xs
xsm
sm
md
lg

“ไอ้แมลงป่อง” กองทัพเรือเสือเหลืองจะน่ากลัวมาก หากติดจรวดร่อนรุ่นใหม่ยิงเป้าหมายบนบก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>คูหาของบริษัท DCNS ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์  MSPO 2015 ในโปแลนด์ วันที่ 1-4 ก.ย.ที่ผ่านมา นำหุ่นจำลองเรือดำน้ำชั้นสคอร์ปีน กับ จรวดเอ็กโซเซ่ SM-39 อาวุธนำวิถียิงทำลายเรือผิวน้ำที่ใช้ในปัจจุบัน กับ จรวดร่อนนาวี MdCN ที่มีขนาดใหญ่กว่า บริษัทนี้กล่าวว่าเป็นครั้งแรก ที่นำเรือดำน้ำชั้นนี้ออกแสดงพร้อมจรวดร่อนโจมตีเป้าหมายบนบก. -- ภาพ: เฟซบุ๊ก/DCNS.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีกลาโหมชั้นนำซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ให้แก่กองทัพเรือฝรั่งเศส กำลังพยายามขายเรือดำน้ำชั้นสคอร์ปีน (Scorpene-class) ให้กองทัพเรือโปแลนด์ และได้แนะนำเรือชั้นนี้ในงานแสดงอาวุธที่เพิ่งจะผ่านไปเมื่อไม่กี่วัน เป็นการเสนอเรือดำน้ำรุ่นเดิม แต่สามารถติดเขี้ยวเล็บใหม่ที่น่าเกรงขามยิ่งกว่าเดิม นั่นคือ “จรวดร่อน” (Cruise Missile) ที่สามารถยิงโจมตีเป้าหมายสำคัญลึกเข้าไปจากชายฝั่งเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรได้

จรวดร่อนนาวี หรือ MdCN (Missile de Croisière Navale) ในภาษาฝรั่งเศส หรือ Naval Cruise Missile ในภาษาอังกฤษ เวอร์ชันเรือดำน้ำ ถูกนำออกเผยแพร่ในงาน MSPO 2015 หรือ งานนิทรรศการกลาโหมระหว่างประเทศ (International Defence Industry Exhibition) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคีลเซ (Kielce) ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 1-4 ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัท DCNS ฝรั่งเศส กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่นำเรือดำน้ำสคอร์ปีนออกแสดง พร้อมระบบอาวุธยิงโจมตีเป้าหมายบนบก

ชื่อของเรือดำน้ำชั้นนี้มีความหมายว่า “แมลงป่อง” และชื่อนี้ได้ทำให้นิทรรศการอาวุธที่อยู่ไกลโพ้นเป็นเรื่องใกล้ตัวเข้ามา ทั้งนี้ เนื่องจากมาเลเซีย เป็นหนึ่งในห้าประเทศที่มีเรือ SSK Scorpene ประจำการ และสำนักข่าวกลาโหมหลายแห่งในย่านนี้ได้หยิบขึ้นมาเป็นมุมมองอย่างน่าสนใจว่า เรือดำน้ำเสือเหลืองจะน่าเกรงขามยิ่งถ้าหากมีจรวดร่อนรุ่นนี้ใช้งาน

“มันก็เหมือนกับมีปืนในครอบครอง ปืนไม่มีประโยชน์อะไรหากไม่มีกระสุน” นักเขียนในเว็บไซต์กลาโหมของปากีสถานเขียนเอาไว้ เปรียบเปรยเป็นนัยว่า สักวันหนึ่งมาเลเซียก็จะต้องจัดหาไปไว้ใช้งานจนได้ และปากีสถานจะไม่เดือดร้อนอะไรมากมาย ถ้าหากกองทัพเรืออินเดียไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย แต่ว่าอินเดียมีกำหนดขึ้นระวางประจำการเรือสคอร์ปีนลำแรกปลายปีหน้า จาก 6 ลำ ที่ต่อเองในประเทศภายใต้สัญญากับ DCNS ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตโดยตรง
.

.

.
มาเลเซียเป็นประเทศที่ 3 ในย่านนี้ที่จัดหาเรือดำน้ำโจมตีไว้ประจำการ หลังจากรู้สึกช็อก เมื่อสิงคโปร์เพื่อนบ้านซื้อเรือรุ่นใหม่ และมองเป็นภัยข่มขู่ที่อยู่ใกล้ตัว เรือสคอร์ปืนลำแรก คือ เรือตนกูอับดุลเราะห์มาน (Abdul Rahman) ขึ้นระวางประจำการเมื่อต้นปี 2552 ลำที่ 2 เรืออับดุลราซะค์ (Abdul Razak) ตามกันไปในปลายปี กลายเป็น “ไม้ข่มนาม” ที่น่าเกรงขามของราชนาวีที่มีกองเรือรบทันสมัยไม่แพ้ใคร

เรือดำน้ำชั้นสคอร์ปีน ผลิตออกมานานมาก แต่มีการพัฒนา และอัปเกรดกันมาต่อเนื่อง และ ประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศสมาจนถึงวันนี้ นอกจากมาเลเซีย กับอินเดีย ลูกค้าต่างแดนยังประกอบด้วย บราซิล ที่สั่งซื้อไป 4 ลำ ลำแรกมีกำหนดส่งมอบปีหน้า และกองทัพเรือชิลี ที่ใช้มาก่อนใคร จำนวน 2 ลำ

เป็นที่ทราบกันดีว่า เรือสคอร์ปีนรุ่นใหม่ทุกลำติดตั้งระบบ AIP หรือ Air Independence Propulsion ของ DCNS ทำให้ไม่ต้องขยันโผล่ส่องกล้องเปอริสโคป หรือโผล่ขึ้นหายใจรับออกซิเจนเหนือผิวน้ำบ่อยๆ ซึ่งทำให้ตกเป็นเป้าเรดาร์ข้าศึก และถูกจมได้โดยง่าย

เรือสคอร์ปิน ขนาดระวาง 1,500 ตัน ไม่เล็กไม่ใหญ่หากเทียบกับเรือดำน้ำชั้นแชลเลนเจอร์ (Challenger-class) ขนาด 1,100-1,200 ตัน ซึ่งเป็นเรือเก่าที่สิงคโปร์ซื้อจากสวีเดน และมีขนาดไล่เลี่ยกัน หากเทียบกับเรือชั้นอาร์เชอร์ (Archer-class) ที่ทัพเรือเมืองสิงห์ซื้อจากเยอรมนี .. ใหม่กว่า และขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 1,400-1,500 ตัน แต่ก็เล็กกว่าเรือชั้นจักรา (Cakra-class) หรือ Type 209/1300 ขนาด 1,600-1,800 ตัน ที่อินโดนีเซียซื้อจากเยอรมนีเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน
.
<br><FONT color=#00003>โปสเตอร์โฆษณาจรวดร่อน MdCN ที่ติดตั้งบนเรือดำน้ำสคอร์ปีน ในงาน  MSPO 2015 วันที่ 1-4 ก.ย.2558 ที่ประเทศโปแลนด์ เป็นเรือชั้นเดียวกัน กับเรือตนกูอับดุลเราะห์มาน และ เรืออับดุลราซะค์ ของราชนาวีมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันติดตอร์ปิโด ฉลามดำ กับ จรวดเอ็กโซเซ่ SM-39. -- ภาพ: เฟซบุ๊ก/DCNS.</b>
2
แต่สคอร์ปีน เทียบกันไม่ได้กับเรือชั้นคิโล (Kilo-class) ของเวียดนาม ที่มีขนาด 3,200-3,950 เมื่อดำน้ำบรรทุกเต็มอัตรา และมีขนาดใกล้เคียงกับเรือดำน้ำชั้นหยวน (Yuan-class) หรือ Type 039A ที่ราชนาวีไทย ประกาศจะซื้อจากจีน ทั้งนี้ ก็เพราะว่าจีนต่อขึ้นมาตามโครงเดิมของเรือคิโล (Kilo-class) “โปรเจกต์ 636” เกือบทั้งหมดแบบเดียวกับของเวียดนามนั่นเอง

จะใช้เรือเล็ก หรือใหญ่ย่อมขึ้นอยู่กับว่าจะเอาไปใช้งานอะไร ที่ไหน และอย่างไร แต่เรือสคอร์ปีนไม่ธรรมดา และไม่มีใครบ่นว่าเรือดำน้ำฝรั่งเศสไม่ดี เทคโนโลยีต่ำ หรือไปก๊อบปี้ของใครมา เรือลำเล็กกว่า แต่ติดท่อยิงตอร์ปิโดให้ถึง 6 ท่อ เท่าๆ กับเรือใหญ่ เพื่อให้ยิงแบบ “ซัลโว” ได้ และยังใช้ยิงจรวดทำสงครามบนผิวน้ำได้ในขณะเดียวกันอีกด้วย

นอกจากจะใช้ตอร์ปิโดขนาดใหญ่ แบบ “ฉลามดำ” (Black Shark Torpedo) แล้ว ก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เรือสคอร์ปีน ติดจรวดเอ็กโซเซ่ SM39 ซึ่งเป็นจรวดยิงเรือเวอร์ชันติดเรือดำน้ำที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส โดยยิงผ่านท่อยิงตอร์ปิโด และในที่สุดก็พัฒนามาติดตั้งจรวดร่อน MdCN ซึ่งกองทัพเรือฝรั่งเศสสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับเรือสคอร์ปีน กับชั้นบาร์ราคูดา (Barracuda-class) โดยเฉพาะ

ตามรายงานใน Navyrecognition.Com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวเกี่ยวกับการทัพเรือ การยิงจรวดนำวิถีออกทางท่อตอร์ปิโดนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของผู้พัฒนาเทคโนโลยีค่ายต่างๆ อย่างมาก เพราะทำได้ยากกว่า ต่างไปจากเวอร์ชันที่ยิงจากท่อยิงแนวตั้ง (Vertical Launch System) บนเรือพิฆาต หรือเรือฟรีเกต ซึ่งจรวดไม่ต้องพุ่งผ่านน้ำทะเลในระดับความลึกตั้งแต่ 100-200 หรือ เกือบ 300 เมตร

และต่างไปจากจรวดนำวิถีที่ยิงจากท่อยิง VLS บนเรือดำน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้แรงดันจากน้ำส่งจรวดขึ้นให้พ้นน้ำ ก่อนเครื่องยนต์จรวดจะจุดติด และระบบนำวิถีเริ่มทำงาน การยิงจากท่อตอร์ปิโดจึงต้องมี “ระบบส่งจรวด” อีกแบบหนึ่งด้วยเทคโนโลยีอีกแบบที่แตกต่างออกไป ซึ่งหลายประเทศยังทำไม่ได้
.

<br><FONT color=#00003>บริษัทฝรั่งเศส พัฒนาจรวดร่อนนาวีมาหลายปี ทดลองยิงครั้งแรกในเดือน พ.ค.2553 โดยยิงจากระบบท่อยิงแนวตั้ง (VLS) แบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเรือฟรีเกต FREMM ก่อนจะยิงจากเรือจริงครั้งแรกในเดือน พ.ค.ปีนี้.  -- ภาพ: เฟซบุ๊ก/DCNS.</b>
3
<br><FONT color=#000033>เดือน มิ.ย.2557 บริษัทฝรั่งเศสทดลองยิงจรวดร่อนเวอร์ชั่นเรือดำน้ำครั้งแรก จากเรือชั้นบาร์ราคูดา (Barracuda-class) ลำหนึ่ง โดยยิงออกทางท่อยิงตอร์ปิโด ซึ่งทำให้ยิงจากเรือชั้นสคอร์ปีนได้เช่นกัน รวมทั้งเรือ ไอ้แมลงป่อง ของมาเลเซียทั้งสองลำด้วย.  -- ภาพ: เฟซบุ๊ก/DCNS.</b>
4
กลุ่ม MBDA ซึ่งเป็นบริษัทแม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศส ให้พัฒนาจรวดร่อนสำหรับเรือรบมาตั้งแต่ปลายปี 2552 ในเดือน พ.ค.2553 ได้ทดลองยิงครั้งแรกจากท่อยิง VLS แบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเรือฟริเกต FREMM ต่อมาในเดือน มิ.ย.2557 ก็ทดลองยิงจากเรือดำน้ำเป็นครั้งแรก การผลิตในเชิงปริมาณได้เริ่มขึ้นในปีนี้ และเพิ่งจะได้ใบรับรองความสามารถในการใช้งาน จากกองทัพเรือในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังทดลองยิงจากเรือลำหนึ่ง

บริษัทผู้ผลิตได้เผยแพร่ภาพ กับวิดีโอบันทึกเกตุการณ์ไปทั่วโลก พร้อมระบุว่า เป็นการยิงจรวดร่อนจากเรือรบของยุโรปเป็นครั้งแรก กองทัพเรือจะทยอยติดตั้งจรวด MdCN บนเรือฟริเกต FREMM ทั้ง 6 ลำ ในปีหน้า และการทดลองยิงอีกครั้งเพื่อขอใบรับรองการใช้งานกับเรือดำน้ำชั้นบาร์ราคูด้า/สคอร์ปีน มีกำหนดขึ้นในปี 2561 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า

กลุ่ม MBDA กล่าวว่า จรวดร่อนที่ติดตั้งบนเรือดำน้ำนั้นไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ (อย่างเช่นจรวดโทมาฮอว์ค หลากหลายเวอร์ชันบนเรือลาดตระเวน พิฆาต และเรือดำน้ำกองทัพเรือสหรัฐฯ -- บก.) หรือมีจำนวนมากๆ แต่ความสำคัญอยู่ที่ความแม่นยำ โจมตีเป้าหมายสำคัญ หรือ Valuable Targets ต่างๆ อย่างมีสัมฤทธิผล

จรวดร่อนขนาดเล็กกว่า ยิงจากใต้น้ำที่มีระยะ “สแตนด์ออฟ” (Stand-Off) หรือระยะห่างจากการตรวจจับของฝ่ายตรงข้ามหลายร้อยกิโลเมตร ก็เป็นอาวุธเชิงป้องปรามชั้นเยี่ยมได้เช่นกัน

กลุ่ม MBDA ออกทำตลาดเรือดำน้ำในงาน MSPO 2015 ก็เนื่องจากว่า กองทัพเรือโปแลนด์กำลังจะปลดระวางเรือชั้นค็อบเบ็น (Kobben) หรือ Type 207 ที่ซื้อจากเยอรมนีจำนวน 4 ลำภายในสิ้นปี 2559 และ ปี 2565 ก็มีกำหนดจะปลดระวางเรือชั้นคิโล Project 877E ที่ใช้มาตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต บริษัทฝรั่งเศสได้นำเสนอเรือที่เล็กลง แต่ติดอาวุธประสิทธิภาพสูงขึ้น ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ พัฒนาทันยุคทันสมัยไปอีกขั้น
.

<br><FONT color=#00003>ในที่สุดก็มีการยิงจากเรืออากีแตน (Aquitaine) ในวันที่ 19 พ.ค.ปีนี้ DCNS กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มีการยิงจรวดร่อนจากเรือรบลำหนึ่งของยุโรป กองทัพเรือฝรั่งเศสจะทยอยติดตั้งจรวดร่อนนาวี บนเรือฟริเกต FREMM ทั้ง 6 ลำ ตั้งแต่ปีหน้า ของเรือดำน้ำในอีก 2 ปีถัดไป แต่การทำตลาดเริ่มขึ้นแล้ว. -- ภาพ: เฟซบุ๊ก/DCNS.</b>
5
<br><FONT color=#00003>เรือ ไอ้แมลงป่อง กำลังซัลโวเฮฟวี่เวตตอร์ปิโด ฉลามดำ แต่ในปัจจุบันทำได้มากกว่านี้ และ ในอนาคตราชนาวีมาเลเซีย ซึ่งเป็นลูกค้าทั้งเรือดำน้ำ เรือฟริเกตและจรวดนำวิถีของฝรั่งเศส อาจจะต้องการจรวดร่อน ไม่ต่างกับคนมีปืนที่จะต้องซื้อกระสุน. -- ภาพ: เฟซบุ๊ก/DCNS.</b>
6
ยังไม่มีผู้ใดทราบว่า โปแลนด์คิดอย่างไรกับเรือสคอร์ปีน พร้อมระบบจรวดร่อนรุ่นใหม่ ซึ่ง MBDA กล่าวว่า หากใช้ทางเลือกนี้กองทัพเรือโปแลนด์ก็จะเป็นหนึ่งในบรรดาทัพเรือนาโต้ไม่กี่ประเทศ ที่มีเรือดำน้ำยิงโจมตีเป้าหมายภาคพื้นทวีปได้

พร้อมกันนั้น MBDA ก็ได้ประกาศนโยบายอย่างชัดเจนว่า จรวด MdCN รุ่นส่งออกจะไม่ติดเงื่อนไขใดๆ กองทัพเรือที่เป็นเจ้าของมีอำนาจเต็มในการใช้ระบบอาวุธ (full sovereignty of weapon system) โจมตีเป้าหมายต่างๆ “โดยไม่ต้องขออนุญาต หรือทำสัญญาใดๆ กับรัฐบาลฝรั่งเศส” และจะเป็นผู้ครอบครองอุปกรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมด

คำประกาศนี้แสดงให้เห็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งในการปิดจุดอ่อนสำคัญในนโยบายส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์เมื่อก่อนที่เคยปิดกั้นโอกาสของฝรั่งเศสมาหลายครั้ง ซึ่งเมื่อครั้งสงครามเกาะฟอล์กแลนด์ ระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินานั้น ฝรั่งเศสไม่ส่งจรวดเอ็กโซเซ่ให้อาร์เจนตินา หลังจากใช้ยิงสร้างความเสียหายให้เรือรบอังกฤษไปหลายลำ

เมื่อหันมามองเรือดำน้ำสคอร์ปีน 2 ลำ ที่อยู่ใกล้ตัว ถ้าหากกองทัพเรือมาเลเซียเลือกจรวด MdCN บ้าง ก็จะเป็นชาติที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเรือดำน้ำ สามารถยิงโจมตีเป้าหมายลึกจากฝั่งเข้าไปหลายร้อยกิโลเมตร ถัดจากกองทัพเรือเวียดนาม ซึ่งเรือชั้นคิโลทั้ง 6 ลำ มา พร้อมกับระบบจรวดร่อนของรัสเซีย

ผู้อ่านจำนวนมากเห็นด้วยต่อคนที่เขียนในเว็บไซต์ปากีสถานดีเฟ้นซ์ ที่ระบุว่า มาเลเซียก็เหมือนกับคนที่มีปืนในครอบครอง ไม่วันใดก็วันหนึ่งจะต้องซื้อกระสุนมาใช้งาน.
.

กำลังโหลดความคิดเห็น