xs
xsm
sm
md
lg

บุญพระธาตุหลวงปีนี้มีข้อห้ามยุบยับ และห้ามเมา เดินเซจะถูก “นำตัวไปพักผ่อน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>บุญนมัสการพระธาตุหลวง มีทั้งกลางวันและกลางคืนยันสว่างทุกคืน งานจะเข้าสู่ช่วงไฮไล้ท์วันที่ 4-6 พ.ย. งานประจำปีที่ชาวลาวต่างรอคอย กำลังจะเปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการวันศุกร์ 31 ต.ค.นี้ และ มีข้อห้ามไม่ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่จำนวนหนึ่ง ทั้งสำหรับบรรดาพ่อค้าแม่ขายและคนทั่วไปด้วย. -- ภาพ: ลาวพัดทะนา. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - งานนมัสการพระธาตุหลวง ที่เรียกกันทั่วไปว่า “บุญพระธาตุหลวง” ประจำปี 2557 กำลังจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ 31 ต.ค.นี้ เชื่อว่าชาวไทยจำนวนไม่น้อย เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั่วไป หลั่งไหลเข้าสู่เมืองหลวงของลาวในช่วงงานที่จะดำเนินไปเป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเต็ม และปีนี้ลาวได้ประกาศจัดอย่างเป็นพิเศษ เนื่องในโอกาสครบรอบ 448 ปี การก่อตั้งพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ทางการนครเวียงจันทน์ได้ประกาศ “ข้อห้าม” ออกมาหลายเรื่อง ทั้งห้ามพ่อค้าแม่ขาย และห้ามบุคคลทั่วไปด้วย ซึ่งผู้ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย

หนังสือพิมพ์ลาวพัดนา ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ของสมาคมนักข่าวแห่งชาติ รายงานว่า แม้ทางการจะไม่ได้ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่ผู้ไปเที่ยวชม หรือไปร่วมงานบุญจะต้อง “ไม่ดื่มสิ่งของมึนเมาเกินขอบเขต หากผู้ใดละเมิดจะถูกเจ้าหน้าที่กล่าวตักเตือน หรือนำตัวไปพักผ่อน” นอกจากนั้น ก็ยังห้ามการทะเลาะวิวาท จนถึงขั้นทำร้ายร่างกายกันในทุกกรณีด้วย นายสายทอง แก้วดวงดี รองเจ้าครองนครเวียงจันทน์ ได้ออกเตือนเกี่ยวกับเรื่องนี้

ทางการเมืองหลวงได้ห้ามจำหน่าย หรือนำอาวุธทุกประเภทเข้าไปในงาน รวมทั้งดาบ ง้าว มีด ธนู หน้าไม้ กระสุนต่างๆ สนับมือ และอื่นๆ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น นอกจากนั้น ยังห้ามจำหน่าย และนำยาเสพติด สารพิษ สารเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาททุกชนิดเข้าไปในงาน ห้ามจุดประทัด และห้ามนำเข้าไปในงานอย่างเด็ดขาด

ทางการยังห้ามนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ทำปลอม หรือลอกเลียนแบบไปวางจำหน่ายในงาน มาตรการเดียวกันนี้ได้ประกาศใช้ในช่วงเทศกาลแข่งเรือที่ผ่านมา โดยเน้นไปที่เครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้านุ่งสตรี ซึ่งให้จำหน่ายได้เฉพาะผ้าซิ่นลาวแท้ๆ ที่ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ และยังห้ามจำหน่ายสินค้าเครื่องนุ่งห่มที่นำเข้า เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในลาว

คำสั่งยังได้ห้ามนำจำหน่าย หรือนำเอาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่ลามกอนาจร และเสื่อมทราม เข้าไปในงาน ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด และบรรดานักแสดงตามจุดต่างๆ ภายในงานจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยมของชาวลาวอีกด้วย

ตามรายงานของสื่อทางการ งานบุญนมัสการพระธาตุหลวง ปีนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนเหมือนเดิม คือ งานแสดงและจำหน่ายสินค้าหลักๆ จะอยู่ที่ศูนย์ประชุมและแสดงนิทรรศการลาวไอเท็คในย่านชานเมือง ส่วนในบริเวณลานกว้างของพระธาตุหลวง จะเป็นการค้าขายทั่วไปในระดับ “ตลาดนัด” และเมื่อต้นสัปดาห์นี้ บูทจำหน่ายสินค้าถูกจองจนหมดแล้ว

งานแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.เป็นต้นไป ส่วนงานทำบุญนมัสการ จะเริ่มในวันที่ 4 พ.ย. จนกระทั่งไปสิ้นสุดลงในวันที่ 6 ซึ่งชาวเวียงจันทน์นับหมื่นๆ คนจะไปร่วมทำบุญตักรบาตภายในบริเวณพระธาตุหลวง ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้าเป็นต้นไป สำหรับปีนี้เป็นพิเศษ คือ ทางการจัดให้เป็นการตักบาตรโดยเดินรอบๆ องค์พระธาตุ ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ภาคบ่ายวันเดียวกัน จะมีพิธีแห่ปราสาทขี้ผึ้ง ซึ่งทุกๆ ปีจะมีผู้เข้าร่วมขบวนยาวเหยียด รวมทั้งขบวนการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ ด้วย สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานก่อนหน้านี้

พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีทั้งบันทึกเป็นศิลาจารึก กับอีกส่วนหนึ่งเป็นตำนานเล่าขาน นักประวัติศาสตร์ลาวได้อ้างบันทึกของนักการทูตว่า เมื่อปี 2184 ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทูตการค้าชาวฮอลันดาได้ไปยังนครเวียงจันทน์ และบันทึกเอาไว้ว่า พระธาตุหลวง “เป็นพระธาตุใหญ่ที่สวยงามที่สุด ประดับประดาด้วยแผ่นทอง และมียอดปลายเป็นทองคำที่วิจิตรงดงาม” พระเจ้าสุลิยวงสาทำมิกกะลาด พระเจ้าแผ่นดินแห่งล้านช้าง-เวียงจันทน์ ทรงเป็นประธานในงานบุญประจำปี และทรงใช้บริเวณลานพระธาตุหลวงเป็นสถานที่ต้อนรับคณะทูตชาวฮอลันดา

กรุงเวียงจันทน์ รุ่งเรืองต่อมาอีกกว่า 170 ปี ก่อนอาณาจักรสยามจะส่งกองทัพเข้ารุกราน จนสามารถยึดครองได้ในปี พ.ศ.2362 ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 เมืองศูนย์กลางของราชอาณาจักรล้านช้าง-เวียงจันทน์ ได้กลายเป็นเมืองร้าง พระธาตุหลวงถูกปล่อยร้างต่อมาอีก 80 ปี “มองดูหมองเศร้า หลายส่วนขององค์พระธาตุได้หักพังลง” และโจรขโมยบุกเข้างัดแงะทำลายจนเสียหาย นำเอาสิ่งของล้ำค่าทั้งเงิน และทองไปจนหมด

จนกระทั่งปี พ.ศ.2443 ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุหลวงเป็นครั้งแรก มีการก่อสร้างยอดพระธาตุขึ้นใหม่ ตามบัญชาของข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำลาว แต่พระธาตุหลวง ออกมาเป็นรูปทรงศิลปะตะวันตก และประชาชนลาวไม่พึงพอใจ สื่อของทางการกล่าว

อีก 30 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2473 จึงได้มีการบูรณะก่อสร้างใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยนายช่างชาวฝรั่งเศส คราวนี้ชาวลาวได้เสนอให้เปลี่ยนแปลงยอดพระธาตุเสียใหม่เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เป็นไปตามศิลปวัฒนธรรมของชนชาติ แต่องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ สามารถบูรณะให้กลับคืนเหมือนของเดิมได้ทั้งหมด เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชองลาวสืบต่อมา.
กำลังโหลดความคิดเห็น