xs
xsm
sm
md
lg

เขมรเพี้ยนหนักแจกอิสริยาภรณ์ทนายยันผู้พิพากษาศาลโลกทำสงครามประสาทหมายฮุบภูมะเขือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ท่าจะเพี้ยน .. รัฐบาลกัมพูชามอบอิสรยาภรณ์ที่ไม่ได้ระบุชั้นและกลุ่มให้แก่ทีมที่ปรึกษากฎหมาย 3 คน และยังมอบให้ผู้พิพากษาศาลโลกอีก 1 คนด้วย สำนึกในความช่วยเหลือที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ในกรณีพิพาทกับไทยครั้งล่าสุด แต่ก็มีเพียงนายฌ็อง-มาร์ค กูลโลม ศาสตราจารย์นักกฎหมายชาวฝรั่งเศสที่เห็นในภาพนี้ไปรับมอบเพียงคนเดียว พิธีมอบจัดขึ้นวันเสาร์ 23 ธ.ค.ในกรุงพนมเปญ โดยนายฮอร์นัมฮอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศ ส่วนอีก 3 คนไม่ไปรับ. -- ภาพ: สำนักข่าวกัมพูชา/ฉิม นารี. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลกัมพูชาได้มอบอิสริยาภรณ์ให้แก่ทีมทนายความที่ปรึกษาทางกฎหมายชาวฝรั่งเศส และอังกฤษจำนวน 3 คน ที่ช่วยเหลือในการต่อสู้กับฝ่ายไทยในศาลระหว่างประเทศที่ผ่านมาจน “ประสบความสำเร็จ” ไม่เพียงเท่านั้น ยังมอบอิสริยาภรณ์ให้ผู้พิพากษาศาลโลกชาวฝรั่งเศสอีกคนหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ตาม มีเพียงที่ปรึกษาฯ ชาวฝรั่งเศสคนเดียวที่เดินทางไปรับรางวัลเกียรติยศดังกล่าวในกรุงพนมเปญสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ความเคลื่อนไหวล่าสุด นับเป็นความพยายามทำสงครามจิตวิทยาของรัฐบาลฮุนเซน ซึ่งในวันเดียวกันได้กล่าวอ้างว่า การวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในกรุงเฮกวันที่ 11 พ.ย.2556 แม้จะไม่ได้ชี้ขาดว่าพื้นที่ภูมะเขือเป็นของฝ่ายใด แต่เมื่อศาลฯ ใช้แผนที่ผนวกซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้เสนอประกอบคำร้อง ก็แสดงให้เห็นว่า พื้นที่พิพาทซึ่งอยู่ถัดปราสาทพระวิหารไปทางทิศตะวันตกราว 2 กิโลเมตร เป็นของกัมพูชาตามที่ระบุในแผนที่ด้วย

การกล่าวอ้างดินแดนตามแผนที่ของฝ่ายกัมพูชานับเป็นการไม่แยแสต่อการโต้แย้งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่ว่า ศาลโลกไม่ได้ใช้แผนที่ผนวกที่ฝ่ายกัมพูชาจัดทำขึ้นเองประกอบการพิจารณาตีความ และการตีความของศาลโลกก็ไม่ได้เป็นการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องเจรจากันต่อไป

พิธีมอบอิสริยาภรณ์จัดขึ้นที่กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ วันที่ 21 ธ.ค.2556 โดยนายฮอร์นัมฮอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ เป็นผู้มอบ แต่มีเพียงนายฌ็อง-มาร์ค ซอเรล (Jean Marc Sorel) ที่ปรึกษากฎหมายชาวฝรั่งเท่านั้นเดินทางไปรับ สำนักข่าวกัมพูชารายงานวันอังคาร 24 ธ.ค.นี้

อีก 3 คนที่ไม่เดินทางไปรับมอบอิสริยาภรณ์ได้แก่ นายแฟรงคลิน เบอร์แมน (Franklin Berman) ชาวอังกฤษ นายร็อดแมน บันดี (Rodman Bundy) ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นทีมกฎหมายของกัมพูชา กับนายกิลแบร์ กูลโลม (Gilbert Guillaume) ผู้พิพากษาศาลโลกชาวฝรั่งเศส

นายฮอง กล่าวในพิธีนี้ว่า รัฐบาลมอบอิสริยาภรณ์ให้บุคคลต่างๆ เหล่านี้เพื่อตอบแทนในความพยายามนำเสนอกรณีของกัมพูชาเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารในศาลระหว่างประเทศจนประสบความสำเร็จ ทั้งยังกล่าวถึงการรุกล้ำดินแดนของกัมพูชาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอีกด้วย สำนักข่าวซึ่งเป็นของกระทรวงแถลงข่าวรายงาน

วันที่ 11 พ.ย.2556 จึงเป็น “ชัยชนะทางประวัติศาสตร์ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับความขัดแย้งในบริเวณปราสาทพระวิหารที่กล่าวอ้างโดยประเทศไทย ทั้งนี้ ภายใต้การนำอันถูกต้องของนายกรัฐมนตรีสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน” สำนักข่าวอ้างคำพูดของนายฮอง

นายซอเรล ศาสตราจารย์ชาวฝรั่งเศสกล่าวในขณะเดียวกันว่า การดำเนินการในศาลยุติธรรมขององค์การสหประชาชาติเป็นภารกิจที่ยากลำบาก แต่ก็สิ้นสุดลงโดยเป็นผลในทางบวกสำหรับกัมพูชา และหวังว่ากัมพูชากับไทยจะมีสันติภาพซึ่งจะทำให้กัมพูชา “ได้รับอธิปไตยอย่างสมบูรณ์” จากคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี พ.ศ.2505 สำนักข่าวของทางการกล่าว
.
<bR><FONT color=#000033>ความเคลื่อนไหวล่าสุดนับเป็นความพยายามทำสงครามจิตวิทยาต่อเนื่อง นับตั้งแต่ศาลโลกอ่านคำวินิจฉัยการตีความคำพิพากษาปี 2505 ในวันที่ 11 พ.ย.เป็นต้นมาผู้นำในรัฐบาลกัมพูชาหลายคนได้ทยอยกันออกยืนยันว่าศาลสูงสุดขององค์การสหประชาชาติในกรุงเฮกมีคำพิพากษายกดินแดนพิพาทรอบๆ ปราสาทพระวิหารให้ตกเป็นของกัมพูชาทั้งหมด จากตีน ชะง่อนผา ครอบคลุมถึงภูมะเขือที่อยู่ห่างออกไปราว 2 กม. -- ภาพ: สำนักข่าวกัมพูชา/ฉิม นารี. </b>
.
ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวาของจีนก่อนหน้านี้ นายฮอง ให้สัมภาษณ์ในวันเดียวกันว่ากัมพูชากำลังรอเจรจากับไทยในการดำเนินการตามคำสั่งศาลโลก แต่ “ตามที่ทุกคนทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองของไทยในเวลานี้ ดังนั้น เราจึงต้องรอไปก่อน” และเมื่อเมื่อสถานการณ์ในไทยกลับสู่ภาวะปกติ กัมพูชาจะเปิดการเจรจา และเรียกร้องให้ไทยถอนกองกำลังออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารตามคำสั่งศาล

ศาลระหว่างประเทศอ่านคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนทั้งหมดของชะง่อนผา (promontory) ปราสาทพระวิหาร และไทยอยู่ภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องถอนทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือผู้รักษาการณ์ที่ประจำการออกจากพื้นที่ดังกล่าว

นายฮอง กล่าวว่า ศาลฯ ไม่ได้ตัดสินว่าบริเวณภูมะเขือเป็นของกัมพูชาหรือไทย แต่ศาลได้รับแผนที่ภาคผนวก 1 (Annex I) ประกอบคำร้องขอให้ตีความคำพิพากษาเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ภูมะเขือจึงตั้งอยู่ในดินแดนกัมพูชาตามที่ระบุในแผนที่

การกล่าวอ้างของนายฮอง เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งหลังจากบุคคลสำคัญในรัฐบาลหลายคนได้ออกยืนยันตลอดมาว่า ศาลสูงสุดขององค์การสหประชาชาติ ได้ตัดสินให้พื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบๆ ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยกล่าวกล่าวว่า แผนที่ผนวกที่กัมพูชานำไปใช้ในศาลโลกครั้งล่าสุดนี้ไม่ใช่แผนที่ใช้อ้างอิงในคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 จึงไม่มีผลใดๆ ต่อการกำหนดเส้นเขตแดน และการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ก็เป็นเพียงการตีความตามอักษรในมาตราหนึ่งของคำพิพากษาเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ที่ศาลโลกยกปราสาทพระวิหารให้ตกเป็นของกัมพูชาโดยไม่ได้ชี้ขาดใดๆ เกี่ยวกับเส้นเขตแดน

เจ้าหน้าที่ของไทยกล่าวว่า การตีความของศาลโลกครั้งใหม่ มีผลบังคับต่อพื้นที่บริเวณ “ชะง่อนผา” รอบๆ ตัวปราสาทซึ่งกินอาณาบริเวณไปถึงตีนภูมะเขือเท่านั้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น