xs
xsm
sm
md
lg

ซูจีอดนั่งประธานาธิบดี หลังคณะกรรมาธิการมีมติไม่แก้รัฐธรรมนูญ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<span style=color: #333300;> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 8 มี.ค. นางอองซานซูจี หัวหน้าฝ่ายค้านพม่าขณะพูดคุยกับชาวบ้านที่สำนักงานเขตกอมู เขตเลือกตั้งของซูจี ในนครย่างกุ้ง คณะกรรมาธิการรัฐสภามีมติไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ห้ามซูจีรับตำแหน่งประธานาธิบดี นับเป็นการดับความหวังของซูจีในการขึ้นเป็นผู้นำประเทศ.-Associated Press/Khin Maung Win.</span>

เอพี - คณะกรรมาธิการรัฐสภา มีมติไม่เปลี่ยนแปลงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศที่ระบุ ห้ามนางอองซานซูจี หัวหน้าฝ่ายค้าน รับตำแหน่งประธานาธิบดี นับเป็นการดับความหวังขอ งซูจี ในการขึ้นเป็นผู้นำประเทศ

บทบัญญัติระบุห้ามบุคคลที่มีคู่สมรส หรือบุตรเป็นพลเมืองต่างชาติเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดี ซึ่งสามีที่ล่วงลับของ นางซูจี และบุตรชาย 2 คน เป็นชาวอังกฤษ

หากข้อเสนอแนะได้รับการรับรองจากรัฐสภา ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าที่จะมีขึ้นในปี 2558 ที่คาดว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ของ ซูจี อาจชนะการเลือกตั้ง แต่หากไม่มีซูจี ในตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว ก็เป็นไปได้ที่ผู้สนับสนุนพรรคอาจถอนการสนับสนุน

คณะกรรมาธิการ 26 คน จากทั้งหมด 31 คน มีมติไม่เปลี่ยนแปลงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการลงมติตัดสินใจของคณะกรรมาธิการครั้งนี้เกิดขึ้นในสัปดาห์ก่อน โดยไม่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณชน แต่สมาชิกที่ไม่ต้องการเอ่ยนามเพราะไม่ควรที่จะพูดกับสื่อได้ยืนยันผลการลงมติดังกล่าว

แม้การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับการลงคะแนนเสียงของรัฐสภาเต็มคณะ แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่น่าจะปรากฏขึ้น เนื่องจากสมาชิกในคณะกรรมาธิการที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงเป็นสมาชิกรัฐสภาจากพรรคสหสามัคคี และการพัฒนาที่สนับสนุนทหารและทหารที่ครองที่นั่งส่วนใหญ่ในสภา

ซูจี ได้กล่าวว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับแบบแผนประชาธิปไตย และให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม พรรคของนางจัดรณรงค์เพื่อขอการสนับสนุนจากประชาชน และโน้มน้าวทหาร และรัฐบาลให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ

เนียน วิน โฆษกพรรค NLD ของซูจี กล่าวว่า พรรควิตกกังวลอยู่มากเกี่ยวกับการแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากสามารถทำได้ บทบัญญัติอื่นๆ ก็น่าจะเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ร่างขึ้นโดยรัฐบาลเผด็จการทหารก่อนหน้าเพื่อให้แน่ใจว่าจะยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่องในรัฐบาล โดยกำหนดให้ที่นั่งในรัฐสภา 25% แก่ทหาร มีอำนาจยับยั้งการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องมีเสียงสนับสนุนมากกว่า 75% ของสมาชิกรัฐสภา หลังการลงประชามติ

ซูจี เรียกร้องหลายครั้งต่อประธานาธิบดีเต็งเส่ง และ พล.อ.มิน ออง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร่วมหารือแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งสองยังคงไม่ตกลงที่จะเจรจา ด้านประธานรัฐสภา ฉ่วย มาน ที่มาจากฝ่ายสนับสนุนทหาร และมีความปรารถนาจะร่วมลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญจะต้องเสร็จสิ้น 6 เดือน ก่อนการเลือกตั้งปี 2558

นับตั้งแต่ขึ้นบริหารประเทศในปี 2554 เต็งเส่ง ดำเนินการปฏิรูปการเมือง และเศรษฐกิจหลากหลายประการ และพรรคของซูจี กลับเข้าร่วมกระบวนการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยชนะที่นั่งในสภาไป 43 ที่ จากทั้งหมด 44 ที่ ในการเลือกตั้งซ่อมปี 2555.
“ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” หรือ “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” (?) (เราจะปฏิรูปประเทศกันอย่างไร)
(หมายเหตุ : บทความนี้ เป็นบทความที่ผู้เขียนเขียนขึ้น ตาม “แนวทาง” ที่ผู้เขียนได้ให้สัมภาษณ์แก่ FM TV ไปเมื่อกลางเดือนมกราคม 2557 เกี่ยวกับ “วิธีการแก้ปัญหาวิกฤตชาติ” ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ในปัญหานื้ ผู้เขียนได้ให้สัมภาษณ์ (โดยคุณอัมภา) แก่ FM TV ไป 2 ครั้ง ในการให้สัมภาษณ์ครั้งแรก ผู้เขียนได้ให้สัมภาษณ์ไปเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2556 เรื่อง เกาะติดวิกฤตชาติกับ ศ.ดร.อมร ซึ่งในครั้งนั้น ผู้เขียนได้ให้สัมภาษณ์ เพื่อให้ท่านผู้ฟังมองไปถึง “สาเหตุ” ของปัญหาวิกฤตชาติที่เกิดจาก “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา” ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรา (รัฐธรรมนูญที่นักกฎหมายและนักวิชาการของเราเขียนขึ้นมาเอง และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลกที่ใช้ระบบนี้)ซึ่งปรากฏว่า ได้มีท่านผู้ที่สนใจปัญหาการเมือง ได้คลิ๊กเข้าไปดูรายการของ FM TV ที่อยู่ใน you tube เป็นจำนวนถึงกว่าหนึ่งแสนราย ในการให้สัมภาษณ์ครั้งที่สอง เรื่อง เจาะข่าววงในฯ ช่วง อ.อมร ในราวกลางเดือนมกราคม 2557 เป็นการให้สัมภาษณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจจะให้ท่านผู้ฟัง “คิด” ไปถึงวิธีการแก้ปัญหาวิกฤตชาติโดยการปฏิรูปประเทศไทยที่เป็นรูปธรรม แต่เนื่องจากความจำกัดของเวลาในการให้สัมภาษณ์ ทำให้ “สาระ” ในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ ดูจะไม่ครบถ้วนพอเพียง และได้มีผู้ที่รู้จักกับผู้เขียนจำนวนไม่น้อยสอบถาม “สาระ”เพิ่มเติมจากผู้เขียนซึ่งทำให้ผู้เขียนคิดว่า น่าจะต้องนำ “แนวทางการให้สัมภาษณ์ครั้งที่สอง”นี้มาเขียนเป็น “บทความ” เพื่อเพิ่มเติมข้อความที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ และให้ท่านผู้อ่านมีโอกาสได้ทราบความเห็นของผู้เขียนให้ชัดขึ้น ซึ่งก็ได้แก่บทความนี้) ก่อนอื่น ผู้เขียนขอแสดงความเสียใจแก่การเสียชีวิตและการบาดเจ็บของ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (นายทวีศักดิ์ โพธิ์แก้ว ที่บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง) และของผู้ที่กล้าหาญและเสียสละทั้งหลายของมวลมหาประชาชน (นายวสุ สุฉันทบุตร ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่สนามกีฬาไทย – ญี่ปุ่น ดินแดง ; นายยุทธนา องอาจ การ์ดของ คปท.เสียชีวิตที่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ โดยถูกกราดยิงด้วยอาวุธสงคราม ; นายประคอง ชูจันทร์ จาก จ.ภูเก็ตที่บริเวณถนนบรรทัดทอง โดยการขว้างระเบิด ; และนายสุทิน ธราทิน แกนนำ กปท. กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ที่เสียชีวิตที่แยกวัดศรีเอี่ยม ถนนศรีนครินทร์ โดยถูกลอบยิงบนรถกระบะ ฯลฯ )
กำลังโหลดความคิดเห็น