xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นดับฝันโครงการทวาย พักเจรจาเน้นโครงการติลาวาอันดับแรก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพี วันที่ 25 พ.ค. นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น (กลางขวา) ขณะเยี่ยมท่าเรือติลาวา ชานนครย่างกุ้ง โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวานั้นเป็นโครงการที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่างรัฐบาลพม่าและญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมไฮเทค สิ่งทอ อุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลักและอุตสาหกรรมการผลิต.-- Agence France-Presse/Soe Than Win. </font></b>

อีเลฟเว่นนิวส์ - นายฮิเดอากิ มัตซูโอะ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจประจำพม่า เผยว่า ญี่ปุ่นระบุจะให้ความสำคัญกับการดำเนินงานโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ในนครย่างกุ้ง ให้เสร็จสมบูรณ์ในปี 2558 เป็นลำดับแรก ก่อนเจรจาโครงการทวาย

เมื่อเดือน เม.ย.2556 ญี่ปุ่นได้รับเชิญจากทั้งรัฐบาลไทย และพม่าให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งการหารือต้องระงับลงหลังญี่ปุ่นวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ

“รัฐบาลพม่า และไทยได้ร้องขอให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งรัฐบาลทั้ง 3 ฝ่าย ได้หารือกันเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของญี่ปุ่น ท่าเรือทวายถือเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ปัญหาคือ ขนาดของโครงการทวายนั้นใหญ่กว่าโครงการติลาวา ถึง 10 เท่า” นายฮิเดอากิ มัตซึโอะ กล่าว

โครงการทวาย เริ่มต้นพัฒนาขึ้นโดยบริษัทอิตาเลียน-ไทย ที่ลงนามข้อตกลงกับทางการพม่าที่จะพัฒนาท่าเรือน้ำลึกในทวายเมื่อปี 2553

ฮัน เส่ง ประธานคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และรัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รัฐบาลพม่าจะเปิดการประมูลดำเนินการโครงการรอบเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเดือน เม.ย. ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างพม่า และไทยความยาว 146 กิโลเมตร ท่าเรือขนาดเล็ก เขตเศรษฐกิจเริ่มต้น โรงไฟฟ้า ที่พักอาศัย ระบบการสื่อสาร และระบบประปา

“บริษัทอิตาเลียน-ไทย ไม่มีทุนพอที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายได้เพียงลำพัง ซึ่งในความจริงแล้ว ไม่มีบริษัทใดที่จะมีศักยภาพพอที่จะดำเนินโครงการเช่นนี้ได้เพียงรายเดียว ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเชื้อเชิญนักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมโครงการนี้” เซ็ต อ่อง ประธานคณะกรรมการประสานงานและกฎระเบียบเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น