดเห็น