ASTVผู้จัดการรายวัน - “ซีเค พาวเวอร์”ลั่นพร้อมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าSPPใหม่ 8 โรงๆละ 120 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม 100 เมกะวัตต์ หากรัฐไฟเขียวรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนหลังประกาศแผนPDPใหม่ปีหน้า ส่วนต่างประเทศก็เล็งลงทุนในลาวและเมียนมาร์ โดยจะเน้นลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ลั่นปีหน้าโกยรายได้โต 20%จากปีนี้5.7 พันล้านบาท
นางสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ( CKP) เปิดเผยว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) เพิ่มอีก 8 โรงๆละ117-120 เมกะวัตต์ตามแนวท่อส่งก๊าซฯ คาดว่ารัฐจะประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนขนาดเล็ก (SPP) ได้ในช่วงครึ่งแรกปี 2557 หลังจากประกาศแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP)ใหม่ปี 2014-2034 โดยจะใช้เงินลงทุนโครงการละ 5 พันล้านบาท ซึ่งขณะนี้บริษัทได้มีการเจรจากับบมจ.ปตท.ในการซื้อก๊าซฯสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ บริษัทฯได้ทำสัญญาซื้อขายไฟโรงไฟฟ้าSPPให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย( กฟผ.)จำนวน 2 โครงการๆละ 90เมกะวัตต์ในนิคมฯบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และยังมีพื้นที่รองรับการขยายโรงไฟฟ้าSPP ได้เพิ่มอีก 2 โรง หากรัฐเปิดรับซื้อไฟเพิ่มเติม ส่วนโรงไฟฟ้าSPPอีก 6 โครงการนั้น จะอยู่ในนิคมฯหรือใกล้นิคมบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงหนือ
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง โคเจนเนอเรชั่น (BIC1) มีกำลังผลิต 117 เมกะวัตต์ ได้เดินเครื่องเชิงพาณิชย์มิ.ย.ที่ผ่านมา และปีหน้าจะดำเนินการหาผู้รับเหมาและก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง โคเจนฯเฟส 2 อีก 117 เมกะวัตต์ คาดว่าจะจ่ายไฟเข้าระบบในเดือนมิ.ย. 2560ซึ่งขณะนี้มีลูกค้าในนิคมฯบางปะกงแสดงความจำนงที่จะรับซื้อไฟฟ้าที่เหลือจากการขายให้กฟผ.เกือบครบจำนวนแล้ว
ส่วนการหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนในโครงการโรงไฟฟ้า SPP ใหม่ทั้ง 8 โครงการนั้น หากเป็นประโยชน์ก็พร้อมที่จะเจรจา เนื่องจากเงินลงทุนโรงไฟฟ้าSPP ทั้ง8 โครงการจะใช้เงินสูงถึง 4หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีหลายรายเข้ามาเจรจากับบริษัทฯอยู่และยังเร็วเกินไปที่จะสรุป แต่ยืนยันว่าบริษัทฯจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโครงการเหล่านี้
นางสุภามาส กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯยังมีความสนใจที่จะลงทุนโครงการโซลาร์ฟาร์มเพิ่มเติม หากรัฐมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคตด้วย โดยบริษัทฯมีทำเลที่จะสร้างโรงไฟฟ้าโซลาร์ ฟาร์มได้อีก 100 กว่าเมกะวัตต์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 6 พันล้านบาท ส่วนจะเริ่มโครงการได้เมื่อไรนั้นคงขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ
นอกจากนี้ บริษัทฯยังตั้งเป้าขยายโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาวและเมืยนมาร์เพิ่มอีก 1 พันเมกะวัตต์ นอกเหนือจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำงึม 2 กำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าน้ำบาก กำลังผลิต 160 เมกะวัตต์ ที่ปีหน้าจะเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้สปป.ลาวและก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ โครงการฝายน้ำล้นไซยะบุรี ขนาด1,285 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เนื่องจากทั้ง2 ประเทศยังมีศักยภาพในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้อีกมาก
อย่างไรก็ตาม งบการลงทุน 5 ปีข้างหน้า บริษัทฯจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3 พันล้านบาทในการพัฒนาโรงไฟฟ้าบางปะกงฯ เฟส 2 และโรงไฟฟ้าน้ำบาก ยังไม่รวมเงินลงทุนโครงการไซยะบุรี โดย5ปีข้างหน้าบริษัทฯจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 800 กว่าเมกะวัตต์เป็น 2 พันกว่าเมกะวัตต์ หรือเฉลี่ยโตปีละ 20%
นางสุภามาส กล่าวถึงผลการดำเนินงานในปี 2557 ว่า บริษัทฯตั้งเป้าหมายการโตของรายได้ปีหน้า 20% จากปีนี้ที่มีรายได้ประมาณ 5.7 พันล้านบาท เนื่องจากรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าบางปะกงฯ 1 เต็มปี และโรงไฟฟ้าน้ำงึม2 น่าจะทำรายได้เพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่มีมาก และมีอัตรากำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมและดอกเบี้ย (EBITDA MARGIN) อยู่ที่ 60% ลดลงจากปีนี้ที่เฉลี่ย 70 % เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายด้านราคาก๊าซฯเพิ่มขึ้นจากโครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง ฯ และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงจากการปรับโครงสร้างหนี้ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำงึม2
นางสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ( CKP) เปิดเผยว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) เพิ่มอีก 8 โรงๆละ117-120 เมกะวัตต์ตามแนวท่อส่งก๊าซฯ คาดว่ารัฐจะประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนขนาดเล็ก (SPP) ได้ในช่วงครึ่งแรกปี 2557 หลังจากประกาศแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP)ใหม่ปี 2014-2034 โดยจะใช้เงินลงทุนโครงการละ 5 พันล้านบาท ซึ่งขณะนี้บริษัทได้มีการเจรจากับบมจ.ปตท.ในการซื้อก๊าซฯสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ บริษัทฯได้ทำสัญญาซื้อขายไฟโรงไฟฟ้าSPPให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย( กฟผ.)จำนวน 2 โครงการๆละ 90เมกะวัตต์ในนิคมฯบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และยังมีพื้นที่รองรับการขยายโรงไฟฟ้าSPP ได้เพิ่มอีก 2 โรง หากรัฐเปิดรับซื้อไฟเพิ่มเติม ส่วนโรงไฟฟ้าSPPอีก 6 โครงการนั้น จะอยู่ในนิคมฯหรือใกล้นิคมบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงหนือ
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง โคเจนเนอเรชั่น (BIC1) มีกำลังผลิต 117 เมกะวัตต์ ได้เดินเครื่องเชิงพาณิชย์มิ.ย.ที่ผ่านมา และปีหน้าจะดำเนินการหาผู้รับเหมาและก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง โคเจนฯเฟส 2 อีก 117 เมกะวัตต์ คาดว่าจะจ่ายไฟเข้าระบบในเดือนมิ.ย. 2560ซึ่งขณะนี้มีลูกค้าในนิคมฯบางปะกงแสดงความจำนงที่จะรับซื้อไฟฟ้าที่เหลือจากการขายให้กฟผ.เกือบครบจำนวนแล้ว
ส่วนการหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนในโครงการโรงไฟฟ้า SPP ใหม่ทั้ง 8 โครงการนั้น หากเป็นประโยชน์ก็พร้อมที่จะเจรจา เนื่องจากเงินลงทุนโรงไฟฟ้าSPP ทั้ง8 โครงการจะใช้เงินสูงถึง 4หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีหลายรายเข้ามาเจรจากับบริษัทฯอยู่และยังเร็วเกินไปที่จะสรุป แต่ยืนยันว่าบริษัทฯจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโครงการเหล่านี้
นางสุภามาส กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯยังมีความสนใจที่จะลงทุนโครงการโซลาร์ฟาร์มเพิ่มเติม หากรัฐมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคตด้วย โดยบริษัทฯมีทำเลที่จะสร้างโรงไฟฟ้าโซลาร์ ฟาร์มได้อีก 100 กว่าเมกะวัตต์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 6 พันล้านบาท ส่วนจะเริ่มโครงการได้เมื่อไรนั้นคงขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ
นอกจากนี้ บริษัทฯยังตั้งเป้าขยายโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาวและเมืยนมาร์เพิ่มอีก 1 พันเมกะวัตต์ นอกเหนือจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำงึม 2 กำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าน้ำบาก กำลังผลิต 160 เมกะวัตต์ ที่ปีหน้าจะเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้สปป.ลาวและก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ โครงการฝายน้ำล้นไซยะบุรี ขนาด1,285 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เนื่องจากทั้ง2 ประเทศยังมีศักยภาพในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้อีกมาก
อย่างไรก็ตาม งบการลงทุน 5 ปีข้างหน้า บริษัทฯจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3 พันล้านบาทในการพัฒนาโรงไฟฟ้าบางปะกงฯ เฟส 2 และโรงไฟฟ้าน้ำบาก ยังไม่รวมเงินลงทุนโครงการไซยะบุรี โดย5ปีข้างหน้าบริษัทฯจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 800 กว่าเมกะวัตต์เป็น 2 พันกว่าเมกะวัตต์ หรือเฉลี่ยโตปีละ 20%
นางสุภามาส กล่าวถึงผลการดำเนินงานในปี 2557 ว่า บริษัทฯตั้งเป้าหมายการโตของรายได้ปีหน้า 20% จากปีนี้ที่มีรายได้ประมาณ 5.7 พันล้านบาท เนื่องจากรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าบางปะกงฯ 1 เต็มปี และโรงไฟฟ้าน้ำงึม2 น่าจะทำรายได้เพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่มีมาก และมีอัตรากำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมและดอกเบี้ย (EBITDA MARGIN) อยู่ที่ 60% ลดลงจากปีนี้ที่เฉลี่ย 70 % เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายด้านราคาก๊าซฯเพิ่มขึ้นจากโครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง ฯ และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงจากการปรับโครงสร้างหนี้ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำงึม2