xs
xsm
sm
md
lg

พม่าจ่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งที่ 3 ในรัฐยะไข่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพี ปี 2556 ทาโร อาโซ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ระหว่างเยี่ยมชมโครงการที่นิคมอุตสาหกรรมติลาวา ใกล้นครย่างกุ้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวาเป็นเขตเศรษฐกิจที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยกลุ่มบริษัทญี่ปุ่น และทางการพม่าได้เตรียมแผนที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งที่ 3 ของประเทศที่รัฐยะไข่ โดยมีกลุ่มบริษัทจากสิงคโปร์ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

ซินหวา - พม่ามีแผนที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งที่ 3 ในเมืองจอก์พยู (Kyaukpyu) รัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของประเทศ โดยกลุ่มบริษัทจากสิงคโปร์จะทำหน้าที่พัฒนาแผนแม่บทโครงการ สื่อทางการของพม่ารายงานวันนี้ (8)

บริษัท CPG Consultancy Ltd, จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการคัดเลือก และเชิญผู้พัฒนาต่างชาติเข้ามายังเขตเศรษฐกิจพิเศษจอก์พะยู ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามกับคณะกรรมการการคัดเลือก และเชิญชวนประมูลสำหรับเมืองจอก์พะยู

รัฐบาลพม่า และกลุ่มบริษัทจากสิงคโปร์จะคัดเลือกบริษัทก่อสร้างในเดือน ธ.ค. ด้วยกระบวนการประมูลสากล และบริษัทที่ได้รับเลือกจะต้องร่างรายละเอียดแผนภายใน 2 เดือนแรกของปี 2558

โครงการมูลค่า 227 ล้านดอลลาร์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนสร้าง “มินิสิงคโปร์” บนเกาะนอกชายฝั่งพม่า จะรวมทั้งท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม และการพัฒนาที่พักอาศัย พร้อมกับการศึกษา สาธารณสุข และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ขณะที่บริษัท CPG กำลังดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ และโครงข่ายสายส่งกระแสไฟฟ้าสำหรับโครงการ ทางการพม่าจะเข้าปรับปรุงถนนที่มีอยู่ในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์จะครอบคลุมพื้นที่ราว 75 ตารางกิโลเมตร

รายงานของสื่อท้องถิ่นอีกสำนักหนึ่งระบุว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษจอก์พะยูจะดำเนินการพัฒนาเป็น 3 ระยะ โดยการพัฒนาในระยแรกจะอยู่ระหว่างปี 2557-2559 การพัฒนาในระยะที่ 2 จะอยู่ระหว่างปี 2560-2563 และระยะสุดท้ายในระหว่างปี 2564-2568

เขตเศรษฐกิจพิเศษจอก์พะยู ตั้งอยู่ห่างจากเมืองจอก์พะยู ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 6 กิโลเมตร คาดว่าจะสามารถสร้างงานได้ถึง 60,000 ตำแหน่ง ในสิ้นปี 2559

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีก 2 แห่งของพม่านั้น อยู่ในระหว่างการพัฒนา คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ที่นครย่างกุ้ง และเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในเขตตะนาวศรี ทางภาคใต้ของประเทศ โดยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับนักลงทุนจากญี่ปุ่น ขณะที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย พัฒนาโดยผู้ประกอบการของไทย.
กำลังโหลดความคิดเห็น