xs
xsm
sm
md
lg

เป็นที่เลื่องลือ เรือดำน้ำเสือเหลืองยิง “เฮฟวี่เวตตอร์ปิโด” เข้าเป้าเจ๋งเป้งในน่านน้ำพิพาททะเลจีนใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

.

เหตุการณ์วันที่ 31 ต.ค.2557 เรือตุนอับดุลราซัค (KD Tun Abdul Razak) ยิง “เฮฟวี่เวตตอร์ปิโด” ขนาด 533 มม. ในน่านน้ำนอกชายฝั่งโกตากินาบาลู ในเขตหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ ซึ่งไม่กี่ปีมานี้ได้กลายเป็นดินแดนพิพาทกับจีน ราชนาวีมาเลเซีย กล่าวว่า เป็นการยิงตอร์ปิโดจากเรือดำน้ครั้งแรกในย่านนี้ ในรอบหลายสิบปี. .


ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองทัพเรือมาเลเซีย ได้ทดลองยิงตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำลำหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ ในบริเวณน่านน้ำพิพาททะเลจีนใต้ของมาเลเซีย ซึ่งได้กลายเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งในภูมิภาคพูดถึงมากที่สุดตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นอุบัติการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบหลายสิบปี และกลายเป็นการทดลองยิงตอร์ปิโดจากเรือลำน้ำลำแรกในภูมิภาค หลายเสียงกล่าวว่า เหตุการณ์นี้เป็นการพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งว่า เรือดำน้ำของมาเลเซียใช้รบได้จริง

การทดลองครั้งนี้จัดขึ้นในน่านน้ำนอกชายฝั่งเมืองโกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) เมืองเอกของรัฐซาบาห์ ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันออกสุดของประเทศ โดยยิงจากเรือตุนอับดัลราซัค (KD Tun Abdul Razak) ที่ดำอยู่ในจุดพิกัดกับความลึกกำหนดเอาไว้ล่วงหน้า และใช้เรือเฟอร์รีที่ปลดระวางประจำการแล้วลำหนึ่งเป็นเป้า ตอร์ปิโด “แบล็กชาร์ก” (Black Shark) หรือ “ฉลามดำ” ที่ผลิตในอิตาลี พุ่งเข้าเป้าอย่างแม่นยำ เมื่อเวลา 11.13 น. วันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานเรื่องนี้ในเว็บไซต์ของราชนาวีมาเลเซีย

เว็บไซต์แห่งนี้ได้นำวิดีโอคลิปเหตุการณ์ความยาว 30 วินาที ออกเผยแพร่ในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นเรือเป้าหมายโดนตอร์ปิโดเข้าตรงๆ เกิดระเบิดรุนแรง และเรือได้จมลงที่ตรงจุดนั้น บรรดาผู้สนใจข่าวสารด้านการกลาโหม ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษในประเด็นเกี่ยวกับสถานที่ที่ราชนาวีมาเลเซียใช้ทดลองยิงตอร์ปิโดในครั้งนี้ อยู่ไม่ไกลจากอาณาบริเวณซึ่งเมื่อปีที่แล้วสื่อจีนเคยประกาศว่า ได้ส่งเรือรบกับเรือยกพลขึ้นบกเข้าไปฝึกซ้อมทางทะเล ซึ่งที่นั่นเป็นพื้นที่มาเลเซียครอบครองตลอดมาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล แต่จีนประกาศให้เป็นเขตน่านน้ำของตนใน “แผนที่ลิ้นวัว” ที่จัดทำขึ้นไม่กี่ปีมานี้

อย่างไรก็ตาม มาลเซียประกาศในภายหลังว่า ไม่เคยมีเรือจีนเข้าไปฝึกซ้อมอยู่ในอาณาบริเวณแห่งนั้น

จีนประกาศเป็นเจ้าของน่านน้ำเกือบ 90% ของทะเลจีนใต้ทั้งหมด ทำให้เกิดการพิพาทกับอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กับบรูไน รวมทั้งไต้หวันที่อยู่ไกลออกไป

ตามรายงานในเว็บไซต์ เรือตุนอับดุลราซัคได้เข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทะเล ซึ่งประกอบด้วยเรือรบ จำนวน 4 ลำ เรือ CB90 ซึ่งเป็นเรือโจมตีเร็วติดปืน 1 ลำ เรือเมกะบักตี (Meka Bakti) ซึ่งเป็นเรือสนับสนุนเรือดำน้ำ กับเฮลิคอปเตอร์แบบเฟนเน็ก AS 550 ของราชนาวีอีก 1 ลำ โดยตอร์ปิโดแบล็กชาร์กจากเรือตุนอับดุลราซัค พุ่งเข้าใส่เรือเฟอรีเป้าหมายอย่างแม่นยำ และ “การยิงครั้งนี้่นับเป็นครั้งแรกที่มีการทดลองยิงตอร์ปิโดแบล็กชาร์ก นับตั้งแต่ซื้อจากบริษัทไวท์เฮด อาลีเนีย ซิสเต็มมี (Whitehead Alenia Sistemi Subacquei) ประเทศอิตาลี” เว็บไซต์กองทัพเรือระบุชื่อผู้ผลิตซึ่งเป็นบริษัทในเครือฟินเม็กกานิกา (Finmeccanica)

ตามภูมิหลังเหตุการณ์ที่เผยแพร่โดยราชนาวี เมื่อปี 2554 เรือตุนอับดุลเราะห์มาน (KD Tunku Abdul Rahman) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำลำแรกของประเทศ ประสบความสำเร็จในการทดลองยิงจรวดเอ็กโซเซต์ จากความลึก 55 เมตร ในอาณาบริเวณเดียวกันนี้ ครั้งนั้นมีการเผยแพร่วิดีโอคลิป ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการทดลองยิงจรวดนำวิถีทำลายเรือจากเรือดำน้ำลำหนึ่ง ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.

เหตุการณ์ในเดือน เม.ย.2553 เรือตุนกู อับดุล เราะห์มาน (KD Tunku Abdul Rahman) ยิงจรวดเอ็กโซเซ MM40 “บล็อก 3” ในน่านน้ำพิพาทกับจีน และยังเป็นการยิงจรวดนำวิถีจากเรือดำน้ำเป็นครั้งแรกในย่านนี้่เช่นกัน.

.
“ความสำเร็จในการฝึกยิงตอร์ปิโดเป็นการพิสูจน์ความพร้อมในการป้องกันเอกราชอธิปไตยของมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราชนาวีที่ตั้งอยู่ในความมีสติระวังตัวในระดับสูงตลอดเวลา และยังช่วยยกระดับกองทัพเรือ ให้เป็นกองกำลังหนึ่งที่น่าเกรงขามในภูมิภาค”

เว็บไซต์ยังกล่าวอีกว่า การนำเรือดำน้ำเข้าประจำการนั้น ไม่เพียงเป็นการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการทำสงครามของกองเรือราชนาวีเท่านั้น หากยังเป็นการทำให้การป้องกันและการโจมตีสามทางของราชนาวี คือ สงครามใต้ผิวน้ำ สงครามต่อต้านผิวน้ำ และสงครามทางอากาศ ครบถ้วนสมบูรณ์อีกด้วย

เรือของราชนาวีที่เข้าร่วมการฝึกซ้อมในวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย เรือเจบัต (KD Jebat) ซึ่งเป็นเรือฟริเกตติดจรวดนำวิถีชั้นเลกิว (Lekiu-class) เรือตรังกานู (KD Terengganu) เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (Off-shore Patrol Vehicle) ติดปืน ชั้นเคดะห์ (Kedah-class) เรือคัสตูรี (KD Kasturi) เป็นเรือต้นของเรือฟริเกตติดจรวดนำวิถีชั้นคัสตูรี (Kasturi-class) เรือลักษมัน ตัน ปุสเมาะห์ (KD Lakasamana Tan Pusmah) เรือต้นของเรือคอร์แว็ตติดจรวดนำวิถีชั้นนี้

กองทัพอากาศได้ส่งอากาศยาน 2 ลำ เข้าร่วมการฝึกครั้งนี้คือ เครื่องบินตรวจการณ์แบบบีชคราฟ์ B200T กับ ยูโรคอปเตอร์ EC 725 อีกหนึ่งลำ เว็บไซต์แห่งเดียวกันกล่าว
.
<bR><FONT color=#000033>เรือตุนกู อับดุล เราะห์มาน (KD Tunku Abdul Rahman) เรือดำน้ำลำแรกของมาเลเซียที่พอร์ตกลัง (Port Klang) ในเดือน ก.ย.2552 ต่างไปจากเรือดำน้ำของเพื่อนบ้านที่อยู่ใต้ลงไป ซึ่งเป็นเรือเก่าปลดประจำการแล้ว เรือดำน้ำของมาเลเซียเป็นเรือใหม่ และยังมีประจำการในกองทัพเรือของประเทศผู้ผลิตคือ ฝรั่งเศส. </b>
<bR><FONT color=#000033>ฉลามดำ เฮฟวี่เวทตอร์ปิโด ยาวกว่า 6 เมตร น้ำหนักเกือบตันครึ่ง ยิงเข้าหาเป้าได้ในระยะ 75-90 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูง 90 กม./ชม. เป็นมือวางอันดับ 1 ในบรรดาตอร์ปิโดค่ายยุโรป ทั้งในด้านความใหญ่โต ระยะปฏิบัติการและประสิทธิภาพที่สามารถยิงเรือบรรทุกเครื่องบินให้จมได้ -- DefenceTalk.Com </b>
<bR><FONT color=#000033>ฉลามดำ กับตอร์ปิโดขนาด 533 มม.รุ่นอื่นๆ ที่ผลิตในฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนี ตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิต แรกเริ่มเดิมทีอิตาลีทำ เฮฟวี่เวท ตอร์ปิโด รุ่นนี้ สำหรับติดตั้งในเรือดำน้ำชั้นสกอร์ปีนของฝรั่งเศสเป็นหลัก แต่ต่อมาเรือดำน้ำของเยอรมนีหลายรุ่นก็ติดแบล็กชาร์คเช่นกัน. </b>
.
เรือตุนกูอับดุลเราะห์มาน และตุนอับดุลราซัค เป็นเรือดำน้ำชั้นสกอร์ปีน (Scorpene-class) ขนาด 1,600 ตัน ยาวเกือบ 62 เมตร มาเลเซียซื้อจากฝรั่งเศสเมื่อปี 2545 บริษัทผู้ผลิต 2 แห่งร่วมกันต่อให้โดยเฉพาะ เรือติดตั้งระบบเรดาร์ ระบบโซนาร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กับระบบควบคุมต่างๆ ที่ผลิตโดยกลุ่มทาเลส (Thales) ติดจรวดเอ็กโซเซต์ MM 40 บล็อก 2/3 ที่มีชื่อเสียง ติดตั้งท่อยิงตอร์ปิโดแบล็กชาร์กขนาด 533 มม. จำนวน 6 ท่อ บรรทุกตอร์ปิโด จำนวน 18 ลูก ลำแรกขึ้นระวางประจำการต้นปี 2552 ลำที่ 2 ในปลายปีเดียวกัน

ตามข้อมูลของสำนักข่าวกลาโหม เรือชั้นสกอร์ปีนเป็นหนึ่งในบรรดาเรือดำน้ำเงียบที่สุดในโลกปัจจุบัน ยากในการติดตาม และตรวจจับของฝ่ายตรงข้าม ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล และ สามารถดำน้ำในความลึกกว่า 300 เมตร ปัจจุบันยังมีประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศส และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้่น ยังมีใช้ในกองทัพเรือชิลี บราซิล ขณะที่อินเดียมีแผนจะนำเข้าประจำการในปี 2559

เรือตุนกูอับดุลเราะห์มาน (TAR) ตั้งตามชื่อ ตุนกู อับดุล เราะห์มาน (Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj ibni Almarhum Sultan Abdul Hamid Halim Shah) บิดาแห่งเอกราช และ นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ตั้งแต่ยุคที่ได้รับเอกราชในปี พ.ศ.2500 เป็นสหพันธรัฐแห่งมะลายา (Federation of Malaya) ที่มีซาบาห์ ซาราวัค กับสิงคโปร์รวมอยู่ด้วย จนถึงยุคที่กลายมาเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia) ในปี 2506

เรือตุนราซัค (TRZ) ตั้งชื่อตามชื่อนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศ คือ ตุน อับดุล ราซัค ฮุสเซน (Tun Abdul Razak Hussein) รัฐบรุษ หนึ่งในบรรดาผู้ขับเคลื่อนกระบวนการกอบกู้เอกราช และพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในยุคต่อมา

สำหรับตอร์ปิโดฉลามดำ เรียกกันทั่วไปว่า “เฮฟวี่เวตตอร์ปิโด” เนื่องจากมีขนาดใหญ่พิเศษ ความยาว 6.3 เมตร น้ำหนักเกือบตันครึ่ง ติดหัวรบดินระเบิดแรงสูง ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ ทำความเร็วได้ถึง 50 นอต (กว่า 92 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ยิงใส่เป้าหมายได้ในระยะไกล 70-90 กม. บริษัทผู้ผลิตกล่าวว่า สามารถยิงเรือบรรทุกเครื่องบินให้จมได้ ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้กับเรือดำน้ำชั้นสกอร์ปีนเป็นหลัก แต่ก็มีใช้ในเรือดำน้ำของเยอรมนีหลายรุ่น

นอกจากมาเลเซีย สิงคโปร์เป็นอีกประเทศหนึ่งในย่านนี้ ที่มี “เฮฟวี่เวตตอร์ปิโด” ประจำการในกองทัพเรือ.
กำลังโหลดความคิดเห็น