xs
xsm
sm
md
lg

สื่่อฝรั่งปูดข่าวเขมรกู้เวียดนาม $22 ล้าน ซื้อจรวดยิงเครื่องบิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพที่รวมขึ้นใหม่นี้เผยแพร่ผ่านสื่อของทางการ หนังสือพิมพ์ออนไลน์เดิ๊ตเหวียด หรือ แผ่นดินเวียดนาม กล่าวว่า เป็นการทดลองยิงจรวด C-125 2TM เปโตรรา ของกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศ 213 เมื่อวันที่ 7 ก.ย.2557 จรวดทำเป้าหมายที่ยิงจากระยะ 14.2 กิโลเมตร ได้อย่างแม่นยำในระยะ 13.6 กม. ที่ผ่านมามีการทดลองยิงจรวดที่อัปเกรดใหม่นี้จำนวน 3 ชุด โดย 3 หน่วยรบ เชื่อกันว่ากัมพูชาอาจจะใช้เงินกู้ซื้อจรวดรุ่นนี้จากเวียดนามก็เป็นได้.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เวียดนามได้ให้เงินกู้แก่กัมพูชา จำนวน 22 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้เพื่อนบ้านแห่งนี้นำไปพัฒนาระบบอาวุธป้องกันทางอากาศที่ล้าสมัย และอื่นๆ รวมทั้งซื้ออาวุธกับอุปกรณ์การฝึกอบรมบุคลากร ตลอดจนการรักษาพยาบาลของกองทัพ ส่วนหนึ่งจะใช้ในการ่ก่อสร้างอาคารกองบัญชาการทหารอากาศในกรุงพนมเปญ นอกนั้นไม่มีการเปิดเผย

สัปดาห์ที่แล้ว สื่อของทางการเวียดนาม ได้เผยแพร่ภาพผู้บัญชาการทหารอากาศกัมพูชาไปเยือนกรุงฮานอย โดยระบุแต่เพียงว่า ฝ่ายเวียดนามได้ตกลงจะช่วยเหลือกัมพูชาก่อสร้างอาคารกองบัญชาการกองทัพอากาศ ด้วยงบประมาณ 1 แสนดอลลาร์เศษ โดยไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ อีก แต่ เจนส์ดีเฟ้นซ์ สำนักข่าวกลาโหมที่ได้รับการเชื่อถือมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน กล่าวว่า กัมพูชาจะใช้งินกู้จำนวนหนึ่งซื้อปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กับจรวดต่อสู้อากาศยานทันสมัยจากเวียดนาม

ปัจจุบัน กัมพูชายังคงใช้ระบบปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ TAL-1, 2, 3 และ 4 ซึ่งอดีตสหภาพโซเวียตส่งไปช่วยเหลือในขช่วงสงครามเย็น รวมทั้งปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ S-60 ที่นับว่าทันสมัยที่สุดในยุค ขณะที่เวียดนามมีจรวดต่อสู้อากาศยานเป็นจำนวนมาก ทั้งได้รับการช่วยเหลือจากโซเวียตในอดีต และซื้อจากรัสเซียในยุคใหม่

เป็นที่ทราบกันดีว่า กองทัพกัมพูชายังมีจรวดต่อสู้อากาศยานทั้ง SAM-3 และ SAM-6 เหลืออยู่จำนวนหนึ่ง แม้จะถูกนำไปทำลายเป็นจำนวนหลายร้อยลูก ในความร่วมมือกับสหรัฐฯ และองค์การสหประชาชาติแล้วก็ตาม เป็นอาวุธที่ได้รับการช่วยเหลือจากอดีตสหภาพโซเวียต แต่ทั้งหมดไม่เคยได้รับการอัปเกรดให้ทันสมัย และกลายเป็นอาวุธล้าสมัย

เวียดนาม มีทั้งจรวดต่อสู้อากาศยานเพดานบินสูง ทั้งระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้ จรวดเวียดนามจำนวนมาก ถูกส่งไปอัปเกรดให้ทันสมัยในสาธารณรัฐยูเครน ดังที่ตกเป็นข่าวไปทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อทางการฟินแลนด์ กักกันชิ้นส่วนจรวดเอาไว้จำนวนมากที่สนามบินกรุงเรกยาวิก แต่ในที่สุดก็ปล่อยไปสู่ปลายทางคือยูเครน หลังพบว่า ต้นทางคือเวียดนามได้ดำเนินการตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างถูกต้อง

สื่อของทางการเวียดนามได้รายงานอย่างแพร่หลายในสัปดาห์นี้ เกี่ยวกับความสำเร็จในการยิงเป้าหมายบินด้วยจรวด C125-2TM “เปโตรรา” (Petrora) ของทหารกองพันปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานหน่วยหนึ่งในกรุงฮานอย โดยระบุว่า เป็นจรวดที่ได้รับการอัปเกรดแล้ว

เดิ๊ตเหวียดออนไลน์ หนังสือพิมพ์อีเล็กทรอนิกส์ภาษาเวียดนาม กล่าวว่า จรวด C125-2TM) ยิงเป้าหมายเคลื่อนที่จากระยะ 14.2 กิโลเมตรเศษอย่างแม่นยำ โดยจรวดถูกยิงขึ้นไป และทำลายเป้าหมายได้ในระยะ 13.6 กม.เท่านั้น

การทดลองยิงครั้งล่าสุดมีขึ้นวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยกองพันต่อสู้อากาศยาน 124 และ 122 ในสังกัดปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 258 กองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 365 และ นับเป็นครั้งที่สาม เป็นการยิงทดสอบจรวดชุดที่ 3 ในช่วงที่ผ่านมา สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามรายงานโดยระบุอีก 2 หน่วยรบที่ทดลองยิง แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ อีกเกี่ยวกับการอัปเกรดอาวุธ
.
<bR><FONT color=#000033>ระบบปืนต่อสู้อากาศยาน TAL-4 ของกองทัพบังกลาเทศ ในภาพถ่ายเมื่อปี 2550 ปัจจุบันยังมีใช้ในกองทัพราชอาณาจักรกัมพูชา และกองทัพประชาชนลาว ส่วนเวียดนามเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์ไปหมดแล้ว. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาด 57 มม. แบบ AZP S-60 ในพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอิสราเอล ปัจจุบันยังมีใช้ในกัมพูชา ประเทศนี้ยังมีจรวดต่อสู้อากาศยานอีกจำนวนหนึ่งที่โซเวียตส่งไปช่วยเหลือในยุคสงครามเย็น ยังไม่เคยมีการอัปเกรด และไม่ทราบสถานะในปัจจุบัน เจนส์เชื่อว่าอาจจะต้องซื้อจรวดที่ใหม่กว่าต่อจากเวียดนาม. </b>
3
ตามตัวเลขของเจนส์ ปีงบประมาณปัจจุบันกองทัพกัมพูชาได้รับงบประมาณเพียง 450 ล้านดอลลาร์เท่านั้น เป็นชาติหนึ่งในเอเชียที่มีงบประมาณสำหรับป้องกันปแระเทศต่ำที่สุด

ก่อนหน้านี้ เวียดนามได้ช่วยเหลือกัมพูชา ก่อสร้างสถาบันการศึกษาทางทหาร ความช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่งมุ่งไปที่การก่อสร้างศูนย์วิจัยและวิศกรรมกลาโหม ทั้งนี้ ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือทางทหารที่กัมพูชาได้รับจากจีน ซึ่งหลายปีมานี้ได้เข้าไปเป็นหุ้นส่วนหนึ่งในการป้องกันประเทศของกัมพูชา

เจนส์ อ้างรายงานของแหล่งข่าวที่ระบุว่า งบประมาณกลาโหมของประเทศนี้ส่วนใหญ่ใช้จ่ายเป็นเงินเดือน ซึ่งปัจจุบันกองทัพกัมพูชามีกำลังพลเกือบ 350,000 คน รวมทั้งกำลังกองหนุนราว 200,000 คนด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น