xs
xsm
sm
md
lg

เชฟรอน-เชลล์-โตตาล ไม่พลาด ได้สิทธิสัมปทานสำรวจน้ำมันพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มรอยเตอร์ปี 2553 ชายชาวพม่าตีลังการิมชายหาด ในบริเวณที่มีการก่อสร้างโครงการท่อก๊าซจากแหล่งก๊าซนอกชายฝั่งพม่า พม่าเปิดประมูลสัมปทานสิทธิสำรวจน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งรวม 30 แปลง เมื่อเม.ย.2556 และในวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานพม่าได้เปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ชนะประมูล โดยบริษัทด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น Chevron Shell หรือ Total ต่างมีชื่อรวมอยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้สิทธิสัมปทานในครั้งนี้.--Reuters/Kham.</font></b>

เอเอฟพี - พม่า เผยบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ทั้ง Chevron Shell และ Total เป็นหนึ่งในผู้ชนะการประมูลครั้งสำคัญในสิทธิสำรวจแหล่งน้ำมัน และก๊าซนอกชายฝั่ง ในความหวังที่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

พม่า ที่ถูกทิ้งอยู่ในความยากจากการโดดเดี่ยวประเทศภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการทหารนานเกือบ 5 ทศวรรษ กลายเป็นที่สนใจของบริษัทด้านพลังงานที่ต้องการส่วนแบ่งในภาคพลังงานที่ยังไม่ถูกแตะต้องของพม่า นับตั้งแต่มาตรการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ยกเลิกลงในปี 2555

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานพม่า กล่าวว่า กว่า 68 บริษัทจากทั่วโลกแสดงความสนใจในการประมูลที่จัดขึ้นในเดือน เม.ย.2556 แต่สุดท้ายมีเพียง 30 บริษัท ที่ยื่นเสนอ

บริษัทที่ได้รับสิทธิสัมปทาน ยังรวมถึงบริษัท Chevron และ ConocoPhillips จากสหรัฐฯ บริษัท Statoil จากนอร์เวย์ และบริษัท BG จากอังกฤษ

พม่า เปิดประมูลแปลงสัมปทานนอกชายฝั่งทั้งหมด 30 แปลง แต่ยังเหลืออีก 10 แปลงที่ยังไม่ได้มอบสิทธิสัมปทาน

กระทรวงพลังงาน ระบุว่า กระทรวงจะได้รับเงิน 226.1 ล้านดอลลาร์เป็น “โบนัสการลงนามสัมปทาน” จากบริษัทต่างๆ เมื่อเริ่มต้นสำรวจในแปลงน้ำตื้น 10 แปลง และแปลงน้ำลึก 10 แปลง

“เงินจำนวนนี้นับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุดที่เราเคยได้รับมาในประวัติศาสตร์” กระทรวงพลังงานระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

แม้จะมีความตื่นเต้นเกี่ยวกับศักยภาพในด้านน้ำมัน และก๊าซของพม่า แต่ยังมีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับขอบเขตปริมาณสำรองของประเทศ

ผู้ชนะการประมูลจากต่างชาติในส่วนของพื้นที่แปลงสัมปทานน้ำตื้นจะต้องร่วมเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทท้องถิ่น แต่ผู้ที่ได้รับสิทธิสัมปทานในพื้นที่น้ำลึก จะได้รับอนุญาตให้ถือสิทธิสำรวจ 100% เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง และจำเป็นต้องมีทักษะทางเทคนิค นอกจากนั้น ผู้ชนะการประมูลจะต้องเข้าร่วมในระบบแบ่งปันผลผลิตกับบริษัท Myanma Oil and Gas Enterprise (MOGE) ของรัฐ

MOGE เคยโดนโจมตีจากฝ่ายค้านเกี่ยวกับการขาดความโปร่งใส และรัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะเปิดกว้าง ในความพยายามที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนที่วิตกกังวลเรื่องปัญหาการทุจริต

บริษัทต่างชาติหลายแห่งได้จับมือเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทในท้องถิ่นอยู่ก่อนแล้วในแปลงสัมปทานนอกชายฝั่ง เช่น บริษัท Total และ Chevron ซึ่งเข้ามาลงทุนก่อนพม่าจะถูกคว่ำบาตร.
.
<bR><FONT color=#000033>แท่นขุดเจาะของบริษัทเชฟรอนที่หลุมปลาทองในแปลงสัมปทานอ่าวไทย ยักษ์ใหญ่เบอร์ 2 จากสหรัฐเป็นเจ้าของบ่อแก๊สและน้ำมันดิบในภูมิภาคนี้หลังซื้อกิจการต่อจากบริษัทยูโนแคลที่ถอนตัวออกไปเมื่อหลายปีก่อน ทำให้เชฟรอนเป็นเจ้าของสัมปทานในน่านน้ำพม่าและน่านน้ำของกัมพูชาอีกด้วย บริษัทนี้เพิ่งชนะการประกวดราคาอีกครั้งหนึ่งเพื่อขยายการสำรวจหาพลังงานในพม่าต่อไป. -- ภาพแฟ้มจากเว็บไซต์บริษัทเชฟรอน. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>สถานีบริการน้ำมันของเชฟรอนที่เอ็นซีนิตาส แคลิฟอร์เนีย ในภาพวันที่ 28 ก.ค.2554 บริษัทน้ำมันและแก๊สใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐมีกิจการในทั่วโลก และเข้าสู่ทะเลพม่าหลังซื้อกิจการบริษัทยูโนแคล (Unocal) เมื่อหลายปีก่อนในยุคที่พม่าอยู่ใต้ระบอบทหาร ยักษ์ใหญ่รายนี้ไม่เคยถอนตัวออกไปแม้จะมีแรงกดดันมากมายจากรัฐสภาและรัฐบาลสหรัฐเอง ในวันนี้เชฟหรอนเป็นอีกรายหนึ่งที่ชนะการปราะกวดราคาครั้งใหม่เพื่อขยายการสำรวจหาพลังงานในพม่าต่อไป. -- Reuters/Mike Blake. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่บริษัทโตตาลแห่งฝรั่งศสบรรยายสรุปให้สื่อที่ไปเยี่ยมชมกิจการท่อส่งแก๊สที่ชายแดนพม่า-ไทยด้าน จ.กาญจนบุรีเมื่อวันที่ 28 พ.ย.2546 หรือกว่า 10 ปีก่อนหน้านี้ ครั้งที่เริ่มจำหน่ายแก๊สจากหลุมยาดานาอ่าวเมาะตะมะให้บริษัทไฟฟ้าของไทยโดยการร่วมทุนระหว่างโตตาลกับยูโนแคลเมื่อก่อนซึ่งก็คือเชฟรอนในวันนี้ ยักษ์ใหญ่น้ำมันและแก๊สจากฝรั่งเศสเป็นอีกรายหนึ่งที่ไม่ยอมถอนตัวจากพม่าในยุคถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐกับโลกตะวันตก โดยระบุว่าถอนตัวออกไปก็จะมีรายใหญ่เข้าแทนที่ทันที วันนี้ทั้งโตตาลกับเชฟรอนเป็นผู้ชนะการประกวดราคาอีกครั้งเพื่อขยายการสำรวจหาพลังงานในพม่าต่อไป.-- Agence France-Presse/Pascale Trouillaud. </b>
4
กำลังโหลดความคิดเห็น