xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนาม-กัมพูชากางแผนทางหลวง 6 เลนพนมปญ-โฮจิมินห์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>อีก 4 หรือ 5 ปีข้างหน้าทางหลวงสาย 22 ระยะทาง 50 กม.เศษ โฮจิมินห์-หม็อกบ่าย ก็จะเป็นถนน 6 ช่องทางจราจร เช่นเดียวกันกับทางหลวงเลข 1 ที่เชื่อมต่อกันจากชายแดนไปยังกรุงพนมเปญ กัมพูชากับเวียดนามเซ็นบันทึกช่วยความจำเกี่ยวกับความร่วมมือกันในสัปดาห์นี้ เมื่อสร้าง-ขยายแล้วเสร็จก็จะกลายเป็นทางหลวงสายยาวข้ามประเทศที่สวยงามที่สุดอีกแห่งหนึ่งในอนุภูมิภาค.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เวียดนาม และกัมพูชา กำลังศึกษาแผนการขยายทางหลวงสายสำคัญเพื่อเชื่อมเมืองหลวงพนมเปญเข้ากับนครโฮจิมินห์ “เมืองหลวง” แห่งภาคใต้เวียดนาม หลังจากการค้าขายระหว่างสองประเทศเติบใหญ่ในช่วงหลายปีมานี้ และทางหลวง 4 เลนที่ไปยังด่านชายแดนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จในทั้งสองฝั่งหลังปี พ.ศ.2563 ก็จะกลายเป็นทางหลวงสายยาว และทันสมัยอีกสายหนึ่งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวม

ทางหลวงสาย 22 ทางฝั่งเวียดนาม จากโฮจิมินห์ ไปยังด่านชายแดนหม็อกบ่าย (Moc Bai) ใน จ.เตยนีง (Tay Ninh) มีระยะทาง 58 กิโลเมตร จากนั้นก็จะเป็นทางหลวงเลข 1 สองช่องทางจราจร เริ่มจากด่านชายแดนบ่าเว็ต (Bai-Bavet) จ.สวายเรียง (Svay Rieng) ไปยังกรุงพนมเปญ ที่กำลังก่อสร้าง และขยายด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ที่จุดเนอะเลือง (Neuk Luong) ด้วย

กระทรวงความนาคมเวียดนาม กับกระทรวงขนส่งและการโยธากัมพูชา ได้ประชุมหารือในกรุงฮานอย เมื่อเร็วๆ นี้ สองฝ่ายได้เซ็นบันทึกช่วยความจำฉบับหนึ่งเกี่ยวกับแผนการก่อสร้างและขยายทางหลวงทั้งสองช่วงดังกล่าว สื่อของทางการเวียดนามรายงานสำหรับเวียดนามการก่อสร้างถนน 6 ช่องจราจรจะสั้นเข้า เนื่องจากจะเริ่มจากถนนวงแหวนชั้นที่ 3 ที่สร้างขึ้นใหม่ ผ่าน อ.ห็อกโมน (Hoc Mon) กับ อ.กู๋จี (Cu Chi) ไปยัง จ.เตยนีง กับด่านหม็อกบ่าย

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีความจำเป็น กล่าวคือ สภาพการสัญจรไปมามียวดยานหนาแน่นอย่างรวดเร็วในช่วงปีข้างหน้านี้ ฝ่ายเวียดนาม พร้อมที่ร่วมมือกับกัมพูชาร่นระยะเวลาดำเนินการตามโครงการนี้ให้ใกล้เข้ามาอีก

ตามรายงานของโซฮาออนไลน์ ทางหลวงสายโฮจิมินห์-หม็อกบ่าย เป็นหนึ่งในหกเส้นทางในแผนพัฒนาการขนส่งทางบกจนถึงปี 2563 ของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งเป็นไปตามความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในภาคใต้ของประเทศ

หลายปีมานี้ รัฐบาลได้ก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนครโฮจิมินห์ถึง 4 ชั้นซึ่งช่วยลดการติดขัดการจราจรในตัวเมืองชั้นในได้อย่างมาก อำนวยความสะดวกให้แก่การคมนาคมขนส่งจากภาคเหนือลงสู่ภาคใต้ รวมทั้งตอนใต้สุดของประเทศ ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง การก่อสร้างถนนวงแหวนชั้นที่ 4 ใกล้จะแล้วเสร็จเพื่อให้ครบในระบบทั้งหมดภายในปี 2563 ทางหลวงสายโฮจิมินห์-สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ที่ อ.ลองแถ่ง (Long Thanh) จ.โด่งนาย (Dong Nai) ก็รวมอยู่ในแผนการเดียวกันนี้

การก่อสร้างทางหลวงช่วงนี้ซึ่งมีระยะทางกว่า 30 กม. ได้เริ่มขึ้นในสัปดาห์ต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา.
.
บนเส้นทางไปพนมเปญ วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร/28 พ.ย.2553
<bR><FONT color=#000033>สี่แยกที่การจราจรหนาแน่นแห่งหนึ่งในเขต อ.เติ่นบี่ง (Tan Binh) บนเส้นทางไปยังชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>ทางหลวงสาย 22 ผ่านเขต อ.กู๋จี (Cu Chi) ก่อนเลยเข้าสู่ จ.เตยนีง (Tay Ninh) ไปยังชายแดนกัมพูชา. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>ปัจจุบันเป็นถนน 4 ช่องทางจราจรก็หรูแล้ว แต่วันนี้เริ่มคับคั่งในชั่วโมงเร่งด่วน จึงต้องขยายเป็น 6 เลน.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>อึดใจเดียวก็ถึงหม็อกบ่าย (Moc Bai) ประตูหลักเข้าออกระหว่าง 2 ประเทศ ไปกรุงเทพฯทางบกก็เริ่มจากตรงนี้.  </b>
4

5
<bR><FONT color=#000033>ข้างหน้าเป็นด่านบ่าเว็ต (Bavet) ฝ่าดงกาสิโนไปอีกไม่ไกล ก็เป็นจุดเริ่มทางหลวงสาย 1 ตรงดิ่งไปยังพนมเปญ. </b>
6
กำลังโหลดความคิดเห็น