xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามเปิดประตูกว้างรับเรือรบรัสเซียเข้าจอดฐานทัพอ่าวกามแรง ยันจีนในทะเลจีนใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>บริเวณฐานทัพภายในอ่าวกามแรง (Cam Ranh) ในภาคกลางเวียดนาม ในภาพที่ไม่ได้ระบุวันถ่าย แต่ที่นี่ไม่ได้มีความลับอะไรอีก ปัจจุบันฐานทัพเรือแห่งนี้ เป็นที่จอดเรือรบทันสมัยที่สุด 2 ลำ กับ เรือดำน้ำที่ได้รับมอบจากรัสเซียอีก 2 ลำ ปลายปีที่แล้วและต้นปีนี้ สำนักข่าวทางการรัสเซียรายงานว่า ได้มีการเซ็นความตกลงกันฉบับหนึ่งสัปดาห์ที่แล้ว เวียดนามอนุญาตให้เรือรบรัสเซียเข้าไปจอดในอ่าวแห่งนี้ได้ทุกเมื่อ.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เวียดนามได้ยืดหยุ่นให้เรือรบของรัสเซียเข้าจอดในอ่างกามแรง (Cam Ranh) ได้อย่างสะดวกมากขึ้น โดยไม่ต้องจัดทำเอกสารแจ้งขออนุญาตล่วงหน้าในระดับรัฐบาล เพียงแต่แจ้งไปยังทางการระดับท้องถิ่น อันเป็นที่ตั้งฐานทัพใหญ่ของอดีตสหภาพโซเวียตในภูมิภาคนี้เท่านั้น 2 ฝ่ายได้เซ็นความตกลงนี้ร่วมกันระหว่างการเดินทางเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของนายเหวียนฟุจ่อมง์ เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวทาสส์ (ITAR TASS) ของทางการเปิดเผยเรื่องนี้โดยอ้างแหล่งข่าว

ทาสส์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ 2 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้เซ็นเอกสารความมตกลงฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2557 ที่เมืองโซชิ (Soshi) ภายหลังการพบเจรจากันระหว่างประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน กับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ซึ่งทำให้เวียดนามเป็นปลายทางแห่งที่ 2 ถัดจากซีเรีย ที่เรือรบของรัสเซียสามารถแวะเข้าจอดเพื่อการซ่อมบำรุง และให้ทหารได้ขึ้นบกเพื่อพักผ่อนได้

2 ผู้นำยังได้ร่วมกันลงนามในคำแถลงร่วมฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการกระชับความสัมพันธ์กับความร่วมมือในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันต่อไปอีกด้วย

สำนักข่าวทาสส์รายงานด้วยว่า ในเดือน ส.ค.2556 ระหว่างการเยือนของ พล.อ.ฝุ่งกวางแทง (Phung Quang Thanh) รัฐมนตรีกลาโหมเวียดนาม ฝ่ายรัสเซียได้แจ้งความประสงค์ขอให้เวียดนามผ่อนปรนกฎระเบียบการใช้ฐานทัพอ่าวกามแรง เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว โดยไม่ต้องดำเนินการทางเอกสารใดๆ ล่วงหน้า

อ่าวกามแรง (คัมราน?) เป็นฐานทัพยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในภาคกลางเวียดนาม เป็นที่ใช้จอดประจำของเรือฟริเกตชั้นเกพาร์ด 3.9 (Gaphard 3.9-Class) ที่เวียดนามซื้อจากรัสเซียทั้ง 2 ลำ เรือดำน้ำชั้นคิโล (Kilo-Class) 2 ลำแรกที่ได้รับมอบจากรัสเซียปลายปีที่แล้วกับต้นปีนี้ ก็จอดประจำที่ฐานทัพแห่งนี้

ยังไม่ทราบในระเอียดเกี่ยวกับความตกลงของ 2 ฝ่ายในครั้งล่าสุด และไม่เป็นที่ชัดเจนในขณะนี้ว่า เวียดนามได้อนุญาตให้เครื่องบินรบ หรือเครื่องบินตรวจการรณ์ระยะไกลของรัสเซีย สามารถลงจอด และเข้าใช้บริการต่างๆ ที่ฐานทัพอากาศอ่าวกามแรงด้วยหรือไม่

เมื่อปี 2522 หลังสงครามเวียดนามยุติลง รัสเซียเมื่อครั้งยังเป็นสหภาพโซเวียต ได้เซ็นสัญญาเช่าฐานทัพกามแรงเป็นเวลา 25 ปี กลายเป็นฐานทัพนอกประเทศใหญ่ที่สุดของค่ายคอมมิวนิสต์ยักษ์ใหญ่ ที่นั่นได้กลายเป็นที่ตั้งกองกำลังส่วนหน้าของกองกำลังแปซิฟิกแห่งสหภาพโซเวียต ฐานทัพอากาศที่สหรัฐฯ สร้างไว้บนบก ก็ถูกใช้เป็นฐานทัพอากาศของโซเวียตเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ยังใช้เป็นฐานดักฟัง และสังเกตความเคลื่อนไหวต่างๆ ของฐานทัพเรืองสหรัฐฯ ที่โอลองกาโป (Olongapo) อ่าวซูบิค (Subic) ในฟิลิปปินส์อีกด้วย

ในทศวรรษที่ 1980 กามแรง ได้กลายเป็นฐานทัพเรือ และฐานทัพอากาศนอกประเทศทันสมัยที่สุด ใหญ่ที่สุดของโซเวียต แต่ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรใหญ่ รัสเซียในยุคใหม่ได้ขอยกเลิกการเช่าฐานทัพกามแรงก่อนสัญญาจะหมดอายุลง โดยระบุว่า ไม่มีความจำเป็นอีก และไม่ประสงค์ที่จะจ่ายค่าเช่าที่คิดเป็นเงิน 200 ล้านดอลลาร์ต่อปีอีกต่อไป นักยุทธศาสตร์รัสเซียหลายคนกล่าวในเวลาต่อมาว่า เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งใหญ่

เดือน ต.ค.ปีนี้ สื่อจีนได้ตีพิมพ์เผยแพร่ภาพเกี่ยวกับฐานทัพกามแรง ซึ่งแสดงใหเห็นที่ตั้งสำคัญต่างๆ ภายในบริเวณอ่าว รวมทั้งเรือรบกับเรือดำน้ำ ซึ่งเป็นกำลังรบทันสมัยที่สุดของเวียดนามในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน จีนก็ได้เริ่มถมที่เกาะปะการัง 2-3 แห่งในทะเลจีนใต้ ที่จีนกล่าวอ้างความเป็นเจ้าของ และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จีนก็อาจจะใช้เป็นฐานทัพอากาศ ซึ่งจะทำให้อ่าวกามแรงอยู่ในรัศมีการโจมตี
.

2
<bR><FONT color=#00003>แผนที่กูเกิ้ลเอิร์ธแสดงที่ตั้งของอ่าวกามแรง ยุทธภูมิดีที่สุดในย่านนี้ สหรัฐสร้างฐานทัพเรือกับฐานทัพอากาศขึ้นที่นั่น และได้ใช้ตลอดช่วงสงครามเวียดนาม ต่อมาปี 2522 หลัง สงครามร้อน ยุติลง แต่สงครามเย็นยังอยู่ สหภาพโซเวียตในอดีตได้เซ็นสัญญาเช่า 25 ปี กลายฐานทัพนอกประเทศใหญ่ที่สุดของ อดีตพี่เบิ้มค่ายคอมมิวนิสต์ วันนี้รัสเซียกำลังจะกลับไปใช้ที่นั่นอีก แม้จะไม่ได้เป็นฐานทัพอีกแล้วก็ตาม.   </b>
2
เวียดนามมีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์อันขมขื่นกับจีนมาหลายครั้งในหลายยุค ซึ่งรวมทั้งเมื่อปี 2517 ในขณะที่สงครามเวียดนามเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย จีนได้ส่งทหารเข้ายึดเกาะพาราเซล ที่เป็นของรัฐบาลเวียดนามใต้ในอดีต และในต้นปี 2522 ซึ่งในขณะนั้นโซเวียตยังไม่ได้เข้าใช้ฐานทัพกามแรง ก็ได้เกิดสงครามพรมแดนระหว่าง 2 ประเทศขึ้น หลังจากเวียดนามส่งกองทัพบุกเข้าขับไล่ระบอบเขมรแดง กับพรรคคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนในกัมพูชา

จีนเรียกว่า “สงครามสั่งสอน” เวียดนาม หลายฝ่ายเรียกเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า “สงคราม 45 วัน” ซึ่งจีนได้ส่งทหารบุกข้ามพรมแดนเข้ายึดเมืองชายแดนของเวียดนาม 2-3 แห่ง เอาไว้เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะถอนกำลังกลับ ทั้ง 2 ฝ่ายต่างสูญเสียทหารนับหมื่นคน

ปี 2531 จีนได้ส่งเรือรบเข้าโจมตีเกาะแห่งหนึ่งในหมู่เกาะสแปร์ตลีย์ (หรือเกาะเจื่องซา) ของเวียดนาม ทำให้เรือลำเลียงพลลำหนึ่งถูกยิงเสียหายอย่างหนัก และจมลง ทหารเวียดนามเสียชีวิตกว่า 30 คน ในเหตุการณ์สู้รบดังกล่าว ซึ่งได้ทำให้ความบาดหมางระหว่าง 2 เพื่อนบ้านคอมมิวนิสต์บาดลึกลงไปอีก ก่อนทั้ง 2 ฝ่ายจะหันมาเจรจาเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกัน หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต อันเป็นเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนถึงประเทศคอมมิวนิสต์ในทั่วโลก

หลายปีมานี้่ รัสเซียได้เพียรพยายามเจรจากับเวียดนามทั้งที่ออกหน้า และการเจรจาหลังฉาก เพื่อขอกลับไปใช้ฐานทัพเก่าแห่งนี้ ฝ่ายเวียดนามได้ออกแถลงอย่างเปิดเผยว่า รัฐธรรมนูญของประเทศไม่อนุญาตให้สามารถทำเช่นนั้นได้ แต่การแวะเวียนไปใช้บริการเป็นการชั่วคราวสามารถกระทำได้ ซึ่งหลายปีมานี้่ เวียดนามได้อนุญาตให้เรือที่ไม่ใช่เรือรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ สามารถแวะเข้าไปจอด และใช้บริการต่างๆ ในอ่าวกามแรงได้เช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน สนามบินอ่าวกามแรงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของกองท่ัพอากาศ อีกส่วนเป็นสนามบินนานาชาติ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สำคัญในภาคกลางเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นปลายทางสำคัญในการเดินทางต่อไปยังเมืองญาจาง (NHa Trang) แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลยอดนิยมแห่งหนึ่ง ที่อยู่เหนือขึ้นไป ใน จ.แค้งหว่า (Khanh Hoa)

การตัดสินใจของเวียดนามให้เรือรบของรัสเซียเข้าใช้ฐานทัพสำคัญแห่งนั้นได้อย่างสะดวก ถูกมองเป็นอีกมาตรการหนึ่งในความพยายามหยุดยั้ง “การข่มขู่คุกคาม” กับ “การก้าวร้าว” ของเพื่อนบ้านคอมมิวนิสต์ยักษ์ใหญ่ทางเหนือ.
กำลังโหลดความคิดเห็น