xs
xsm
sm
md
lg

“บิล คลินตัน” เยือนพม่า ให้กำลังใจปฏิรูป-แก้ไขความรุนแรง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>อดีตประธานาธิบีสหรัฐปราศรัยที่ศูนย์สันติภาพพม่าในนครย่างกุ้งวันพฤหัสบดี 14 พ.ย.2556 เป็นกำลังใจให้การพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ตำหนิเรื่องความรุนแรงทางศาสนา นายคลินตันก่อตั้ง ในขณะที่นางฮิลลารี คลินตัน ภรรยาและเชลซีบุตรีเพียงคนเดียวก็ได้ตั้ง มูลนิธิเชลซี-ฮิลลารี คลินตัน ขึ้นมาเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมสันติภาพ สิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาธิปไตย นายคลินตันเยือนพม่ามาแล้วหลายครั้งในช่วงไม่กี่มานี้เช่นกับอดีตประธานาธิบจิมมี คาร์เตอร์ ในภารกิจเพื่อสันติภาพ. --  REUTERS/Soe Zeya Tun. </b>

ย่างกุ้ง 14 พ.ย.2556 เอพี - อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ บิล คลินตัน กล่าวว่า ความรุนแรงทางศาสนาในพม่าประเทศที่เปิดตัวเองใหม่ๆ ทำให้โลกป่วย นายคลินตัน เริ่มเยือนพม่าในวันพฤหัสบดี (14 พ.ย.) นี้ และได้พบผู้นำทางการเมือง และผู้นำฝ่ายประชาสังคมต่างๆ หารือเกี่ยวกับความท้าทายที่ต้องเผชิญขณะพม่าพัฒนาประชาธิปไตย หลังการปกครองโดยระบอบทหารเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ

การโจมตีชาวมุสลิมเป็นหัวข้อที่คนในประเทศนี้ที่มีประชากร 60 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง ไม่นานหลังจากประธานาธิบดีเต็งเส่ง จัดตั้งรัฐบาลกึ่งพลเรือนขึ้นมาเมื่อต้นปี 2554 และเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ และการเมืองแบบรอบด้าน ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมกลุ่มน้อยในประเทศที่หยั่งรากมายาวนานจึงเริ่มปรากฏออกมาให้เห็น

ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตกว่า 240 คน อีก 240,000 คน ต้องหลบหนีจากบ้าน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่ถูกไล่ล่าโดยฝูงชนชาวพุทธที่ถือไม้ และมีดดาบเป็นอาวุธ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความมั่นคงถูกกล่าวหาว่าได้แต่ยืนดูเหตุการณ์ และบางกรณีช่วยเหลือเป็นใจให้กลุ่มผู้ก่อจลาจลด้วยแต่ก็ยังไม่เคยมีเจ้าหน้าที่คนใดถูกลงโทษ

และรัฐบาล -- เช่นเดียวกันกับประชากรส่วนใหญ่ -- พากันนิ่งเงียบ

นายคลินตัน กล่าวว่า ทั้งโลกต่างเอาใจช่วยพม่า “โลกทั้งโลกเชียร์ข่าวดีทุกชิ้น และจะรู้สึกป่วยทุกครั้งที่พวกเขาได้อ่านเกี่ยวกับความรุนแรงทางศาสนา”

“ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่าทุกๆ แห่งในโลก ผู้คนต่างเหนื่อยหน่ายกับเหตุการณ์ที่ผู้คนเข่นฆ่ากัน และต่อสู้กันเนื่องมาจากความแตกต่างของพวกเขา” นายคลินตันกล่าว

ในขณะอดีต ปธน.สหรัฐฯ ยอมรับว่าสถานการณ์ในพม่ามีลักษณะเฉพาะ และมีประวัติศาสตร์แบบของตนเอง แต่ก็กล่าวว่า อีกหลายประเทศแตกแยกกันเนื่องจากความแตกต่าง รวมทั้งหลายประเทศในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เช่น โคโซโว และบอสเนีย รวันดา ไอร์แลนด์เหนือ อิสราเอล และปาเลสไตน์

“บางบทเรียนสามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน” และ “ไม่มีใครที่ถูกต้องตลอดเวลา และปัญหาที่สลับซับซ้อนทั้งหลายควรได้รับการแก้ไขโดยกลุ่มคนหมู่มากที่มีความรู้ และประสบการณ์แตกต่างกันจึงจะดีที่สุด” นายคลินตันกล่าว

“ผมไม่คิดว่าเราจะประเมินต่ำๆ ได้เลย จะมีคนมากสักเท่าไรที่เพียงแต่หวังอยากจะเห็นคุณ (พม่า) ประสบความสำเร็จ แม้ว่าหลายคนจะไม่เคยมาที่นี่ และหลายคนอาจจะไม่ได้มาที่นี่เลยก็ตาม” อดีตผู้นำสหรัฐฯ กล่าว.
.
<bR><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเต็งเส่งเปิดทำเนียบในกรุงเนปีดvต้อนรับนายบิล คลินตัน เข้าเยี่ยมเยือนในวันพฤหัสบดี 14 พ.ย.2556 วันเดียวกันอดีตผู้นำสหรัฐไปปราศรัย พบปะสนทนากับคนหลายฝ่ายเกี่ยวกับขั้นตอนในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ. -- Associated Press. </b>
<bR><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่าเปิดบ้านพักริมทะเลสาบต้อนรับอดีตประธานาธิบลดีสหรัฐบิล คลินตัน เข้าเยี่ยมเยือนในวันพฤหัสบดี 14 พ.ย.2556 ข้างหลังเป็นภาพนายพลอองซาน บิดา นายคลินตันกับครอบครัวเป็นแขกสนิทสนมของบ้านหลังนี้มานาน. -- Associated Press. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น