xs
xsm
sm
md
lg

รมว.ออสเตรเลียจะเยือนกัมพูชาหารือลงนามข้อตกลงรับผู้ลี้ภัยตั้งถิ่นฐาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แฟ้มภาพไม่ระบุปีเผยแพร่โดยหน่วยงานความปลอดภัยทางทะเลออสเตรเลีย (AMSA) เผยให้เห็นเรือที่มีผู้ลี้ภัยโดยสารมาเป็นจำนวนมากลอยลำอยู่นอกชายฝั่งออสเตรเลีย ทางการออสเตรเลียต้องการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัยที่ลักลอบขึ้นฝั่งประเทศ ซึ่งนอกดำเนินนโยบายแข็งกร้าวด้วยการผลักดันและส่งไปยังเกาะที่อยู่ห่างไกลในแปซิฟิกแล้ว ทางการออสเตรเลียกำลังจะลงนามข้อตกลงรับกับกัมพูชาเกี่ยวกับการรับผู้ลี้ภัยเหล่านี้ด้วย.-- Agence France-Presse/MV Bison.</font></b>

เอเอฟพี - กัมพูชา เผยวันนี้ (24) ว่า จะลงนามข้อตกลงการตั้งรกรากของบรรดาผู้ลี้ภัยที่มุ่งหน้าไปออสเตรเลียบนแผ่นดินกัมพูชา แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่อการเปลี่ยนเส้นทางผู้แสวงหาที่พักพิงมายังประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภายใต้นโยบายด้านการตรวจคนเข้าเมืองที่แข็งกร้าว ออสเตรเลีย ได้ส่งผู้ลี้ภัยที่เดินทางทางเรือไปยังค่ายบนเกาะมานัส ในปาปัวนิวกินี และนาอูรู ที่อยู่ห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิกในกระบวนการการตั้งรกรากใหม่ คนเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลีย แม้ถูกตัดสินว่าเป็นผู้ลี้ภัยที่แท้จริงก็ตาม

สก็อต มอร์ริสัน รัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองออสเตรเลีย จะเดินทางเยือนกัมพูชาในวันศุกร์ (26) เพื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานผู้ลี้ภัยในกัมพูชา คำแถลงฉบับหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาระบุ แต่ทางการกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติม

ด้านโฆษกรัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองออสเตรเลีย ยืนยันว่า มอร์ริสัน จะเดินทางไปยังกัมพูชาในสัปดาห์นี้ แต่ไม่ให้รายละเอียดอื่นๆ เช่นกัน

กัมพูชาได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่า จะยอมรับเฉพาะผู้ลี้ภัยที่สมัครใจเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบจำนวนผู้ลี้ภัยที่จะถูกส่งมา หรือการจัดหาที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงนี้ และจำนวนเงินที่ออสเตรเลียเสนอให้กัมพูชาในการรับผู้ลี้ภัยก็ยังไม่ทราบเช่นกัน

กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยประมาณร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หรือ 2.8 ล้านคน เป็นคนยากจน ตามการระบุของธนาคารโลก

กลุ่มสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า กัมพูชาไม่มีความพร้อมที่จะรับมือผู้ลี้ภัยจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อระบบตุลาการอ่อนแอ และชื่อเสียงเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจทำให้ผู้มาใหม่มีแนวโน้มที่จะถูกละเมิด

อู วิรัค ประธานศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชา กล่าวโจมตีข้อตกลงนี้ว่าเป็นความล้มเหลวสำหรับผู้ลี้ภัย

“ดูเหมือนออสเตรเลียได้ซื้อกัมพูชาเพื่อให้บริการต่อผู้ลี้ภัย” อู วิรัค กล่าว

รัฐบาลอนุรักษนิยมของออสเตรเลีย ในเดือนนี้ได้ชื่นชมต่อความสำเร็จในการหยุดผู้ลี้ภัยเดินทางขึ้นฝั่งออสเตรเลียทางเรือ ซึ่งนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา มีเรือผู้ลี้ภัยเพียงลำเดียวที่เดินทางถึงเมื่อ เทียบกับรัฐบาลชุดก่อนที่มีผู้ลี้ภัยเดินทางมาออสเตรเลียเกือบทุกวัน

แต่ออสเตรเลียถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักสำหรับนโยบายของขั้นตอนนอกชายฝั่ง และการผลักดันเรือผู้ลี้ภัยกลับออกไป และเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า นโยบายดังกล่าวนำไปสู่ห่วงโซ่ของการละเมิดสิทธิมนุษยชน.
กำลังโหลดความคิดเห็น