xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐจะเจอทีเด็ดอะไรในซีเรีย? มองสถานการณ์ผ่านสื่อจีน-เวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ราวกับนัดแนะกันล่วงหน้า สื่อกลาโหมจีนและเวียดนามเสนอภาพจำลองการพันตูกลางอากาศระหว่างเครื่องบินขับไล่โจมตี MiG-29 ที่ผลิตโดยรัสเซียกับเอฟ-16 ของฝ่ายสหรัฐ ซีเรียได้รับเสียงเชียร์อย่างท่วมท้นจากสื่อจีนกับสื่อเวียดนามซึ่งทะยอยนำเอาแสนยานุภาพของรัฐบาลประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสสาด ออกแนะนำต่อผู้อ่านในช่วงหลายวันมานี้ โดยชี้ว่าซีเรียจะสามารถรับมือสหรัฐได้ ซึ่งท่าทีนี้ไม่น่าแปลกใจอะไรเนื่องจากทั้งจีน เวียดนามและซีเรีย ใช้อาวุธยุโธปกรณ์ตระกูลเดียวกัน สำหรับจีนการศึกที่อาจจะเกิดขึ้นนี้ยิ่งมีความหมายล้ำลึกเนื่องจากซีเรียเป็นลูกค้าอาวุธรายใหญ่ของจีนในตะวันออกกลาง.   </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ถึงแม้ว่าซีเรียจะมีกองทัพขนาดเล็กแต่ก็ได้ชื่อว่ามีอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยที่สุดอีกประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง สงครามยิว-อาหรับเมื่อ 40 ปีก่อนทำให้ซีเรียเห็นความจำเป็นจะต้องมีอาวุธทันสมัยประจำการอยู่เสมอและการศึกที่อาจจะเริ่มขึ้นอีกไม่นานนี้ซีเรียได้รับแรงเชียร์อย่างล้นหลามจากสื่อทางการจีนกับทางการเวียดนามซึ่งเป็นสองชาติในย่านเอเชียที่ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ตระกูลเดียวกับซีเรีย

สำหรับจีนการศึกครั้งนี้ยังมีความหมายยิ่งกว่านั้นเนื่องซีเรียเป็นลูกค้าอาวุธรายใหญ่ของจีน อาวุธจากจีนมีทั้งจรวดต่อสู้อากาศยาน จรวดต่อสู้เรือหลายรุ่น เรือเร็วโจมตีติดจรวดนำวิถีฯลฯ จรวดกับเรือรบเหล่านี้มีทั้งที่จีนวิจัยและผลิตเองและผลิตลอกเลียนต้นแบบของอดีตสหภาพโซเวียต

การโจมตีทางอากาศของสหรัฐกำลังจะพิสูจน์อานุภาพอาวุธจีนด้วย

คณะกรรมาธิการการต่างประเทศวุฒิสภาสหรัฐเพิ่งจะลงมติผ่านร่างข้อมติเกี่ยวกับปฏิบัติการโจมตีซีเรียแล้วเสร็จในคืนวันพุธ 4 ก.ย.นี้ (เวลาในประเทศไทย) เตรียมนำเสนอสู่การอภิปรายในรัฐสภาต้นสัปดาห์หน้า ปฏิบัติการของสหรัฐจะเป็น "การโจมตีอย่างจำกัด" และ “ปราศจาครองเท้าบู๊ตอเมริกันบนพื้น" (No American Boot on the Ground) ซึ่งหมายถึงจะไม่มีทหารราบหรือนาวิกโยธินเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการรบภาคพื้นดิน

ข้อมติยังบังคับว่าปฏิบัติการจะต้องแล้วเสร็จภายใน 60 วัน ซึ่งคาดว่าในที่สุดรัฐสภาก็จะพิจารณามาตรการกับเงื่อนไขต่างๆ ตามข้อมตินี้ ไม่ว่าจะโหวตรับรองหรือคัดค้านก็ตาม

การโจมตีอย่างจำกัดในคำจำกัดความของ นายจอห์น แคร์รี (John Kerry) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐนั้น มีจุดประสงค์เพื่อ "ลงโทษ" รัฐบาลประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสสาด ที่สหรัฐกล่าวหาว่าใช้อาวุธเคมีกับเป้าหมายพลเรือนในเขตยึดครองของฝ่ายต่อต้านชานกรุงดามัสกัสเมื่อวันที่ 21 ส.ค. ทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตกว่า 1,400 คน รวมทั้งเด็กๆ กว่า 400 คน

การโจมตีที่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดนี้มีเป้าหมายเพื่อลดขีดความสามารถในการใช้อาวุธเคมีของฝ่ายซีเรีย และเป็นการป้องปรามการใช้อาวุธต้องห้ามนี้อีก โดยไม่ได้มีเป้าประสงค์โค่นล้มประธานาธิบดีอัสสาดและนำกลุ่มใหม่ขึ้นครองอำนาจแทนในซีเรีย

ยังไม่ทราบว่าการโจมตีดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในวันใด แต่อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องผ่านการอภิปรายในรัฐสภาสัปดาห์หน้า ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเดียวกับสหประชาชาติเปิดเผยผลการตรวจพิสูจน์การใช้สารเคมีดังกล่าว แม้ยูเอ็นจะไม่พูดว่าเป็นฝีมือของฝ่ายใดกระทำก็ตาม

การเดินหน้าโจมตีซีเรียของสหรัฐยังมีขึ้นหลังจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ แม้กระทั่งการออกข้อมติ “ประณามการใช้อาวุธเคมี" โดยไม่ได้ระบุชื่อฝ่ายใดก็ยังถูกรัสเซียกับจีนใช้สิทธิ์ยับยั้ง

แต่นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่ารัสเซียไม่มีแผนที่จะทำสงครามในความขัดแย้งกรณีอาวุธเคมีซีเรีย

การโจมตีที่อาจจะมีขึ้นนี้จะดำเนินการโดยสหรัฐและฝรั่งเศส โดยได้แรงสนับสนุนหนุนจากกลุ่มสันนิบาติอาหรับและพันธมิตรในตะวันออกกลางราว 10 ประเทศ เชื่อกันว่าสหรัฐกำลังจะโจมตีเป้าหมายสำคัญทางทหารละเว้นการโจมตีทำลายแหล่งเก็บอาวุธเคมีซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อพลเรือนในวงกว้าง
.
<br><FONT color=#000033>จลรวดต่อสู้อากาศยานในกลุ่ม 9K31 สเตรลา-1 (Strela-1) หรือ SA-7 ในระบบของนาโต้ ติดตั้งบนยานลำเลียงพลหุ้มเกราะซื้อจากโซเวียต/รัสเซีย ซีเรียมีอยู่นับร้อยชุด การศึกที่อาจจะมีขึ้นนี้ไม่ใช่สงครามเต็มรูปแต่เป็น การโจมตีอย่างจำกัด ที่อาจจะใช้เวลาเพียง 60 วันโดยใช้จรวดร่อนโทมาฮอว์คที่ยิงจากเรือพิฆาตกับเรือดำน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลอาหรับเป็นอาวุธหลัก ซึ่งทำให้อาวุธต่อสู้อากาศยานกับระบบจรวดต้านจรวดของซีเรียมีบทบาทสำคัญและเรื่องนี้ก็เป็นจุดแข็งของซีเรียที่ยังมีขีปนาวุธยิงเป้าหมายระยะไกลอยู่จำนวนมาก สามารถใช้ยิงเรือสหรัฐได้ แต่อาวุธที่ซื้อจากจีน เกาหลีเหนือ อิหร่าน รวมทั้งผลิตเองยังจะต้องพิสูจน์คุณภาพและขีดความสามารถ.</b>
.
การโจมตีจะใช้จรวดร่อนโทมาฮอว์คเป็นหลักโดยยิงจากทั้งเรือพิฆาตและจากเรือดำน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอาหรับ อาจจะมีเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ B-1 กับ B-2 จากฐานทัพสักแห่งเหิรฟ้าไปร่วมวงด้วยในขั้นตอนทำลายฐานจรวดต่อสู้อากาศยานหรือที่ตั้งขีปนาวุธโจมตีระยะไกลของซีเรีย

ซีเรียครอบครองขีปนาวุธโจมตีเป้าหมายระยะไกลจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่เป็นของตกยุคจากโซเวียต แต่ก็มีจรวดโจมตีรุ่นใหม่อีกหลายรุ่นที่ซื้อจากจีนและเกาหลีเหนือ รวมทั้งจากอิหร่าน บางรุ่นซื้อสิทธิบัตรจากรัสเซียและอิหร่านไปผลิตเองในประเทศ ทั้งหมดมีระยะยิงตั้งแต่ 250-800 กิโลเมตร แต่ยังต้องพิสูจน์คุณภาพ

กองทัพเรือซีเรียเป็นกองกำลังขนาดเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับกองทัพบก กองทัพอากาศและกองกำลังต่อสู้อากาศยาน ซีเรียมีเรือดำน้ำชั้นโรมีโอ (Romeo-Class) ขนาด 1,800 ตันที่ผลิตในโซเวียต 2 ลำอายุกว่า 50 ปีแล้ว กับเรือเร็วโจมตีจากยุคโซเวียตและเรือยุคใหม่ที่ผลิตจากจีนอีกจำนวนหนึ่ง กองทัพอากาศเต็มไปด้วยเครื่องบินรบรุ่นเก่า MiG-21 จนถึง MiG-25 ที่ใช้มาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นโซเวียต

เครื่องบินรบอเนกประสงค์รุ่นใหม่ที่สุดคือ MiG-29 ถึงกระนั้นก็ยังล้าสมัยไม่แพ้กัน ยังไม่เคยอัปเกรด ยังใช้ระบบเรดาร์เก่า ระบบควบคุมต่างๆ ยังเป็นรุ่นเก่า

เพราะฉะนั้นจึงไม่มีใครเชื่อว่าซีเรียจะสามารถทำสงครามทางทะเลหรือทางอากาศกับแสนยานุภาพของสหรัฐได้ ไม่มีทางต่อกรกับเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์กที่มีพิษสงรอบตัวและติดระบบเรดาร์อีจิสที่มองเห็นฝ่ายข้าศึกล่วงหน้าในทุกมิติ
เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐมีเครื่องบินรบยุคที่ 4 "ซูเปอร์ฮอร์เน็ต" กับเครื่องบินทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ รวมจำนวนเกือบเท่ากับที่ซีเรียมีอยู่ทั้งกองทัพ ยังไม่ต้องพูดถึงเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชั้นเวอร์จิเนียที่ติดจรวดโทมาฮอว์ครุ่นที่ยิงเป้าหมายได้ไกลกว่าและบรรทุกจำนวนมากกว่า

แต่ซีเรียมีกองกำลังป้องกันทางอากาศที่เข้มแข็งมากพร้อมต่อกรกับจรวดโทมาฮอว์ค ซีเรียมีจรวดต่อสู้อากาศยานมากมายหลายชนิด มีจำนวนตั้งแต่ไม่กี่สิบไปจนถึงนับพันลูก รวมทั้งจรวดยิงอากาศยานที่บินระดับสูงแบบ SA-2 และ SA-3 ไปจนถึงระบบต่อสู้อากาศยานในยุคใหม่ เช่น SA-16 และ SA-20 ที่ผลิตในรัสเซีย จรวดหลายชนิดมีใช้ในกองทัพประชาชนจีนและกองทัพประชาชนเวียดนามเช่นกัน

อย่างไรก็ตามโทมาฮอว์คเป็นจรวดร่อนระยะต่ำซึ่งทำให้จรวดต่อสู้อากาศยานสำหรับยิงเครื่องบินในความสูง 20-40 กม.ใช้ไม่ได้ผล สหรัฐได้คำตอบเรื่องนี้อย่างดีจากครั้งสงครามอิรัก

เว็บไซต์ข่าวกลาโหมบางแห่งได้วิเคราะห์ว่าโอกาสที่อาวุธซีเรียจะสามารถทำอันตรายต่อเรือรบสหรัฐได้มีอยู่เพียง 10- 20% เท่านั้น ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ระบบต่อต้านเรดาร์ ระบบจรวดต่อต้านจรวด ต่อต้านการนำวิถีของสหรัฐในปัจจุบันก้าวหน้าไปไกลยิ่งกว่ายุคสงครามโคโซโวกับสงครามอิรัก

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผู้สังเกตการณ์ด้านกลาโหมจำนวนมากรอคอยอยากจะเห็น.
.
แสนยานุภาพเดียวกัน Huangqiu.Com
<bR ><FONT color=#000033>กองทัพเรือซีเรียมีเรือดำน้ำเก่าของโซเวียตจำนวน 2 ลำเป็นชั้นโรมีโอ (Romeo-Clas) ขนาด 1,800 ตัน ต่อในช่วงทศวรรษที่ 1950 มีระบบวาง  ทุนและทำลายทุ่นระเบิด ติดท่อยิงตอร์ปิโด 8 ท่อ หากมีโอกาสก็จมเรือรบสหรัฐได้เช่นกัน กองทัพเรือจีนเคยมีประจำการกว่า 10 ลำ แต่ปลดระวางไปทั้งหมดแล้ว. </b>
<bR ><FONT color=#000033>กองทัพเรือยังมีเรือฟริเกตชั้นริก้า (Riga-Class) ขนาด 1,160 ตันของโซเวียต 2 ลำใช้มาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ติดจรวดนำวิถีและตอร์ปิโดทำสงครามใต้น้ำ ผิวน้ำและต่อสู้อากาศยานได้ จีนซื้อสิทธิบัตรและต่อออกมาเป็นเรือแบบ 053 หรือเรือชั้นจี่หนาน (Jinan-class) ปัจจุบันยังมีประจำการในกองทัพเรือจีน ส่วนประเทศอื่นๆ ปลดประจำการไปหมดแล้วรวมทั้งอินโดนีเซียที่เคยมีอยู่ 7 ลำ. </b>
<bR ><FONT color=#000033>ซีเรียยังมีเรือเร็วโจมตีขนาดเล็กติดจรวดนำวิถีอีกราว 30 ลำเป็นกำลังหลัก หากมีโอกาสก็สามารถจมเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์กของสหรัฐได้เช่นกัน. </b>
<bR ><FONT color=#000033>ระบบจรวด K-300P บาสเตียน (Bastion-P) ซึ่งใช้จรวด P800 ยาโค้นต์ (Yakhont) ความเร็วซูเปอร์โซนิก 2 เท่าเสียง ยิงเรือรบจากชายฝั่งซื้อจากรัสเซีย แบบเดียวกับที่ใช้ในเวียดนาม ซีเรียมี 2 ชุด เวียดนามก็มี 2 ชุดเช่นกัน แต่เวียดนามไปไกลยิ่งกว่านั้น มีระบบจรวดล้ำยุค S-300PMU-1 อีก 2 ชุด ซีเรียจัดซื้อระบบอาวุธแบบเดียวกันนี้เมื่อปี 2553 แต่ยังจ่ายเงินไม่ครบ รัสเซียยังไม่ส่งให้. </b>
<bR ><FONT color=#000033>เครื่องบินโจมตีอเนกประสงค์ MiG-29 รุ่นเก่าของกองทัพอากาศรัสเซียเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ซีเรียมีกว่า 40 ลำ เพิ่งเซ็นสัญญาอัปเกรดไปในเดือน ก.ค.ปีที่แล้วแต่ยังไม่ทันได้เริ่มเนื่องจากเกิดสงครามกลางเมือง.  </b>
<bR><FONT color=#000033>มิก-29B รุ่นที่เก่ามากของรัสเซียในภาพที่ไม่ระบุวันถ่าย ปัจจุบันผลิตรุ่นใหม่ออกมาจนถึง MiG-29SMT สุดยอดของรุ่นก่อนจะมี MiG-35 ออกมาเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 4++ กองทัพอากาศซีเรียมี MiG-29 คละรุ่นประจำการราว 60 ลำใช้งานมานานกว่า 20 ปีแต่ก็ติดอาวุธได้หลากชนิดรวมทั้งจรวดรุ่นใหม่ที่ ยิงแล้วลืม ด้วย เซ็นซื้อไปอีก 24 ลำเมื่อปีที่แล้วเป็น MiG-29M และ M2 ยังไม่ทันได้ส่งมอบ ประเทศที่ใช้ MiG-29 ในย่านนี้คือมาเลเซีย พม่าและอินเดีย.</b>
<bR><FONT color=#000033>MiG-25 ฟ็อกซ์แบ็ท (Foxbat) ในระบบของนาโต้ขึ้นบินให้เห็นครั้งแรกในปี 2510 ค้างคาวจิ้งจอก ของรัสเซียเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 3 และ เป็นเครื่องบินขับไล่ลำแรกๆ ที่บินเร็วเหนือเสียงได้ในระดับ มัค-3 ทำให้ค่ายนาโต้ตะลึงพรึงเพริดในยุคสงครามเย็นและสหรัฐต้องเร่งพัฒนา F-15 ค่ายตะวันตกรู้จัก MiG-25 ดีขึ้นเมื่อนักบินโซเวียตแปรพักตร์คนหนึ่งนำสุดยอดแห่งอากาศยานทหารรุ่นนี้ไปลี้ภัยในญี่ปุ่นเมื่อปี 2519 ตามข้อมูลของเจส์ดีเฟ็นซ์กองทัพอากาศซีเรียมีประจำการระหว่าง 60-80 ลำ. </b>
<bR><FONT color=#000033>MiG-23 ฟล็อกเกอร์ (Flogger) เครื่องบินรบปีกหุบได้ลำแรกๆ ของค่ายรัสเซีย เป็นเรื่องที่แปลกและแหวกแนวในยุคสมัยโน้น ปฏิบัติภารกิจอเนกประสงค์และเป็น บข.ลำแรกที่โซเวียตสร้างขึ้นมาใช้กับระบบจรวดนำวิถียิงระยะพ้นสายตาที่เปลี่ยนยุคสมัยจากการทำ ด็อกไฟต์ มาเป็น ยิงแล้วบินกลับ หรือ ยิงแล้วลืม กองทัพอากาศซีเรียมีประจำการคละรุ่นกว่า 140 ลำ ฝ่ายต่อต้านกล่าวว่าฝ่ายรัฐบาลใช้ MiG-23 จากฐานทัพเมืองโอเล็ปโปไปถล่มพวกตนเมื่อต้นปีนี้. </b>
<bR><FONT color=#000033>จรวดในตระกูล S-75 ดวินา (Dvina) หรือ แซม 2 ยิงจากพื้นสู่อากาศที่เวียดนามเคยใช้ยิงบี-52 สหรัฐตกไปถึง 34 ลำเมื่อ 40 ปีที่แล้ว กองทัพซีเรียมีกว่า 200 ลูก จีนนำไปประดิษฐ์เป็นจรวดหงฉี-1 (HQ-1) กับหงฉี-2 (HQ-2) นอกจากในจีนแล้วปัจจุบันย่านนี้ยังมีใช้ในเวียดนามกับพม่าและอีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลก. </b>
<bR><FONT color=#000033>ภาพใกล้ของจรวดตระกูล S-75 ดวินา (Dvina) หรือ แซม 2 ที่เวียดนามเคยใช้ยิงบี-52 สหรัฐตกไปถึง 34 ลำในช่วงสงคราม จีนนำไปประดิษฐ์เป็นจรวดหงฉี-1 (HQ-1) กับหงฉี-2 (HQ-2) นอกจากในจีนแล้วปัจจุบันย่านนี้ยังมีใช้ในเวียดนามกับพม่าและอีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลก. </b>
<br><FONT color=#000033>จรวดต่อสู้อากาศยานบินระดับสูงในกลุ่ม S-200 แองการา/วีกา/ดูบนา (Angara/Vega/Dubna) หรือ SA-5 แกมม่อน (Gammon) ในระบบของนาโต้ ใช้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960  ซีเรียมี 2 กองพัน (8 ชุด) ซื้อต่อจากเกาหลีเหนือ ในพม่ามี 20 ชุด ยังมีใช้ในอีกกว่า 10 ประเทศ ส่วนรัสเซียปลดประจำการไปเกือบทั้งหมดแล้ว. </b>
<bR ><FONT color=#000033>จรวดอัตตาจรต่อสู้อากาศยานตระกูล 2K12 คิวบ์ (Kub) หรือ SA-6 เกนฟูล (Gainful) ในระบบของนาโต้ใช้มาตั้งแต่ยุคโซเวียต รัสเซียปลดประจำการหมดแล้วและนำไปใช้ยิงเป็นเป้าในการทดลองจรวดต่อต้านจรวดรุ่นใหม่ๆ แต่ยังมีประจำการในกองทัพซีเรียหลายร้อยลูกรวมทั้งในเวียดนามกับพม่า.</b>
<bR ><FONT color=#000033>จรวดยิงอากาศยานในกลุ่ม S-125 เนวา/เปชอรา (Neva/Pechora) หรือ SA-3 กวา (Goa) ในระบบของนาโต้ ซีเรียมีหลายร้อยลูก ย่านนี้มีใช้ในเวียดนามและพม่า ส่วนในกัมพูชาถูกนำไปทำลายเกือบ 300 ลูกเมื่อปี 2545 ในแผนการของสหรัฐและยูเอ็นที่เกรงว่าจะตกสู่มือกลุ่มก่อการร้ายและเป็นภัยต่อเครื่องบินโดยสาร. </b>
<br><FONT color=#000033>ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานติดจรวดบู๊ก (Buk) แบบเอ็ม2อี (M2E) หรือ  SA-17 กริซลี่ (Grizzly) ในระบบของนาโต้ ติดตั้งบนยานยนต์ให้เป็นจรวดอัตตาจร จีนผลิตออกมาเป็นหงฉี-16 เอและบี (HQ-16A/B) ของซีเรียซื้อจากโซเวียต/รัสเซีย ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด. </b>
<br><FONT color=#000033>จรวดต่อสู้อากาศยานนำวิถีในกลุ่ม S-125 เนวา/เปชอรา (Neva/Pechora) เป็นแบบอัตตาจรติดตั้งบนยานพาหนะได้หลายชนิด เพื่อใช้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่เฉพาะ นาโต้เรียกว่า กวา (Goa) ซีเรียมีหลายร้อยลูก ย่านนี้มีใช้ในเวียดนามและพม่าส่วนในกัมพูชาถูกนำไปทำลายเกือบ 300 ลูกเมื่อปี 2545. </b>
<br><FONT color=#000033>ระบบปืนและจรวดต่อสู้อากาศยานอีกแบบหนึ่งของรัสเซียประกอบด้วยจรวดกับปืนใหญ่ยิงเร็วอัตโนมัติ 30 มม.แบบยิงสลับ ใช้ยิงอากาศยานบินระยะต่ำเหมาะสำหรับต้อนรับจรวดร่อนโทมาฮอว์กมากที่สุด ระบบนี้มีใช้มาก่อนที่จะพัฒนามาเป็นแพนต์ซีร์-เอส (Pantsir-S) หรือ SA-22 อันเลื่องลือ ชุดที่เห็นในภาพนี้ซีเรียมีนับร้อยชุด และได้เซ็นซื้อแพนต์ซีร์-เอสจากรัสเซีย 30-50 ชุดเมื่อต้นปี แต่ยังไม่มีการส่งมอบ.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น