xs
xsm
sm
md
lg

อะเมซิ่งจริงๆ วันนี้ลาวประเทศเล็กๆ วันนี้มีเขื่อน 23 เขื่อนกำลังสร้างอีกนับสิบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>ดร.บุนทะวี สีสุพันทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ (ขวามือ) สัมผัสมือกับประธานบริษัทสีเมืองกรุ๊ปผู้ได้รับสัมปทานโครงการรเขื่อนเซละนองจุด 3 ในเมืองนอง แขวงสะหวันนะเขตหลังพิธีเซ็นสัญญาศึกษาความเป็นไปได้ที่จัดขึ้นในเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีโครงการเขื่อนราว 20 โครงการกำลังอยู่ในขั้นตอนสำรวจและศึกษาคล้ายกันนี้ อีก 10 แห่งกำลังก่อสร้าง 23 แห่งเปิดดำเนินการแล้ว จากทั้งหมดกว่า 80 โครงการที่จะผุดขึ้นมาในระยะไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ลาวประเทสเล็กๆ กำลังจะเป็นดินแดนแห่งเขื่อนผลิตไฟฟ้า คงจะได้เห็นกันก่อนสิ้นลม. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - จนถึงสิ้นปี 2556 ที่เพิ่งจะผ่านมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรเพียงประมาณ 6 ล้านคน มีเขื่อนผลิตไฟฟ้าใหญ่น้อยที่เปิดใช้ดำเนินการแล้วทั้งสิ้น 23 แห่ง อีก 10 แห่ง อยู่ระหว่างก่อสร้าง และในนั้นมีจำนวนหนึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในปีนี้

เขื่อนผลิตไฟฟ้าที่กล่าวมาทั้งหมดมีขนาดตั้งแต่ 1 เมกะวัตต์ขึ้นไป ยังไม่นับรวมเขื่อนขนาดเล็กอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ แต่ผลิตใช้ในชุมชนที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ สื่อของทางการอ้างรายงานประจำปี 2556 ของกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่เกี่ยวกับความก้าวหน้าในแขนงผลิตพลังงานภายใต้นโยบายเป็น “แบตเตอรี่แห่งอนุภูมิภาค” ผลิตจำหน่ายให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน

หากนับจำนวนเพียงอย่างเดียว เขื่อนผลิตไฟฟ้าในลาวเริ่มใกล้เคียงกับจำนวน 28 แห่งในประเทศไทยที่พัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำต่อเนื่องไม่เคยขาดช่วงในหลายทศวรรษมานี้และปัจจุบัน ไทยกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของลาว โดยเซ็นซื้อกระแสไฟฟ้าไปแล้ว 7,000 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตไม่นานลาวจะแซงหน้าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ไปไกลลิบเมื่อเขื่อนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และยังมีโครงการเขื่อนอีกราว 20 แห่ง ที่อยู่ในขั้นสำรวจศึกษาความเป็นไปได้หรือศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมตามแผนการก่อสร้างกว่า 80 โครงการภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้

เขื่อนที่กำลังผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันเป็นของเอกชนที่ได้รับสัมปทาน จำนวน 13 แห่ง ที่เหลือเป็นของรัฐบาลโดยรัฐวิสาหากิจการไฟฟ้าลาว สื่อของทางการกล่าว

ในปีที่ผ่านมา ทั่วประเทศมีระบบสายส่งไฟฟ้าเป็นความยาว 43,860 กิโลเมตร อยู่ระหว่างก่อสร้างในปีนี้อีกกว่า 4,300 กม. ปัจจุบันประชาชนทั่วประเทศใน 143 เมือง (อำเภอ) 6,797 หมู่บ้าน รวม 926,341 ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ หรือคิดเป็น 85.84% ของทั้งหมด

เขื่อนผลิตไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างในขณะนี้ยังรวมทั้งเขื่อนน้ำเงียบ 2 ขนาด 180 เมกะวัตต์ คืบหน้าไปประมาณ 48.18% กำหนดเปิดใช้ในปี 2559 เช่นเดียวกับเขื่อนเซกะหมาน 1 ขนาด 322 เมกะวัตต์ ที่คืบหน้าไปแล้ว 16.20% และเขื่อนใหญ่ไซยะบูลีขนาด 1,680 เมกะวัตต์ คืบไป 10.77% จะเริ่มปั่นไฟในปี 2562

เขื่อนที่มีกำหนดจะเดินเครื่องปั่นไปเข้าสู่ระบบในปี 2557 นี้ ยังรวมทั้งเขื่อนเซน้ำน้อย 1 ขนาด 14.8 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อสร้างเสร็จแล้ว 99% เขื่อนน้ำเงียบ 3A ขนาด 44 เมกะวัตต์ เสร็จ 80%

ยังมีอีก 3 เขื่อนที่มีกำหนดเดินเครื่องในปี 2558 คือ เขื่อนน้ำอู 2, 5 และ 6 ในภาคเหนือ ที่มีขนาดติดตั้ง 120, 240 และ 180 เมกะวัตต์ตามลำดับ กับเขื่อนน้ำกง 2 ขนาด 66 เมกะวัตต์ในแขวงอัตตะปือ

นอกเหนือจากเขื่อนแล้ว การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินหงสาลิกไนต์ ขนาด 1,878 เมกะวัตต์ ในแขวงไซยะบูลี ก็มีความคืบหน้าไปกว่า 60% และมีกำหนดเริ่มปั่นไฟเข้าระบบเพื่อส่งออกในปี 2558 นี้เช่นกัน

ในประเทศนี้ยังมีโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังแสงอาทิตย์อีกจำนวนมาก และขยายตัวต่อเนื่อง ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ติดตั้งให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลได้มีไฟฟ้าใช้จำนวน 14,613 ครัวเรือน การผลิตไฟฟ้าโดยใช้ชีวมวล และเอทานอลก็เป็นรูปเป็นร่าง ที่เมืองพูวง ในแขวงอัตตะปือ มีกำลังผลิต 30 เมกะวัตต์

ในนครเวียงจนทน์ กำลังมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงขนาด 5 เมกะวัตต์ โดยบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทาน นอกจากนั้น ในลาวยังมีโครงการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชที่ให้น้ำมันเช่นปาล์มน้ำมัน กับสบู่ดำอีกจำนวนมาก สื่อของทางการกล่าว.
.
แช้มป์หนึ่งเดียวในเอเชีย เวียงจันทน์ใหม่/Reuters
<bR><FONT color=#000033>ชาวนาเกี่ยวข้าวในท้องนาในเขตเมืองนากาย แขวงคำม่วงวันที่ 28 ต.ค.2556 ที่นี่อยู่ใกล้กับเขื่อนน้ำเทิน 2 จึงมีสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน เป็นเขื่อนขนาด 1,200 เมกะวัตต์ที่สุดของประเทศขณะนี้ แต่อีกเพียงปีสองปีเขื่อนไซยะบูลี 1,600 เมกะวัตต์ก็จะมาทำสถิติใหม่และยังมีเขื่อนขนาดใหญ่กว่านี้อีกหลายเขื่อนจะทยอยตามกันมา. -- Rueters/Aubrey Belford.   </b>
2
<bR><FONT color=#000033>เด็กๆ เล่นน้ำกันในเขตตั้งถิ่นฐานเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนนำเทิน 2 เมืองนากาย แขวงคำม่วน ในภาพวันที่ 28 ต.ค.2556 ต้นไม้ยังยืนต้นตายให้เห็น เขื่อนแห่งนี้ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำครอบคลุมพื้นที่ 450 ตารางกิโลเมตร แต่ก็ยังมีเขื่อนใหญ่กว่านี้อีกกำลังจะผุดขึ้นมาในไม่กี่ข้างหน้า ปีนี้ลาวมี 23 แห่งแล้ว ปีหน้าจะสร้างเสร็จอีกหลายแห่ง. -- Rueters/Aubrey Belford.   </b>
3
<bR><FONT color=#000033>ประธานบริษัทพลังงานไฟฟ้าคันไซ (Kanzai Electric Power) จากประเทศญี่ปุ่นเซ็นสัญญาเช่าที่ดินกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปลายเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว สำหรับเขื่อนน้ำเงียบ 1 ในแขวงบอลิคำไซ รัฐบาลอนุมัติโครงการเขื่อนขนาด 260 เมกะวัตต์นี้ตั้งแต่ปี 2549 และเข้าสู่การสำรวจศึกษา แก้ไขรายละเอียดต่าง การเซ็นสัญญาเช่าที่ดินหมายความว่าการก่อสร้างกำลังจะเริ่มอีกโครงการหนึ่ง. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.    </b>
4
 <bR><FONT color=#000033>ประธานประเทศลาว พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน ไปเป็นประธานเปิดใช้เขื่อนน้ำงึม 5 ในสัปดาห์ต้นเดือน ธ.ค.2555 เขื่อนขนาด 120 เมกะวัตต์มูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ลงทุนโดยกลุ่มซิโนไฮโดรจากจีนกลายเป็นเขื่อนหนึ่งในจำนวน 23 แห่งที่เปิดดำเนินการแล้วในปัจจุบัน นักลงทุนจากหลายประเทศและดินแดนทั่วโลกยังคงมุ่งหน้าแสวงหาโอกาสลงทุนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลาวจน ถึงปัจจุบันมีการเซ็นความตกลงเรื่องนี้ไปแล้วกว่า 60 โครงการ. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่. </b>
5
<bR><FONT color=#000033>เขื่อนน้ำงึม 5 เมื่อต้นเดือน ธ.ค.2555 เป็นเขื่อนกั้นลำน้ำงึมเพียงแห่งที่ 2 ที่เปิดดำเนินการถัดจากน้ำงึม 1 ขนาด 155 เมกะวัตต์ที่เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศเริ่มปั่นไฟมาตั้งแต่ปี 2514 ส่วนน้ำงึม 2 และ 3 ขนาด 615 และ 440 เมกะวัตต์ที่ใหญ่โตกว่ากำลังก่อสร้าง ลาวรุ่มรวยด้วยลำน้ำลำธารที่เปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้าส่งออกได้และกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญในการผลบักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่. </b>
6
กำลังโหลดความคิดเห็น