xs
xsm
sm
md
lg

ปีนี้เวียดนามได้เรือดำน้ำ 2 ลำ ดุลอำนาจทางทะเลกำลังเปลี่ยนไป

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>เรือดำน้ำคิโล 636 กองทัพเรือรัสเซียในภาพที่ไม่ระบุสถานที่และวันถ่าย เวียดนามจะได้รับเรือดำน้ำ คิโล 636.1 จำนวน 2 ลำในปีนี้ คือเรือนครฮานอย (HQ182 Hanoi City) ในเดือน ส.ค. และเรือนครโฮจิมินห์ (HQ183 Ho Chi Minh City) เดือน ธ.ค. สื่อกลาโหมออนไลน์ในรัสเซียรายงานสัปดาห์นี้ว่า อู่ต่อเรือใหญ่ในนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กเริ่มต่อเรือลำที่ 3 นครหายฝ่อง (HQ184 Hai Phong City) ตั้งแต่ปีที่แล้ว ลำที่ 4 นครด่าหนัง (HQ185 Danang City) จะเริ่มในปีนี้และจะเป็น คิโล 636 แบบเดียวกับของกองทัพเรือรัสเซีย ดุลอำนาจทางทะเลกำลังจะเปลี่ยนไป เวียดนามกำลังจะมีกองเรือดำน้ำทันสมัยที่สุดในย่านนี้. -- ภาพ: Naval-Technology.Com </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัสเซียกำลังจะส่งมอบเรือดำน้ำชั้นคิโล (Kilo Class) ให้เวียดนาม 2 ลำในปีนี้ ซึ่งเป็นรายงานล่่าสุด หลังจากก่อนหน้านี้สื่อรัสเซียสำนักหนึ่งกล่าวว่า การส่งมอบลำแรกจะมีขึ้นในปี 2558 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า และหากเป็นไปตามข้อมูลใหม่นี้ ก็เท่ากับว่าเวียดนามจะมีกองทัพเรือทันสมัยที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศอาเซียน

นี่คือเรือดำน้ำที่รัสเซียออกแบบมาเพื่อการโจมตีเรือผิวน้ำ กับเรือดำน้ำข้าศึก ซึ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980

เรือดำน้ำคิโล 636.1 สองลำแรก คือเรือ “นครฮานอย” (Hanoi City) หมายเลข HQ182 กับเรือ “นครโฮจิมินห์” (Ho Chi Minh City) หมายเลข HQ183 สำนักข่าวเล็นตาด็อทอาร์ยู (Lenta.Ru) รายงาน

เรือฮานอยปล่อยลงน้ำวันที่ 28 ส.ค.2555 หลังจากผ่านการตรวจตราอีกขั้นตอนหนึ่ง ได้เริ่มออกแล่นทดสอบในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งระหว่างออกทะเลจะแวะทอดสมอที่เมืองสเว็ตลี (Svetly) กับคาลินินกราด (Kaliningrad) นี่คือเรือรุ่นใหม่ที่ต่อในนครเซ็นปีเตอร์สเบิร์ก (St Petersburg) ติดอุปกรณ์รุ่นใหม่ทั้งหมด ทันสมัยกว่าคิโลรุ่นก่อนๆ สำนักข่าวเดียวกันรายงานอ้างแหล่งข่าวในกองทัพเรือรัสเซีย

ตามกำหนดการนั้น เรือนครฮานอยจะออกแล่นทดสอบ จำนวน 6 เที่ยว เที่ยวละ 10-12 วัน ซึ่งจะมีลูกเรือที่เวียดนามส่งไปฝึกอบรมตั้งแต่ปี 2551 เข้าร่วมด้วยทุกเที่ยว และภายในต้นเดือน พ.ค.2556 เรือจะแล่นกลับอู่แอดมิรัลตี (Admiralty Wharves) เพื่อตรวจความเรียบร้อย และซ่อมแซมหากมีความเสียหายเกิดขึ้นระหว่างการออกทะเล

ในเดือน ส.ค.รัสเซียจะนำเรือนครฮานอยไปส่งมอบให้แก่กองทัพเรือเวียดนาม สำนักข่าวเดียวกันกล่าว

อู่แอดมิรัลตีเป็นอู่ต่อเรือใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในนครเซ็นปีเตอร์สเบิร์ก ต่อเรือรบมาหลายขนาด เรือดำน้ำอีกหลายชั้น และเรือขนาดใหญ่ที่มีระวางถึง 70,000 ตัน

เรือลำที่ 2 นครโฮจิมินห์ ปล่อยลงน้ำวันที่ 28 ธ.ค.2555 หรือเพียง 4 เดือนหลังเรือนครฮานอย ซึ่งจะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานต่างๆ ราว 3 เดือน ก่อนออกแล่นทดสอบอีก 5 เดือน และกลับเข้าอู่อีก 3 เดือน เช่นเดียวกับลำแรก

แต่จากประสบการณ์ในการทดสอบเรือลำแรก จะทำให้การทดสอบหมายเลข HQ183 ด้านต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น เชื่อว่าจะส่งมอบให้เวียดนามได้ก่อนเดือน ธ.ค.ปีนี้ สำนักข่าวแห่งเดียวกันกล่าว

สื่อในรัสเซียรายงานก่อนหน้านี้ว่า อู่แอดมิรัลตีเริ่มต่อเรือดำน้ำลำที่ 3 สำหรับเวียดนาม คือ หมายเลข HQ184 “นครหายฝ่อง” (Hai Phong City) ตั้งแต่เดือน พ.ค.ปีที่แล้ว ปีนี้จะเริ่มต่ออีก 1 ลำเป็นลำที่ 4 คู่กันกับอีก 1 ลำ สำหรับกองทัพเรือรัสเซีย “ซึ่งเป็นเรือชั้นคิโลรุ่นปรับปรุง (Improved Kilo Class) เช่นเดียวกัน” เล็นตาฯ กล่าว

รายงานของสื่อออนไลน์สำนักนี้ ตรงกับรายงานของสื่อเวียดนามเมื่อ 2 ปีที่แล้วซึ่งระบุว่า รัสเซียได้ให้สิทธิพิเศษแก่เวียดนามคือ “จะได้ใช้เรือดำน้ำรุ่นเดียวกัน สเปกเดียวกันกับที่ใช้ในกองทัพเรือรัสเซีย” ซึ่งที่ผ่านมา เรือดำน้ำที่ประจำการในกองทัพรัสเซียกับรุ่นส่งออกจะแตกต่างกันในรายละเอียด

หมายความว่า เรือลำที่ 1, 2 และ 3 คือ เรือนครฮานอย นครโฮจิมินห์ กับนครหายฝ่อง เป็นเรือคิโล 636.1 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสำหรับส่งออกทั่วไป แต่เรือลำที่ 4 ซึ่งจะเป็นหมายเลข HQ185 “นครด่าหนัง” (Danang City) จะเป็นเรือคิโล 636 เช่นเดียวกับของกองทัพเรือรัสเซีย
.
<bR ><FONT color=#000033>เรือดำน้ำสินธุรักษ์ศักดิ์ (INS Sindhurakshak) กองทัพเรืออินเดียในภาพที่ไม่ระบุสถานที่และเวลาถ่าย เป็นเรือคิโล 636.1 เช่นเดียวกับเรือ นครฮานอย และ นครโฮจิมินห์ ที่เวียดนามจะได้รับในปีนี้ เรืออินเดียกับเรือเวียดนามต่างไปจากเรือคิโล 636.1 ที่กองทัพเรือจีนซื้อไป 10 ลำหลายปีก่อน เพราะติดระบบอาวุธและระบบต่างๆ ที่ทันสมัยกว่า สื่อกลาโหมออนไลน์ในรัสเซียรายงาน.  -- ภาพ: Naval-Technology.Com </b>
2
 <bR><FONT color=#000033>ภาพตัดเปรียบเทียบขนาดของเรือกับคน และแสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของเรือดำน้ำโจมตีเร็วคิโล 636 ใช้พลังงานดีเซล-ไฟฟ้าที่เงียบกว่า ปฏิบัติการได้ไกลกว่า รัสเซียออกแบบเพื่อโจมตีเรือผิวน้ำกับเรือดำน้ำข้าศึกโดยเฉพาะ เรือคิโลรุ่นใหม่ยังติดจรวดร่อนโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินได้เป็นครั้งแรก โดยมีระยะปฏิบัติการถึง 300 กม.  </b>
3
<bR><FONT color=#000033>เรือ นครฮานอย HQ182 ปล่อยลงน้ำที่อู่แอดมิรัลตี นครเซ็นปีเตอร์สเบิร์ก เดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว และจะออกแล่นทดสอบในทะเลบอลติกเป็นเวลา 5 เดือน ก่อนนำไปส่งมอบให้เวียดนามเดือน ส.ค.ปีนี้และเรือ นครโฮจิมินห์ HQ183 กำลังจะตามไปติดๆ ในเดือน ธ.ค.เป็นอย่างช้า เวียดนามกำลังจะได้เรือดำน้ำ 2 ลำแรก ติดอาวุธทันสมัยเพียบ จากทั้งหมด 6 ลำที่สั่งซื้อ. -- ภาพ: Lenta.Ru</b>
4
 <bR><FONT color=#000033>อาวุธร้าย .. จรวดร่อน คลับ (3M-14E1/Klub S) ภาพจากงานแสดงอาวุธกรุงมอสโกปี 2552 ฉลุยไปในระยะต่ำเหนือระดับน้ำทะเล 10-15 เมตร ยาว 6.2 เมตร น้ำหนัก 1,780 กก. ระยะทำการ 300 กม. ติดหัวรบ 400 กก. ความเร็วสูงสุด 0.8 มัค ปฏิบัติการคล้ายจรวดร่อนโทมาฮอว์คของสหรัฐฯ ทำให้เรือดำน้ำคิโล 636.1 ของอินเดีย เวียดนาม และแอลจีเรีย สามารถยิงโจมตีเป้าหมายบนภาคพื้นดินที่อยู่ห่างออกไปได้เป็นครั้งแรก.</b>
5




.

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวแห่งนี้ไม่ได้กล่าวถึงเรือลำที่ 5 และ 6 สำหรับเวียดนาม ซึ่งฝ่ายรัสเซียจะทยอยส่งมอบให้ปีละ 1 ลำ หลังจากนี้

เล็นตาด็อทอาร์ยูรายงานอ้างแหล่งข่าวเดียวกันว่า โครงการจัดซื้อจัดหาเรือดำน้ำของเวียดนาม มีมูลค่ารวม 3,200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมทั้งเรือดำน้ำจำนวน 6 ลำ การก่อสร้างฐานสำหรับเรือทั้ง 6 ลำ อู่ซ่อมบำรุงกับการฝึกอบรมบุคลากรด้วย แต่ไม่มีการเปิดเผยใดๆ เกี่ยวกับระบบอาวุธ

นอกจากรัสเซียแล้ว ปัจจุบันกองทัพเรือจีนเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีเรือดำน้ำชั้นคิโลใช้มากที่สุด คือ จีนทยอยสั่งซื้อเป็นจำนวนทั้งสิ้น 10 ลำ เป็นเรือคิโล 636.1 รุ่นเก่า รับมอบและนำเข้าประจำการครบทุกลำแล้วระหว่างปี 2540-2548

เรือดำน้ำคิโลมีขนาด 3,100 ตัน ความเร็ว 20 นอต (37 กม./ชม.) ดำน้ำได้ลึก 300 เมตร ลูกเรือ 52 คน รุ่นส่งออกติดตั้งระบบอาวุธพื้นฐาน คือ ท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 533 มม. จำนวน 6 ท่อยิง ติดทุ่นระเบิด และจรวดนำวิถีโจมตีเรือแบบ 3M-54E ติดหัวรบขนาด 200 กก. ระยะปฏิบัติการ 220 กม.ซึ่งเป็นอีกรุ่นหนึ่งของจรวดร่อนในตระกูล “คลับ” (Klub Missile) หรือ SSN-27 “ซิซเลอร์” (Sizzler) ตามรหัสของกลุ่มนาโต้

แต่ในโครงการ 636MV ที่ต่อให้เวียดนาม รัสเซียได้ติดตั้งจรวดร่่อน 3M-14E1 ติดหัวรบ 400 กก. ระยะทำการ 300 กม. ระบบคล้ายกับจรวดโทมาฮอว์คของสหรัฐฯ ซึ่งสื่อรัสเซียกล่าวว่า สามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินได้ และโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินได้ การยิงจากใต้น้ำทำให้ตรวจจับได้ยากเล็นตาฯ กล่าว

จรวดรุ่นนี้ไม่ได้คิดตั้งในเรือคิโล 636.1 ที่จำหน่ายให้แก่จีน แต่ติดในรุ่นที่ขายให้เวียดนาม อินเดีย กับแอลจีเรีย ในโครงการผลิตที่เรียกชื่อต่างกันออกไป

ปัจจุบัน กองทัพเรือเวียดนามมีเรือฟริเกตประจำการ 10 ลำ รวมทั้ง 2 ลำล่าสุด ซึ่งเป็นชั้นเกพาร์ด 3.9 (Gepard 3.9-Class) แบบเดียวกับของกองทัพเรือรัสเซีย เวียดนามยังสั่งซื้ออีก 2 ลำในปลายปี 2554 นอกจากนั้น มีเรือคอร์แว็ตชั้นต่างๆ อีก 10 ลำ กับอีก 4 ลำสั่งซื้อเมื่อปีที่แล้ว เป็นเรือชั้นซิกมา (Sigma-Class) ของเนเธอร์แลนด์ และยังมีเรือตรวจการณ์อีก 30 ลำ ซึ่งเกือบทั้งหมดต่อในรัสเซีย

เวียดนามกำลังจะเข้าร่วมประชาคมเรือดำน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันมีสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่จะเป็นกองเรือดำน้ำที่มีเรือขนาดใหญ่ที่สุด ติดระบบอาวุธทันสมัยที่สุด เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอีก 3 ประเทศ
.

<bR><FONT color=#000033>เรือดำน้ำชั้นอาร์เชอร์ (RSS Archer) แจ้งเกิดอีกครั้งในวันที่ 16 มิ.ย.2552 ในอดีตก็คือเรือวาสเตอร์โก๊ตลานด์ (HMS Västergötland) ที่กองทัพเรือสวีเดนปลดประจำการหลังใช้งานมา 20 ปี เป็นเรือนำของชั้นที่สร้างออกมาทั้งหมด 4 ลำ ขายให้สิงคโปร์ 2 และเมื่อรวมกับเรือดำน้ำเก่าที่ซื้อจากบริษัทค็อกคูมส์ (Kockcums) 15-18 ปีก่อนเพื่อใช้ฝึกซ้อมอีก 4 ลำ ทำให้สิงคโปร์มีเรือดำน้ำประจำการทั้งสิ้น 6 ลำ. -- ภาพ: Wikipedia.Org/Peter Nilsson</b>
6
<bR><FONT color=#000033>เรือโซเดอร์มันลานด์ (HMS Södermanland) ของกองทัพเรือสวีเดน ในภาพวันที่ 23 มี.ค.2553 เป็นเรือชั้นวาสเตอร์โก๊ตลานด์ (Västergötland Class) นี่คือเรือขนาด 1,400 ตันหนึ่งใน 4 ลำที่กลายมาเป็นเรือซอว์ดสแมน (RSS Swordsman) ของกองทัพเรือสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในสองลำของชั้นอาร์เชอร์ (Archer Class) ของกองทัพเรือสิงคโปร์ขณะนี้. -- ภาพ: Kockcums AB/Peter Nilsson</b>
7
<bR><FONT color=#000033>เรือซอว์ดสแมน (RSS Swordsman) ของกองทัพเรือสิงคโปร์ ซึ่งก็คือ เรือโซเดอร์มันลานด์ (HMS Södermanland) ของกองทัพเรือสวีเดนเมื่อก่อน ขณะจอดที่ฐานทัพเรือชางงี (Changi) ในภาพไม่ได้ระบุวัน เป็นเรือชั้นวาสเตอร์โก๊ตลานด์ (Västergötland Class) หนึ่งใน 2 ลำที่สิงคโปร์สั่งซื้อตั้งแต่ปี 2548 และให้บริษัทค็อกคูมส์ (Kockcums) อัพเกรดให้ได้คุณภาพเท่ากับเรืออาร์เชอร์ก่อนส่งมอบ.</b>
8
<bR><FONT color=#000033>เรือดำน้ำตนกูอับดุลเราะมาน (KD Tunku Abdul Rahman) ในภาพที่ไม่ระบุสถานที่และวันถ่าย เป็นเรือดำนน้ำชั้นสกอร์ปีน (Scorpene-Class) ที่ปลดประจำการจากกองทัพเรือฝรั่งเศส ถึงแม้จะเก่าก็ยังมีเขี้ยวเล็บแหลมคม ติดตอร์ปิโดกับจรวดเอ็กโซโซต์ SM-39 กองทัพเรือมาเลเซียรอส่งมอบอีกลำ. </b>
9
<bR><FONT color=#000033>เรือดำน้ำตนกูอับดุลเราะมาน (KD Tunku Abdul Rahman) ที่ฐานทัพเรือกลัง (Klang) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในภาพวันที่ 3 ก.ย.2552 เป็นเรือชั้นสกอร์ปีน (Scorpene-Class) หนึ่งในสองลำที่กองทัพเรือฝรั่งเศสปลดประจำการแล้ว การจัดซื้อเรือทั้งสองลำเต็มไปด้วยความฉาวโฉ่เรื่องนักการเมืองรับสินจากนายหน้าค้าอาวุธ แต่การป้องกันประเทศยังดำเนินต่อไป มาเลเซียเตรียมฐานเรือดำน้ำไว้อีก 2 แห่งคือที่เกาะลังกาวีหันหน้าออกสู่มหาสมุทรอินเดีย และ ในรัฐซาบาห์ หันหน้าสู่ทะเลจีนใต้. -- ภาพ: Wikipedia.Org/Mak Hon Keong </b>
10
<bR><FONT color=#000033>เรือดำน้ำชั้นจักรา (Chakra Class) กองทัพเรืออินโดนีเซีย เป็นเรือแบบ ยู 209 (U-209) ที่กองทัพเรือเยอรมนีปลดประจำการ อินโดนีเซียซื้อ 2 ลำ แล้วส่งให้กลุ่มแดวูแห่งเกาหลีอัพเกรดให้ทันสมัย กองทัพเรืออินโดฯ ยังสั่งซื้อเรือที่ใช้ต้นแบบจากเยอรมนีต่อในเกาหลีอีก 3 ลำ กำหนดส่งมอบไม่กี่ปีข้างหน้า. -- ภาพ: Naval-Technology.Com </b>
11
.

ปัจจุบัน กองทัพเรืออินโดนีเซียมีเรือดำน้ำชั้นจักรา (Chakra-Class) ประจำการ จำนวน 2 ลำ เป็นเรือ U209 ขนาด 1,100 ตัน ที่ใช้แล้วจากเยอรมนี อัปเกรดให้ทันสมัยโดยกลุ่มแดวู อินโดนีเซียยังสั่งซื้อเรือชั้นชังโบโก (Chang Bogo Class) จากเกาหลีอีก 3 ลำ เป็นเรือที่ใช้เทคโนโลยีจากเยอรมนีเช่นกัน กำหนดส่งมอบระหว่างปี 2558-2561

ในเดือน มิ.ย.2545 มาเลเซียซื้อเรือดำน้ำเก่าชั้นสกอร์ปีน (Scorpene หรือ Scorpion) จากฝรั่งเศส 2 ลำ ท่ามกลางความฉาวโฉ่เกี่ยวกับเงินสินบน เป็นเรือขนาด 1,200 ตัน ติดจรวดเอ็กโซเซต์ SM-39 กับตอร์ปีโด “ฉลามดำ” (Black Shark) ของฝรั่งเศส

ลำแรกคือ เรือตนกูอับดุลราเราะมาน (DKTunku Abdul Rahman) ส่งมอบในเดือน ก.ย.2552 ประจำการที่ฐานทัพเรือกลัง (Klang Naval Base) ชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย

มาเลเซียเตรียมฐานเรือดำน้ำไว้อีก 2 แห่งที่เกาะลังกาวี รัฐเกดะห์ ฝั่งทะเลอันดามัน อีกแห่งในรัฐซาบาห์ เกาะบอร์เนียว ซึ่งหันหน้าเผชิญทะเลจีนใต้

สำหรับสิงคโปร์กองทัพเรือประเทศนี้มีเรือดำน้ำก่อนใครๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2538-2540 โดยเหมาซื้อเรือดำน้ำเก่าชั้นจูร์เมน (Sjöormen-Class) จากกองทัพเรือสวีเดนจำนวน 4 ลำ เป็นเรือที่ต่อโดยบริษัทค็อกคูมส์ (Kockcums AB) ทั้งหมดใช้งานมานาน 40 ปี ฝ่ายสวีเดนขายลำที่ 5 ให้เป็นอะไหล่

สิงคโปร์ซื้อเรือทั้ง 4 ลำเพื่อใช้ฝึกซ้อมหาความชำนาญ ต่อมาในเดือน พ.ย.2548 ได้ตัดสินใจซื้อรุ่นใหม่กว่าอีก 2 ลำ ที่ต่อโดยบริษัทค็อกคูมส์เช่นกัน ลำแรก ประจำการเมือ่ปี 2553 ลำที่ 2 ได้รับมอบสิ้นปี 2555 ทั้งสองลำเป็นเรือชั้นวาสเตอร์โกตลานด์ (Västergötland-Class) ขนาด 1,400 ตัน ของกองทัพเรือสวีเดน ซึ่งสิงคโปร์ได้กำหนดใหม่เป็น “ชั้นอาร์เชอร์” (Archer-Class)

ก่อนจะตกถึงมือสิงคโปร์ ทั้งเรือ “อาร์เชอร์” (RSS Archer) กับเรือ “ซอว์ดแมน” (RSS Swordsman) ใช้งานมานาน 20 ปี แต่ผ่านการอัปเกรดให้ทันสมัยขึ้น รวมทั้งติดตั้งระบบต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง ดัดแปลงให้ใช้งานได้ดีในน่านน้ำเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สิงคโปร์ยังมีแผนจัดซื้อเรือดำน้ำรุ่นใหม่อีก 2 ลำ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ ในขณะนี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น