ในขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมจำนวนมากประสบปัญหามากว่า 5 ปี เยอรมนีแทบไม่มีความเดือดร้อน ความสามารถในการนำประเทศฝ่าอุปสรรคได้อย่างสง่าผ่าเผยส่งผลให้นางแอนเกลา แมร์เคิล ได้รับเลือกเป็นผู้บริหารประเทศต่ออีกหนึ่งสมัย เยอรมนีมีตัวอย่างดีๆ มากมายที่หลายประเทศรวมทั้งอเมริกาอยากนำไปทำบ้าง แต่เยอรมนีมิใช่มีเฉพาะตัวอย่างดีๆ เท่านั้น หากมีตัวอย่างในทางไม่ดีที่ไม่น่าลอกเลียนเพราะมันจะนำไปสู่ความหายนะด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ อดีตรัฐมนตรีแรงงานอเมริกันในยุคบิล คลินตันเป็นประธานาธิบดีชื่อ โรเบิร์ต ไรซ์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเมืองและขณะนี้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเลย์เสนอว่า การศึกษาของชาวอเมริกันควรทำตามแนวเยอรมนี นั่นคือ เปลี่ยนจากมุ่งเน้นการเรียนในห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่ไปสู่แนวที่เน้นการปฏิบัติการและการฝึกงานกับบริษัทห้างร้านที่เป็นผู้จ้างคนงานจริงๆ การเน้นด้านการฝึกงานมีผลทำให้ผู้จบการศึกษามีวิชาความรู้และทักษะตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการส่งผลให้หางานได้ง่าย เนื่องจากโอกาสที่จะเรียนผิดทางและหางานทำไม่ได้มีน้อย ณ วันนี้ เยอรมนีจึงมีอัตราการว่างงานเพียง 5% ในขณะที่อเมริกามี 7.3% และสหภาพยุโรปโดยเฉลี่ยมีสูงถึง 11%
นอกจากจะมีโอกาสตกงานน้อยกว่าผู้อื่นแล้ว ชาวเยอรมันยังได้ค่าแรงงานและสวัสดิการสูงแบบไม่น้อยหน้าใครอีกด้วย เช่น ค่าแรงของพนักงานประกอบรถยนต์ในเยอรมนีสูงเกือบสองเท่าค่าแรงของพนักงานในอเมริกา นอกจากนั้น พวกเขายังได้เวลาหยุดพักผ่อนมากกว่าอีกด้วย รถยนต์เยอรมันแพงกว่าแต่ขายได้ในขณะที่รถยนต์อเมริกันถูกกว่าแต่ขายไม่ได้แบบคงเส้นคงวาเหมือนรถเยอรมัน เพราะอะไร? เพราะผู้ซื้อไว้วางใจในคุณภาพอันเป็นเลิศแบบเสมอต้นเสมอปลายของรถเยอรมันนั่นเอง การรักษาไว้ซึ่งคุณภาพอันเป็นเลิศแบบเสมอต้นเสมอปลายคือจุดขายที่ทำให้สินค้าเยอรมันสู้ชาวโลกได้ส่งผลให้เศรษฐกิจแข็งแกร่งแม้ในยามประเทศอื่นประสบปัญหา
นอกจากรัฐมนตรีแล้วยังมีนักวิจารณ์อเมริกันจำนวนมากต้องการให้คนอเมริกันเดินตามชาวเยอรมันในบางด้านอีกด้วย เช่น เรื่องการรับประทานอาหารให้หมดจาน หรืออาจเรียกว่าการกินไม่เผื่อหมาก็น่าจะได้ ตามร้านอาหารโดยทั่วไป ชาวอเมริกันซึ่งเป็นนักรับประทานอันดับต้นๆ ของโลกมักสั่งอาหารมาในปริมาณเกินที่ตนจะรับประทานหมด อาหารที่เหลือมักถูกทิ้งไปให้เสียเปล่า ยิ่งเป็นในร้านอาหารจำพวกเลือกรับประทานได้แบบไม่อั้นโดยจ่ายราคาเดียวที่เรียกว่า “บุฟเฟต์” ซึ่งในขณะนี้มีความนิยมอย่างแพร่หลายในอเมริกาด้วยแล้ว ผู้เข้าไปรับประทานจะตักอาหารมาเต็มจานหลายครั้งและแต่ละครั้งมักจะรับประทานไม่หมด
ในเยอรมนี การกระทำดังกล่าวมักไม่ค่อยมีให้เห็นด้วยปัจจัยสองประการ นั่นคือ ชาวเยอรมันโดยทั่วไปถูกบ่มเพาะนิสัยให้ไม่ทิ้งอาหาร และเยอรมนีมีกฎหมายห้ามทำอย่างนั้นเด็ดขาด เมื่อไม่นานมานี้มีเรื่องเล่าในนิตยสาร Moneylife เขียนโดยชาวอินเดียจากประสบการณ์ของเขา นั่นคือ เขาไปเยี่ยมเพื่อนที่เยอรมนีและเพื่อนพาไปรับประทานอาหารในร้านเป็นการต้อนรับ ความดีใจที่ได้พบกัน เจ้าภาพจึงสั่งอาหารมาหลายอย่าง หลังจากรับประทานอิ่มแล้ว ในขณะที่พวกเขากำลังจะออกจากร้าน มีลูกค้าร้องเอะอะขึ้นมาเป็นภาษาเยอรมันที่เขาไม่เข้าใจ พร้อมกันนั้นก็มีคนใช้โทรศัพท์มือถือโทร.ไปหาใครสักคน เพียงไม่กี่นาทีก็มีชายในเครื่องแบบเดินเข้ามาในร้านอาหารและพูดกับพวกเขาเป็นภาษาอังกฤษว่า พวกเขาละเมิดกฎหมายที่เหลืออาหารไว้ในจานบนโต๊ะ ชาวอินเดียบอกว่าก็เขาจ่ายค่าอาหารแล้วนี่นา แต่คนในเครื่องแบบบอกว่า “เงินเป็นของท่าน แต่อาหารเป็นทรัพยากรของสังคม ฉะนั้น ท่านต้องเสียค่าปรับ 50 ยูโร” ชาวอินเดียยอมจำนนด้วยเหตุผลแบบหน้าจ๋อยและยอมจ่ายค่าปรับ การบังคับใช้กฎหมายนั้นเกิดขึ้นได้เพราะชาวเยอรมันไม่ดูดายเมื่อเห็นการละเมิดกฎหมายเกิดขึ้นแบบตำตา
หากประชาชนของอเมริกาซึ่งหลายๆ วงการมองว่าเป็นผู้พัฒนาจนก้าวหน้าล้ำโลกยังเห็นว่าอเมริกาควรเอาเยี่ยงเยอรมัน เราคนไทยจะไม่ลองนำมาทำกันบ้างหรือ?
อันที่จริงในบางด้าน เราเคยทำแบบชาวเยอรมันมาก่อนแล้ว แต่มาตอนนี้ เราหลงผิดคิดว่าทำตามชาวอเมริกันจะดีกว่าไม่ว่าจะเป็นการศึกษาแบบมุ่งเน้นเอาปริญญามากกว่าการฝึกงานจริงๆ หรือการรับประทานอาหารแบบกินเผื่อหมา
ย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ผู้เขียนในฐานะลูกชาวนาถูกสอนว่าข้าวทุกเมล็ดในชามมีคุณค่าเพราะกว่าจะได้มาแสนลำบาก ฉะนั้น ต้องรับประทานข้าวในชามให้หมดทุกเมล็ด ยิ่งกว่านั้น ยังมีเพื่อนบ้านซึ่งเป็นชาวอีสานอพยพที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดกว่านั้นอีก นั่นคือ เขาดื่มน้ำล้างชามตามอาหารเข้าไปด้วย ทั้งนี้เพราะถิ่นฐานบ้านเดิมของเขาในภาคอีสานขาดแคลนน้ำแสนสาหัสในหน้าแล้ง เนื่องจากในทุ่งนาในยุคนั้น ไม่มีใครล้างชามด้วยสบู่นอกจากใส่น้ำลงไปแล้วเอามือถูๆ เป็นเสร็จ น้ำนั้นจึงดื่มตามอาหารได้โดยไม่เป็นปัญหา ด้วยเหตุนี้ หากไม่ต้องการเลียนแบบชาวเยอรมันก็อาจหันไปยึดหลักของชาวอีสานที่อ้างถึงก็ได้ ที่เขียนมาเช่นนี้มิใช่จะเสนอให้ไปดื่มน้ำล้างจานกัน หากเสนอว่าอย่ารับประทานอาหารแบบทิ้งๆ ขว้างๆ หรือแบบกินเผื่อหมาเนื่องจากอาหารเป็นทรัพยากรร่วมกันของชาวโลกดังที่ชาวเยอรมันผู้มั่งมีโดยทั่วไปอธิบายให้ชาวอินเดียผู้มีเงินน้อยกว่าฟัง
อันที่จริงในบางเรื่อง เราไม่ต่างกับเยอรมนีนัก เช่น เรื่องการเลือกสตรีเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ อย่างไรก็ตาม นอกจากการเป็นสตรีด้วยกันแล้ว นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีมีความแตกต่างจากนายกฯ ของไทยแบบเทียบกันไม่ติด เรื่องนี้คงไม่ต้องขยายมากมายเกินไปกว่านายกฯ ของเยอรมนีได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถเป็นเลิศจนเป็นผู้นำของสหภาพยุโรปได้ ส่วนนายกฯ ไทยไม่รู้แม้กระทั่งว่าเมืองไทยไม่มีจังหวัดหาดใหญ่ หรือภาษาไทยไม่มีคำว่า “คอ-นก-รีต” และไปถึงไหนก็มักนำไก่ไปปล่อยเป็นเล้าๆ
ย่อมเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ความเซ่อซ่าของนายกฯ ไทยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฉ้อฉลของคนที่หนีคดีอาญาไทยไปบงการอยู่ยังต่างประเทศ คนคนนี้มีกลวิธีสุดแยบยลจนคนคนไทยส่วนใหญ่ตามไม่ทัน เช่น การสร้างกองกำลังของคนเสื้อแดงขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกระบวนการเผด็จการทางรัฐสภาโดยอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยเพราะทั้งรัฐบาลและสภาฯ มาจากการเลือกตั้ง กระบวนการนี้มีที่มาจากเยอรมนีในสมัยที่ฮิตเลอร์กรุยทางสร้างอำนาจเผด็จการให้ตัวเอง ฮิตเลอร์ใช้กระบวนการในรัฐสภาโดยมีกองกำลังเสื้อสีน้ำตาลสนับสนุนอยู่ข้างนอก เราทราบดีแล้วว่า ฮิตเลอร์พาเยอรมนีไปสู่ความหายนะในสงครามโลกครั้งที่ 2
มักมีคำถามเสมอว่าเพราะอะไรฮิตเลอร์จึงทำเช่นนั้นได้ ในเมื่อชาวเยอรมันมีการศึกษาดีจนประเทศมีความก้าวหน้าสูง ในบรรดาปัจจัยสำคัญที่นักวิชาการอ้างถึงได้แก่ ชาวเยอรมันเจ็บใจที่ต้องชดใช้ความเสียหายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ในฐานะผู้แพ้ให้แก่มหาอำนาจ ฮิตเลอร์ใช้ความเจ็บใจนั้นปลุกปั่นชาวเยอรมันให้สนับสนุนตนได้ทั้งในและนอกสภาฯ
มองตามนี้ มีคำถามตามมาว่า เพราะอะไรคนไทยจึงเดินตามทรชนที่ฉ้อฉลที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยในเมื่อในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมาเมืองไทยก็พัฒนาก้าวหน้ามาเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีใครสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้ในแนวที่ผู้ชนะสงครามทำกับชาวเยอรมัน? คำตอบคือ ส่วนหนึ่งแสนโง่หรืองี่เง่าจนไม่รู้เท่าทันจึงถูกหลอกและปลุกปั่นได้ง่าย และอีกส่วนหนึ่งฉ้อฉลจึงหวังผลประโยชน์จากคนฉ้อฉลด้วยกันแม้คนคนนั้นจะคิดยึดเมืองไทยไปครอบครองเสมือนเป็นของตนเองแบบเบ็ดเสร็จก็ตาม
เยอรมนีฟื้นตัวได้ในเวลาอันสั้นหลังฮิตเลอร์พาไปสู่ความหายนะเพราะมีระบบการศึกษาดี มีผู้นำดีรวมทั้งสตรีที่โดดเด่นเช่นแอนเกลา แมร์เคิล และประชาชนไม่ดูดาย เมื่อเมืองไทยประสบความหายนะเพราะเดินตามก้นทรชนไปด้วยความหลงผิดและคิดเอาประโยชน์จากมัน เมืองไทยจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ในเวลาอันสั้นไม่ได้เพราะระบบการศึกษาของไทยมุ่งไปในทางสร้างคนจำพวกมีปริญญาแต่อ่านคำว่า“คอนกรีต” ผิดอย่างน่าอดสู นอกจากนั้น คนไทยส่วนใหญ่ยังดูดายแบบเข้ากระดูกดำอีกด้วย ความดูดายเป็นบาปซึ่งกำลังสาปประเทศไทยให้เดินไปลงเหวเช่นเดียวกับคนเลวทรามกำลังทำกันอยู่
เมื่อไม่นานมานี้ อดีตรัฐมนตรีแรงงานอเมริกันในยุคบิล คลินตันเป็นประธานาธิบดีชื่อ โรเบิร์ต ไรซ์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเมืองและขณะนี้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเลย์เสนอว่า การศึกษาของชาวอเมริกันควรทำตามแนวเยอรมนี นั่นคือ เปลี่ยนจากมุ่งเน้นการเรียนในห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่ไปสู่แนวที่เน้นการปฏิบัติการและการฝึกงานกับบริษัทห้างร้านที่เป็นผู้จ้างคนงานจริงๆ การเน้นด้านการฝึกงานมีผลทำให้ผู้จบการศึกษามีวิชาความรู้และทักษะตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการส่งผลให้หางานได้ง่าย เนื่องจากโอกาสที่จะเรียนผิดทางและหางานทำไม่ได้มีน้อย ณ วันนี้ เยอรมนีจึงมีอัตราการว่างงานเพียง 5% ในขณะที่อเมริกามี 7.3% และสหภาพยุโรปโดยเฉลี่ยมีสูงถึง 11%
นอกจากจะมีโอกาสตกงานน้อยกว่าผู้อื่นแล้ว ชาวเยอรมันยังได้ค่าแรงงานและสวัสดิการสูงแบบไม่น้อยหน้าใครอีกด้วย เช่น ค่าแรงของพนักงานประกอบรถยนต์ในเยอรมนีสูงเกือบสองเท่าค่าแรงของพนักงานในอเมริกา นอกจากนั้น พวกเขายังได้เวลาหยุดพักผ่อนมากกว่าอีกด้วย รถยนต์เยอรมันแพงกว่าแต่ขายได้ในขณะที่รถยนต์อเมริกันถูกกว่าแต่ขายไม่ได้แบบคงเส้นคงวาเหมือนรถเยอรมัน เพราะอะไร? เพราะผู้ซื้อไว้วางใจในคุณภาพอันเป็นเลิศแบบเสมอต้นเสมอปลายของรถเยอรมันนั่นเอง การรักษาไว้ซึ่งคุณภาพอันเป็นเลิศแบบเสมอต้นเสมอปลายคือจุดขายที่ทำให้สินค้าเยอรมันสู้ชาวโลกได้ส่งผลให้เศรษฐกิจแข็งแกร่งแม้ในยามประเทศอื่นประสบปัญหา
นอกจากรัฐมนตรีแล้วยังมีนักวิจารณ์อเมริกันจำนวนมากต้องการให้คนอเมริกันเดินตามชาวเยอรมันในบางด้านอีกด้วย เช่น เรื่องการรับประทานอาหารให้หมดจาน หรืออาจเรียกว่าการกินไม่เผื่อหมาก็น่าจะได้ ตามร้านอาหารโดยทั่วไป ชาวอเมริกันซึ่งเป็นนักรับประทานอันดับต้นๆ ของโลกมักสั่งอาหารมาในปริมาณเกินที่ตนจะรับประทานหมด อาหารที่เหลือมักถูกทิ้งไปให้เสียเปล่า ยิ่งเป็นในร้านอาหารจำพวกเลือกรับประทานได้แบบไม่อั้นโดยจ่ายราคาเดียวที่เรียกว่า “บุฟเฟต์” ซึ่งในขณะนี้มีความนิยมอย่างแพร่หลายในอเมริกาด้วยแล้ว ผู้เข้าไปรับประทานจะตักอาหารมาเต็มจานหลายครั้งและแต่ละครั้งมักจะรับประทานไม่หมด
ในเยอรมนี การกระทำดังกล่าวมักไม่ค่อยมีให้เห็นด้วยปัจจัยสองประการ นั่นคือ ชาวเยอรมันโดยทั่วไปถูกบ่มเพาะนิสัยให้ไม่ทิ้งอาหาร และเยอรมนีมีกฎหมายห้ามทำอย่างนั้นเด็ดขาด เมื่อไม่นานมานี้มีเรื่องเล่าในนิตยสาร Moneylife เขียนโดยชาวอินเดียจากประสบการณ์ของเขา นั่นคือ เขาไปเยี่ยมเพื่อนที่เยอรมนีและเพื่อนพาไปรับประทานอาหารในร้านเป็นการต้อนรับ ความดีใจที่ได้พบกัน เจ้าภาพจึงสั่งอาหารมาหลายอย่าง หลังจากรับประทานอิ่มแล้ว ในขณะที่พวกเขากำลังจะออกจากร้าน มีลูกค้าร้องเอะอะขึ้นมาเป็นภาษาเยอรมันที่เขาไม่เข้าใจ พร้อมกันนั้นก็มีคนใช้โทรศัพท์มือถือโทร.ไปหาใครสักคน เพียงไม่กี่นาทีก็มีชายในเครื่องแบบเดินเข้ามาในร้านอาหารและพูดกับพวกเขาเป็นภาษาอังกฤษว่า พวกเขาละเมิดกฎหมายที่เหลืออาหารไว้ในจานบนโต๊ะ ชาวอินเดียบอกว่าก็เขาจ่ายค่าอาหารแล้วนี่นา แต่คนในเครื่องแบบบอกว่า “เงินเป็นของท่าน แต่อาหารเป็นทรัพยากรของสังคม ฉะนั้น ท่านต้องเสียค่าปรับ 50 ยูโร” ชาวอินเดียยอมจำนนด้วยเหตุผลแบบหน้าจ๋อยและยอมจ่ายค่าปรับ การบังคับใช้กฎหมายนั้นเกิดขึ้นได้เพราะชาวเยอรมันไม่ดูดายเมื่อเห็นการละเมิดกฎหมายเกิดขึ้นแบบตำตา
หากประชาชนของอเมริกาซึ่งหลายๆ วงการมองว่าเป็นผู้พัฒนาจนก้าวหน้าล้ำโลกยังเห็นว่าอเมริกาควรเอาเยี่ยงเยอรมัน เราคนไทยจะไม่ลองนำมาทำกันบ้างหรือ?
อันที่จริงในบางด้าน เราเคยทำแบบชาวเยอรมันมาก่อนแล้ว แต่มาตอนนี้ เราหลงผิดคิดว่าทำตามชาวอเมริกันจะดีกว่าไม่ว่าจะเป็นการศึกษาแบบมุ่งเน้นเอาปริญญามากกว่าการฝึกงานจริงๆ หรือการรับประทานอาหารแบบกินเผื่อหมา
ย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ผู้เขียนในฐานะลูกชาวนาถูกสอนว่าข้าวทุกเมล็ดในชามมีคุณค่าเพราะกว่าจะได้มาแสนลำบาก ฉะนั้น ต้องรับประทานข้าวในชามให้หมดทุกเมล็ด ยิ่งกว่านั้น ยังมีเพื่อนบ้านซึ่งเป็นชาวอีสานอพยพที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดกว่านั้นอีก นั่นคือ เขาดื่มน้ำล้างชามตามอาหารเข้าไปด้วย ทั้งนี้เพราะถิ่นฐานบ้านเดิมของเขาในภาคอีสานขาดแคลนน้ำแสนสาหัสในหน้าแล้ง เนื่องจากในทุ่งนาในยุคนั้น ไม่มีใครล้างชามด้วยสบู่นอกจากใส่น้ำลงไปแล้วเอามือถูๆ เป็นเสร็จ น้ำนั้นจึงดื่มตามอาหารได้โดยไม่เป็นปัญหา ด้วยเหตุนี้ หากไม่ต้องการเลียนแบบชาวเยอรมันก็อาจหันไปยึดหลักของชาวอีสานที่อ้างถึงก็ได้ ที่เขียนมาเช่นนี้มิใช่จะเสนอให้ไปดื่มน้ำล้างจานกัน หากเสนอว่าอย่ารับประทานอาหารแบบทิ้งๆ ขว้างๆ หรือแบบกินเผื่อหมาเนื่องจากอาหารเป็นทรัพยากรร่วมกันของชาวโลกดังที่ชาวเยอรมันผู้มั่งมีโดยทั่วไปอธิบายให้ชาวอินเดียผู้มีเงินน้อยกว่าฟัง
อันที่จริงในบางเรื่อง เราไม่ต่างกับเยอรมนีนัก เช่น เรื่องการเลือกสตรีเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ อย่างไรก็ตาม นอกจากการเป็นสตรีด้วยกันแล้ว นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีมีความแตกต่างจากนายกฯ ของไทยแบบเทียบกันไม่ติด เรื่องนี้คงไม่ต้องขยายมากมายเกินไปกว่านายกฯ ของเยอรมนีได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถเป็นเลิศจนเป็นผู้นำของสหภาพยุโรปได้ ส่วนนายกฯ ไทยไม่รู้แม้กระทั่งว่าเมืองไทยไม่มีจังหวัดหาดใหญ่ หรือภาษาไทยไม่มีคำว่า “คอ-นก-รีต” และไปถึงไหนก็มักนำไก่ไปปล่อยเป็นเล้าๆ
ย่อมเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ความเซ่อซ่าของนายกฯ ไทยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฉ้อฉลของคนที่หนีคดีอาญาไทยไปบงการอยู่ยังต่างประเทศ คนคนนี้มีกลวิธีสุดแยบยลจนคนคนไทยส่วนใหญ่ตามไม่ทัน เช่น การสร้างกองกำลังของคนเสื้อแดงขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกระบวนการเผด็จการทางรัฐสภาโดยอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยเพราะทั้งรัฐบาลและสภาฯ มาจากการเลือกตั้ง กระบวนการนี้มีที่มาจากเยอรมนีในสมัยที่ฮิตเลอร์กรุยทางสร้างอำนาจเผด็จการให้ตัวเอง ฮิตเลอร์ใช้กระบวนการในรัฐสภาโดยมีกองกำลังเสื้อสีน้ำตาลสนับสนุนอยู่ข้างนอก เราทราบดีแล้วว่า ฮิตเลอร์พาเยอรมนีไปสู่ความหายนะในสงครามโลกครั้งที่ 2
มักมีคำถามเสมอว่าเพราะอะไรฮิตเลอร์จึงทำเช่นนั้นได้ ในเมื่อชาวเยอรมันมีการศึกษาดีจนประเทศมีความก้าวหน้าสูง ในบรรดาปัจจัยสำคัญที่นักวิชาการอ้างถึงได้แก่ ชาวเยอรมันเจ็บใจที่ต้องชดใช้ความเสียหายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ในฐานะผู้แพ้ให้แก่มหาอำนาจ ฮิตเลอร์ใช้ความเจ็บใจนั้นปลุกปั่นชาวเยอรมันให้สนับสนุนตนได้ทั้งในและนอกสภาฯ
มองตามนี้ มีคำถามตามมาว่า เพราะอะไรคนไทยจึงเดินตามทรชนที่ฉ้อฉลที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยในเมื่อในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมาเมืองไทยก็พัฒนาก้าวหน้ามาเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีใครสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้ในแนวที่ผู้ชนะสงครามทำกับชาวเยอรมัน? คำตอบคือ ส่วนหนึ่งแสนโง่หรืองี่เง่าจนไม่รู้เท่าทันจึงถูกหลอกและปลุกปั่นได้ง่าย และอีกส่วนหนึ่งฉ้อฉลจึงหวังผลประโยชน์จากคนฉ้อฉลด้วยกันแม้คนคนนั้นจะคิดยึดเมืองไทยไปครอบครองเสมือนเป็นของตนเองแบบเบ็ดเสร็จก็ตาม
เยอรมนีฟื้นตัวได้ในเวลาอันสั้นหลังฮิตเลอร์พาไปสู่ความหายนะเพราะมีระบบการศึกษาดี มีผู้นำดีรวมทั้งสตรีที่โดดเด่นเช่นแอนเกลา แมร์เคิล และประชาชนไม่ดูดาย เมื่อเมืองไทยประสบความหายนะเพราะเดินตามก้นทรชนไปด้วยความหลงผิดและคิดเอาประโยชน์จากมัน เมืองไทยจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ในเวลาอันสั้นไม่ได้เพราะระบบการศึกษาของไทยมุ่งไปในทางสร้างคนจำพวกมีปริญญาแต่อ่านคำว่า“คอนกรีต” ผิดอย่างน่าอดสู นอกจากนั้น คนไทยส่วนใหญ่ยังดูดายแบบเข้ากระดูกดำอีกด้วย ความดูดายเป็นบาปซึ่งกำลังสาปประเทศไทยให้เดินไปลงเหวเช่นเดียวกับคนเลวทรามกำลังทำกันอยู่