xs
xsm
sm
md
lg

คณะผู้แทนองค์การการประชุมอิสลามเข้าพม่าท่ามกลางการประท้วง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>พระสงฆ์กับประชาชนร่วมกันชุมนุมประท้วงในนครย่างhงเมื่อวันพุธ 13 พ.ย.2556  คณะจากองค์การคามร่วมมืออิสลาม (OIC) เดินทางถึงกรุงเนปีดอในค่ำวันเดียวกันและมีกำหนดจะไปยังเมืองสิตตเว รัฐระไค ในวันศุกร์นี้เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ แต่จะไม่ได้พบกับผู้นำโรฮิงญา กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านกระแสข่าวที่ว่า OIC กำลังจะเปิดสำนักงานในพม่าและขอร้องให้องค์การนี้นำเอาชาวมุสลิมเบงกาลีออกจากพม่าไป. -- Associated Press/Khin Maung Win. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - คณะผู้แทนจำนวน 11 คน จากองค์การประชุมปรึกษาอิสลาม (Organization of Islamic Cooperation) ที่นำโดย นายเอ็กมาเล็ดดิน อีห์ซาโนกลู (Ekmeleddin Ihsanoglu) เลขาธิการขององค์การ เดินทางถึงกรุงเนปีดอ ในวันพุธ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อพบหารือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายพม่า และไปสำรวจสภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชาวเบงกาลี หรือชาวมุสลิมโรฮิงญา ในคำจำกัดความของฝ่ายพม่า หลังจากเกิดเหตุรุนแรงหลายครั้ง และมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ตามรายงานของสื่อทางการพม่าในวันพฤหัสบดีนี้

คณะได้เข้าพบกับฝ่ายพม่าในเมืองหลวง และมีกำหนดจะเดินทางไปยังเมืองสิตตเว รัฐระไค (ยะไข่) ในวันศุกร์ เพื่อศึกษาพื้นที่จริง และสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมุสลิมเบงกาลี และในวันเสาร์คณะจะเดินทางไปยังนครย่างกุ้ง เพื่อพบกับนางอองซานซูจี ก่อนจะเดินทางออกจากพม่าในวันอาทิตย์

คณะของ OIC ไม่ได้พบกับผู้นำของชาวมุสลิมในยะไข่ แต่จะพบหารือกับทางการรัฐ และฝ่ายค้านในพม่า ในความพยายามไกล่เกลี่ยสร้างความสมานฉันท์ระหว่างชาวพุทธกับชาวอิสลามในรัฐทางตะวันตกที่มีปัญหา แต่จะไม่มีการเข้าแทรกแซงใดๆ กิจการภายในพม่า

OIC เป็นองค์การอิสลามนานาชาติที่ประกอบด้วยสมาชิก 57 ประเทศ เป็นองค์กรระหว่างประเทศใหญ่ที่สุด ถัดจากองค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งเมื่อปี 2512 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของโลกอิสลาม ส่งเสริมสันติภาพนานาชาติ และความมั่นคงปลอดภัยโดยกระชับความสมานฉันท์ระหว่างชาติอิสลามทั่วโลก

องค์การนี้ไม่ได้ลงนามเพื่อเป็นภาคีข้อตกลง และคำประกาศขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ได้จัดทำคำประกาศกรุงไคโรว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของตนเองให้สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม

ก่อนหน้านี้ ในวันพุธ ประชาชนนับร้อยคนถือป้ายประท้วงการเยือนของคณะจาก OIC โดยชุมนุมและเดินขบวนอยู่ทางเข้าทางทิศตะวันออกวัดมหาเจดีย์ชเวดากอง ในย่างกุ้ง โดยมีพระสงฆ์เข้าร่วมด้วยจำนวนมาก ขณะที่ทางการรัฐระไคกล่าวว่า ได้ห้ามการจัดชุมนุมประท้วงที่เมืองสิตตเวในวันศุกร์นี้ และผู้ประท้วงยอมล้มเลิกไป

กลุ่มผู้ประท้วงได้คัดค้านแผนการจัดตั้งสำนักงานของ OIC ในพม่า และเรียกร้องให้องค์การนี้นำเอาชาวเบกาลีออกไปจากดินแดนพม่า.
.
<bR><FONT color=#00003>คณะผู้แทนองค์การประชุมปรึกษาอิสลาม (Organization of Islamic Conference) ออกเดินทางจากนครย่างกุ้งเมื่อวันพุธไปยังกรุงเนปีดอ ในขณะที่ชาวพม่ารวมทั้งพระสงฆ์นับร้อยคนชุมนุมประท้วงการเยือนของคณะโดยระบุว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของพม่าและขอให้นำเอาชาวมุสลิมเบงกาลี (โรฮิงญา) ออกไปจากพม่าด้วย. -- Associated Press/Khin Maung Win. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น