xs
xsm
sm
md
lg

สหประชาชาติร้องพม่าปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมดตามคำมั่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 พ.ย. เผยให้เห็นนักโทษที่ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระเดินออกจากเรือนจำในเมืองมัณฑะเลย์ แม้ทางการพม่าจะปล่อยนักโทษการเมืองหลายสิบคน แต่นักเคลื่อนไหวระบุว่ายังคงมีนักโทษการเมืองถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ ซึ่งสหประชาชาติเรียกร้องให้พม่าดำเนินการตามคำมั่นที่ให้ไว้ว่าจะปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้. -- Agence France-Presse/Str. </font></b>

เอเอฟพี - คณะกรรมการของสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้พม่ายึดมั่นต่อคำสัญญาที่ระบุว่าจะปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้

ขณะที่สหประชาชาติแสดงความยินดีต่อการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ของรัฐบาลหลังประเทศหลุดพ้นจากการปกครองของทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษ คณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ก็ยังแสดงความวิตกต่อสถานการณ์การควบคุมตัวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้น

มติประจำปีที่มีต่อพม่า จากคณะกรรมการชาติสมาชิกทั้งหมด 193 ชาติ ได้ผ่อนคลายลงจากหลายปีก่อน เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีเต็งเส่ง โดยมติระบุแสดงความยินดีต่อการปล่อยตัวนักโทษการเมืองจำนวนมาก และคำมั่นของประธานาธิบดีเต็งเส่งที่ระบุว่า จะปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้

สหประชาชาติ ต้องการให้รัฐบาลพม่าดำเนินกระบวนการดังกล่าวต่อไป และทำตามคำมั่นที่ระบุว่าจะปล่อยนักโทษการเมืองภายในสิ้นปี 2556 อย่างไร้เงื่อนไข และฟื้นคืนสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลเหล่านั้น

แม้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการพม่าได้ปล่อยนักโทษการเมืองราว 69 คน แต่นักเคลื่อนไหวระบุว่า ยังคงมีนักโทษการเมืองอีกหลายสิบคนถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำ พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทางการยังคงดำเนินการควบคุมตัวนักโทษเพิ่มอยู่

นอกจากนั้น มติของสหประชาชาติยังแสดงความวิตกเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ยังคงมีปรากฏอยู่ ซึ่งรวมทั้งการจับกุม และควบคุมตัวนักเคลื่อนไหวทางการเมือง และผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน การบังคับย้ายถิ่นฐาน การยึดที่ดิน การข่มขืน และความรุนแรงทางเพศในรูปแบบอื่นๆ การกระทำทารุณโหดร้าย ซึ่งผู้แทนจากสหรัฐฯ และยุโรป เรียกร้องให้พม่าเพิ่มระดับความพยายามในการปฏิรูปมากขึ้น

ทูตสหรัฐฯ แสดงความคิดเห็นว่า แม้จะมีความคืบหน้าเกิดขึ้นในพม่า แต่พม่าก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่้ต้องดำเนินการ หลังประเทศถูกปกครองโดยทหารมาจนกระทั่งปี 2554

มติยังเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาสามารถเข้าถึงความเป็นพลเมือง และยุติความรุนแรงของชาวพุทธต่อชาวโรฮิงญา

ทั้งนี้ ความรุนแรงทางศาสนาในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนเสียชีวิตไปมากกว่า 240 คน ขณะที่มากกว่า 240,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญาต้องหลบหนีออกจากที่อยู่อาศัยของตนเอง.
กำลังโหลดความคิดเห็น