xs
xsm
sm
md
lg

พม่าประกาศไร้นักโทษการเมือง หลังเต็งเส่งอภัยโทษล่าสุด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายยาน นาย ตุน นักเคลื่อนไหวสันติภาพ ให้สัมภาษณ์กับบรรดาผู้สื่อข่าวที่รุมล้อมหลังได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำอินเส่ง ในนครย่างกุ้ง วันที่ 31 ธ.ค. ในการประกาศอภัยโทษครั้งล่าสุด ซึ่งทางการพม่าประกาศว่าไม่มีนักโทษการเมืองเหลืออยู่ ซึ่งเป็นไปตามที่ประธานาธิบดีเต็งเส่งให้คำมั่นไว้ว่าพม่าจะไม่มีนักโทษการเมืองภายในสิ้นปี 2556. --Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - ทางการพม่าระบุวันนี้ (31) ว่า ประเทศไม่มีนักโทษการเมืองเหลืออยู่ภายในสิ้นปี หลังมีการประกาศอภัยโทษครั้งล่าสุดพร้อมกับปล่อยตัวนักโทษอีกส่วนหนึ่ง ด้านนักรณรงค์แสดงความวิตกกังวลว่าอาจยังมีผู้ต่อต้านรัฐอีกจำนวนมากถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ

พม่าที่ได้ให้คำมั่นว่าจะปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนภายในสิ้นปี 2556 ได้ประกาศอภัยโทษหลายครั้ง อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูป นับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน

อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการประกาศอภัยโทษในครั้งนี้จะส่งผลต่อนักโทษการเมืองทั้งหมด ตามที่นักรณรงค์ระบุว่ามีอยู่ราว 40 คน รวมทั้งผู้ที่รอรับการพิจารณาคดีอีก 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ชุมนุมประท้วงโดยไม่ได้รับอนุญาต

ทางการพม่าระบุเมื่อวันจันทร์ว่าจะอภัยโทษบรรดาผู้ที่ถูกควบคุมตัวภายใต้กฎหมายอันเป็นที่โต้เถียง ซึ่งรวมทั้งจากกฎหมายที่รัฐบาลเผด็จการทหารใช้ในการควบคุมตัวผู้เห็นต่าง กฎหมายที่ควบคุมเสรีภาพในการชุมนุมและสิทธิในการประท้วง

นายเย ตุ๊ต โฆษกประธานาธิบดีเต็งเส่ง กล่าวว่า การอภัยโทษครั้งนี้ ซึ่งมีขึ้นพร้อมกับการอภัยโทษนักโทษอีก 5 คน ที่ถูกคุมขังภายใต้กฎหมายอื่นนั้น เท่ากับว่าไม่มีนักโทษการเมืองเหลืออยู่อีก

"ผมต้องการที่จะกล่าวว่าประธานาธิบดีได้บรรลุตามคำมั่นที่ให้ไว้ต่อประชาชน เพราะไม่มีนักโทษการเมืองเหลืออยู่อีกในสิ้นปี 2556" นายเย ตุ๊ต เขียนข้อความลงบนเฟซบุ้ค แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการปล่อยตัวที่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันนี้ (31) เพิ่มเติม

ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้รับเสียงชื่นชมจากนานาประเทศและได้รับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกสำหรับการปฏิรูปเสรีภาพทางการเมืองและสังคม นับตั้งแต่ขึ้นเป็นประธานาธิบดีมาเกือบ 3 ปี

แต่นายเต็ต อู ตัวแทนกลุ่มอดีตนักโทษการเมืองในนครย่างกุ้ง ระบุว่ายังไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าไม่มีนักโทษการเมืองเหลืออยู่เลยในตอนนี้ แต่ก็หวังให้นักเคลื่อนไหวที่ถูกควบคุมตัวได้รับการปล่อยตัวในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งต้องเฝ้ารอดู

การจำคุกผู้คนอย่างไร้เหตุผลเป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่ปฏิเสธการมีอยู่ของนักโทษการเมือง แม้แต่กำหนดบทลงโทษรุนแรงต่อนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว ทนาย และนักแสดง

ก่อนการปฏิรูปประเทศ กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวหาว่าพม่าจำคุกนักโทษการเมืองราว 2,000 คน

นักโทษการเมืองส่วนใหญ่ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระภายใต้การอภัยโทษหลายครั้งก่อนหน้านี้ แต่นักโทษการเมืองหลายคนถูกจับกุมตัวซ้ำเนื่องจากกิจกรรมที่พวกเขายังคงดำเนินต่อ

นายยาน วิน โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางอองซานซูจี กล่าวยินดีกับการอภัยโทษครั้งนี้ และว่าการอภัยโทษครั้งนี้มีความหมายทางเทคนิคว่าไม่มีนักโทษการเมืองเหลืออีก

"เราควรที่จะพูดว่าไม่มีนักโทษภายใต้ข้อหาทางการเมือง และเราต้องตรวจสอบว่ามีคนที่ถูกจำคุกภายใต้ข้อหาอื่นๆ อยู่หรือไม่" นายยาน วิน กล่าว

บรรดาญาติและมิตรสหายหลายสิบคนรวมตัวกันอยู่ภายนอกเรือนจำอินเส่ง ในนครย่างกุ้ง ที่มีนักโทษอย่างน้อย 9 คนได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ (31) แต่ยังไม่ชัดเจนว่าทั้ง 9 คน นี้ เป็นนักโทษการเมืองกี่คน

ยาน นาย ตุน และอ่อง มิน อู นักเคลื่อนไหวสันติภาพ ที่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาถูกตัดสินจำคุกนาน 8 เดือน ในความผิดฐานเดินขบวนไปยังเมืองลายซา รัฐกะฉิ่น ได้รับการต้อนรับจากบรรดาผู้สนับสนุนขณะที่พวกเขาเดินออกจากเรือนจำ

"ผมเคารพประธานาธิบดีต่อการรักษาสัญญาของเขา" ยาน นาย ตุน กล่าวกับผู้สื่อข่าว

การอภัยโทษครั้งล่าสุด ยังครอบคลุมไปถึงผู้ที่ถูกตัดสินความผิดจากกฎหมายสุดอื้อฉาวในสมัยอดีตรัฐบาลเผด็จการทหารที่ใช้กับบรรดาผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งนางอองซานซูจี ที่ในเวลานี้เป็นสมาชิกรัฐสภา หลังการปฏิรูปประเทศ

แต่การอภัยโทษครั้งนี้ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงผู้ที่ถูกจับกุมตัวหลังวันที่ 31 ธ.ค.

ด้านเจ้าหน้าที่เรือนจำกล่าวว่า พวกเขาไม่ทราบกำหนดเวลาการปล่อยตัวผู้ที่ได้รับการอภัยโทษ และอาจต้องใช้เวลาในการระบุตัวผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการอภัยโทษนี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น