xs
xsm
sm
md
lg

นสพ.กระบอกเสียงรัฐบาลพม่าจะปรับเปลี่ยนโฉมใหม่เสรีมากขึ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพี วันที่ 20 ส.ค. 2555 ชาวพม่ายืนเลือกหนังสือพิมพ์ที่แผงหนังสือพิมพ์ริมถนนในนครย่างกุ้ง นับตั้งแต่รัฐบาลเต็งเส่งขึ้นบริหารประเทศ รัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองของประเทศ รวมทั้งผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดต่อสื่อ ล่าสุดหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล จะปรับเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ที่มีความเป็นอิสระมากขึ้น.-- Agence France-Presse/Soe Than Win. </font></b>

เอเอฟพี - หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ กระบอกเสียงของรัฐในยุครัฐบาลเผด็จการทหารต่อต้านสื่อต่างชาติ จะมีเนื้อหาที่เป็นอิสระมากขึ้นในเร็วๆ นี้ หลังเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ที่บางส่วนของหนังสือพิมพ์เป็นของเอกชน

พม่าพยายามที่จะขจัดภาพลักษณ์ของตัวเองในฐานะศัตรูเสรีภาพสื่อ ด้วยการยกเลิกระบบเซ็นเซอร์เข้มงวด และอนุญาตให้เอกชนออกหนังสือพิมพ์รายวัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเมืองนับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองของทหารเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษฉบับนี้ได้ลดสำนวนรุนแรง ถ้อยคำต่อต้านบรรดาผู้วิจารณ์ และสื่อต่างชาติ เช่น การกล่าวหาสำนักข่าว BBC ของอังกฤษว่าเป็นสื่อนักฆ่า หรือผู้เพาะความเกลียดชัง แทนที่ด้วยข่าวซุบซิบคนดัง และข่าวกีฬา

รัฐบาลลดสัดส่วนการบริหารในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ และให้บริษัทพม่าเข้าครองสัดส่วน 49% ที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในส่วนของขนาดหนังสือพิมพ์ที่ใหญ่ขึ้น จำนวนหน้าสีมากขึ้น และเน้นข่าวสารที่ประชาชนให้ความสนใจ

“เราจะเป็นเหมือนหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดี้ยนของอังกฤษ” เย นาย โฆษกกระทรวงข่าวสารพม่า กล่าวและว่า บทบรรณาธิการจะเป็นอิสระขึ้น ต่างจากเมื่อครั้งที่อยู่ภายใต้นโยบายของยุครัฐบาลเผด็จการทหาร

“รัฐบาลในเวลานี้ต่างออกไป ดังนั้น จะไม่มีอะไรเหมือนก่อน” เย นาย กล่าว พร้อมเผยว่า ในอนาคตทางการจะไม่เข้าแทรกแซง หนังสือพิมพ์จะมี “จรรยาบรรณ” และไม่โจมตีบุคคล หรือยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง

รัฐบาลกึ่งพลเรือนภายใต้การนำของอดีตนายพลเต็งเส่ง ขึ้นบริหารประเทศในปี 2554 และได้ยกเลิกข้อจำกัดด้านอินเทอร์เน็ต ปล่อยตัวนักข่าวที่ถูกคุมขัง และยกเลิกระบบตรวจสอบเนื้อหาก่อนตีพิมพ์ ที่ก่อนหน้านี้ถูกนำมาใช้ตรวจสอบกับสิ่งพิมพ์ทุกอย่าง ตั้งแต่เลขลอตเตอรี่ ไปจนถึงหนังสือนิทาน

แต่ความกังวลเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อนั้นยังไม่จางหาย หลังบรรดาผู้สื่อข่าวได้รวมตัวชุมนุมเมื่อต้นเดือนเพื่อประท้วงต่อต้านการตัดสินโทษจำคุกนาน 3 เดือน กับผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวอีเลฟเว่นมีเดียกรุ๊ป ในข้อหาหมิ่นประมาททนายความ และการละเมิดในระหว่างการสัมภาษณ์

ด้านนายจ้างเชื่อว่า นักข่าวผู้นี้อาจตกเป็นเป้าหมายจากรายงานที่เกี่ยวกับการทุจริตในระบบศาล ขณะเดียวกัน กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้เตือนว่า การปราบปรามสื่อของรัฐได้เปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของการดำเนินคดีมากขึ้น เพื่อยับยั้งการรายงานข่าวสำคัญ

รูปโฉมใหม่ของหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ กำหนดให้มีผลในเดือน พ.ค. แม้ว่าโครงการจะพร้อมหลายเดือนแล้วก็ตาม เย นาย กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น