xs
xsm
sm
md
lg

ภาพชุด .. ย้อนกลับไปดูลาวประกอบพิธีปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่หอพระแก้วมรกต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>วันที่ 5 ธ.ค.2557 วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 1 นายบุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศ ได้ลั่นฆ้อง 9 ครั้งเป็นศิริมงคลในพิธีเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์หอพระแก้วเวียงจันทน์ ติดตามด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 45 รูปในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นเพียงครั้งที่ 3 นับตั้งแต่พระเจ้าอนุวงที่ทรงฟื้นฟูขึ้นใหม่ ก่อนจะถูกเผาทำลายอีกครั้งเมื่อ 200 ปีก่อน และ สร้างขึ้นใหม่เป็นครั้งที่สองเมื่อ 70 ปีที่แล้ว การบูรณะครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดใน 70 ปี เป็นมูลค่าราว 30 ล้านบาท. -- ภาพ: กองทัพประชาชน. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - หลังจากใช้เวลาเตรียมการมากว่า 1 ปี ทางการคอมมิวนิสต์ลาวได้เริ่มการบูรณะ และปฏิสังขรณ์สถานที่ที่เคยเป็นวัดเก่าแก่ อันเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต โดยประกอบพิธีขึ้นปลายสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งจะเป็นการซ่อมแซมครั้งที่ 3 สำหรับ “หอพระแก้ว” แห่งนี้ และนับเป็นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี เป็นการเริ่มต้นกระบวนการยาวนานที่จะดำเนินไปเป็นเวลาประมาณ 1 ปี เพื่อให้แล้วเสร็จทันกำหนดสองงานสำคัญ ซึ่งรวมทั้งการฉลองครบรอบปีที่ 40 การก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปลายปีหน้า

การประกอบพิธีจัดขึ้นติดต่อกัน 2 วัน ระหว่างวันที่ 5-6 ธ.ค.2557 โดยนายบุนยัง วอละจิต กรมการเมืองพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และรองประธานประเทศ เป็นประธานพิธีในวันแรก ผู้เข้าร่วมพิธียังประกอบด้วย นายพันคำ วิพาวัน กรมการเมือง รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีศึกษาธิการและกีฬา ซึ่งเป็น “ผู้ชี้นำงานด้านวัฒนธรรมและสังคม” พร้อมด้วยเจ้าครอง หรือผู้ว่าราชการนครเวียงจันทน์ บรรดารัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงอื่นๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก สื่อของทางการรายงานสัปดาห์นี้

ดร.พันคำ ได้เป็นผู้กล่าวเปิดพิธีอย่างเป็นทางการ ก่อนเชิญประธานพิธีลั่นฆ้อง จำนวน 9 ครั้ง เป็นสิริมงคล และถือเป็นการเริ่มต้นกระบวนการอันยาวนานที่จะต้องใช้เงินงบประมาณ กับเงินบริจาคจากแหล่งต่างๆ มหาศาลต่อการระดมสรรพกำลังผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวรกรรม สถาปัตยกรรม รวมทั้งด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี และวัฒนธรรมอีกด้วย

ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว ทางการได้เลือกเอาวันที่ 5 และ 6 ธ.ค. เป็นศุภมงคล ในการประกอบพิธีอันสำคัญนี้ เนื่องจากเป็นวันขึ้น 14 และ 15 ค่ำ เดือน 1 ของปี ตามปฏิทินที่ยึดถือกันมาแต่โบราณกาล คณะกรรมการที่รับผิดชอบดำเนินการปฏิสังขรณ์ ที่มีรองผู้วาราชการนครเวียงจันทน์คนหนึ่งเป็นประธาน ได้จัดตั้งกองอัฏฐะขึ้น จำนวน 9 กอง จาก 9 ตัวเมืองของนคร และจัดมหรสพสมโภชตลอดคืนตามประเพณีนิยม ในวันรุ่งขึ้นได้มีการทำบุญตักบาตรภายในบริเวณ “หอพระแก้ว” โดยนิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 45 รูป ดร.พันคำ เป็นประธานพิธีทำบุญใส่บาตรครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่ระดับสูง และประชาชนชาวเมืองหลวงเข้าร่วมอย่างคับคั่ง

พระแก้วมรกต ไม่ได้ประดิษฐาน ณ สาถานที่แห่งนี้มานานกว่า 200 ปีแล้ว และไม่ได้มีสภาพเป็นวัดมานานหลายสิบปี หากกลายเป็น “หอพิพิธภัณฑ์” ที่ใช้เก็บ และวางแสดงพระพุทธรูปเก่าแก่สวยงาม กับโบราณวัตถุล้ำค่าอื่นๆ จำนวนมาก ปัจจุบันได้เป็นหนึ่งในสามปลายทางท่องเที่ยวยอดนิยมของเมืองหลวง คู่กับพระธาตุหลวง ซึ่งเป็นพระเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง กับพิพิธภัณฑ์วัดสีสะเกษ วัดเก่าแก่ที่อยู่คนละฝั่งถนนกันกับหอพระแก้ว และเป็นวัดเก่าเพียงแห่งเดียวที่รอดพ้นจากการเผาทำลายของข้าศึกเมื่อ 200 ปีก่อน

นายสายทอง แก้วดวงดี รองเจ้าคอรงนครเวียงจันทน์ ประธานคณะทำงานฟื้นฟูบูรณะกล่าวว่า หอพระแก้วในปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมหนัก การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้จะรักษารูปทรงดั้งเดิมเอาไว้ แต่จะมีการรื้อถอนเพื่อเปลี่ยนส่วนที่หักพังทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ การบูรณะตัวอาคารทั้งหมด เปลี่ยนหลังคาที่ผุพัง และบูรณะระเบียงโดยรอบ ทั้งหมดจะต้องแล้วเสร็จก่อนการเฉลิมฉลองครบรอบปีสำคัญของประเทศ รวมทั้งครบรอบปีที่ 450 การก่อสร้างหอพระแก้วแห่งนี้อีกด้วย
.
ภาพประกอบทั้งหมดต่อไปนี้โดยสำนักข่าวสารปะเทดลาว/หนังสือพิมพ์ปะเทดลาว.

2

3
หอพระแก้วแห่งนี้ ในอดีตเคยเป็นพระอารามหลวงเก่าแก่คู่ราชบัลลังก์ของอดีตกษัตริย์ล้านช้างหลายพระองค์ เป็นมรดกทางด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งชาติ ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2108 ในรัชสมัยพระเจ้าไซเสดถาทิลาด (ปลายรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา) และ “ถูกทำลายจากพวกศักดินาต่างด้าวมาหลายครั้ง” การฟื้นฟูบูรณะครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 3 หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่รายงาน

ทางการลาวประกาศเมื่อเดือน ก.ค.2556 เกี่ยวกับแผนการฟื้นฟูบูรณะหอพระแก้ว ซึ่งจะต้องใช้เงินงบประมาณราว 7,000 ล้านกีบ หรือเกือบ 30 ล้านบาท และจะเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ในรอบ 70 ปี โดยจะใช้เงินงบประมาณของรัฐส่วนหนึ่ง เงินบริจาคจากสาธารณชน ทั้งภายในและต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศ ซึ่ง “ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอ” ลาวยังเปิดให้พุทธศาสนิกชนในประเทศต่างๆ เข้ามีส่วนร่วมในการบริจาคครั้งนี้ด้วย

ตามประวัติศาสตร์ของฝ่ายลาวนั้น พระแก้วมรกต ประดิษฐานอยู่ในเวียงจันทน์เป็นเวลากว่า 200 ปี นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าไซเสดถาทิลาด (ไชยเชษฐาธิราช) มีพระราชประสงค์ให้สร้างวัดขึ้นมา เพื่อให้เป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่ทรงอัญเชิญไปจากนครเชียงใหม่ (ล้านนา) เมื่อต้องเสด็จฯ กลับไปครองนครจันทะบูลีศรีสตนาคนหุต

แต่ก็เป็นเวลากว่า 230 ปีมาแล้ว ที่ภายในหอพระแก้วเหลือเพียงแท่นประดิษฐาน ส่วนองค์พระได้ถูกอัญเชิญไปประทับที่กรุงธนบุรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
.


4

5
.

กองทัพราชอาณาจักรสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปจากเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ.2322 และ ทรงประดิษฐานที่วัดแห่งหนึ่งใกล้กับวัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรีเป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่

ประวัติศาสตร์ของลาวยังระบุด้วยว่า วัดพระแก้วเวียงจันทน์ ถูกกองทัพสยามเผาทำลายถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และครั้งหลังในสงครามปี พ.ศ.2371-2372 ที่นักประวัติศาสตร์ฝ่ายสยามเรียกว่า “สงครามปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์” ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาเจษฎาราชเจ้า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3

หลังถูกเผาทำลายในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าอนุวงศ์ได้ทรงให้ก่อสร้างวัดพระแก้วขึ้นใหม่เป็นครั้งแรกเมื่อเสด็จกลับจากกรุงเทพฯ ไปครองกรุงเวียงจันทน์ ก่อนจะถูกเผาทำลายอีกครั้งหนึ่งในเวลาต่อมา ภาพที่บันทึกเอาไว้โดยชาวฝรั่งเศสในอีกกว่า 100 ปีถัดมา แสดงให้เห็นวัดพระแก้วกลายเป็นเพียงซากที่เหลือจากไฟไหม้ เสาสีดำตั้งโด่อยู่บนฐานรากที่เป็นเถ้าถ่าน

การก่อสร้างขึ้นใหม่ (ครั้งที่ 3) ดำเนินการโดยผู้ปกครองชาวฝรั่งเศส ระหว่างปี พ.ศ.2479-2485 ในยุคที่ลาวเป็นดินแดนอาณานิคมภายใต้การกำกับดูแลของเสด็จฯ เจ้าสุวันนะพูมา ที่ทรงสำเร็จการศึกษาสาขาวิศกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส และต่อมา ทรงเป็นนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรลาวเป็นเวลาสั้นๆ หลังได้รับเอกราช

หลังจากนั้น วัดพระแก้วได้ตกอยู่ในสภาพขาดการเอาใจใส่เป็นเวลาหลายสิบปี เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองภายใน และประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม จนกระทั่งมีการบูรณะอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.2536 โดยทางการลาวยุคใหม่ ซึ่งอยู่ต่อมาในสภาพที่เห็นปัจจุบัน.
บุญพระธาตุหลวงปีนี้มีข้อห้ามยุบยับ และห้ามเมา เดินเซจะถูก “นำตัวไปพักผ่อน”
บุญพระธาตุหลวงปีนี้มีข้อห้ามยุบยับ และห้ามเมา เดินเซจะถูก “นำตัวไปพักผ่อน”
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- งานนมัสการพระธาตุหลวง ที่เรียกกันทั่วไปว่า บุญพระธาตุหลวง ประจำปี 2557 กำลังจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ 31 ต.ค.นี้ และ เชื่อว่าชาวไทยจำนวนไม่น้อย เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั่วไป จะหลั่งไหลเข้าสู่เมืองหลวงของลาวในช่วงงานที่จะดำเนินไปเป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเต็ม และปีนี้ลาวได้ประกาศจัดงานอย่างเป็นพิเศษ เนื่องในโอกาสครบรอบ 448 ปี การก่อตั้งพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ทางการนครเวียงจันทน์ได้ประกาศ ข้อห้าม ออกมามากหมายหลายเรื่อง ทั้งห้ามพ่อค้าแม่ขาย และห้ามบุคคลทั่วไปด้วย ซึ่งผู้ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย
กำลังโหลดความคิดเห็น