xs
xsm
sm
md
lg

เขมรมี ฮ.โจมตีปราบรถถังแล้ว แถวนี้คงได้หนาวกันบ้าง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ฮาร์บิน จื่อ-9W (Z-9W) แบบเดียวกันกับของกองทัพกัมพูชา สื่อออนไลน์ในจีนรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ไม่เพียงแต่ Z-9B ที่เป็น ฮ. ลำเลียงขนส่งอเนกประสงค์เท่านั้นที่สั่งซื้อจากกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานของจีนตามที่ฝ่ายกัมพูชาแถลงก่อนหน้านี้ ยังมี Z-9W รุ่นติดจรวด Hong Jian-8 ลูกศรแดง สำหรับยิงรถถังรวมอยู่ด้วย 4 ลำ ซึ่งทำให้กองทัพเล็กๆ ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงมีขีดความสามารถในการโจมตีทางอากาศได้อีกครั้งหนึ่งในรอบ 20 ปีหลังยุคสงครามเย็น. -- ภาพ: ChinaDefence.Com</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - บริษัทผู้ผลิตในจีนได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ Z-9 จำนวน 2 ลำ ให้แก่กองทัพกัมพูชาในวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในจำนวนทั้งหมด 12 ลำ ที่สั่งซื้อ และเพิ่งจะมีการเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่าในนั้นมี ฮ.โจมตีติดจรวดต่อสู้รถถัง กับปืนกลโจมตีเป้าหมายพื้นดินรวมอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง

กำลังจะเป็นครั้งแรกที่กองทัพเล็กๆ และล้าหลังที่สุดในอนุภูมิภาคจะมีขีดความสามารถในการโจมตีทางอากาศอีกครั้งในรอบหลายสิบปี หลังยุคสงครามเย็น ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลโดยผู้นำชุดปัจจุบันนี้พึ่งพาอาวุธจากสหภาพโซเวียตเป็นหลัก

อีก 10 ลำที่เหลือ ฝ่ายจีนจะส่งมอบให้กัมพูชาในช่วงกลางเดือน ส.ค.ศกนี้ สำหรับจีนเองการส่งมอบที่จะมีขึ้นนี้ นับเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยส่ง ฮ.รุ่นนี้ให้แก่ลูกค้าต่างประเทศในคราวเดียว เว็บไซต์ข่าวกลาโหมจีนรายงาน

เฮลิคอปเตอร์แบบ Z-9 หรือ Harbin Zhi-9 “ฮาร์บิน จื่อ-9” ผลิตโดยกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานฮาร์บิน (Harbin Aircraft Industry Group) โดยซื้อสิทธิบัตรจากบริษัทเอโรสปาชิอาล (Aerospatiale) แห่งยุโรป ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 ใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตในจีนโดยซื้อสิทธิบัตรจากยุโรปเช่นเดียวกัน แต้ใช้ชิ้นส่วนอื่นๆ อีกราว 70% ที่ผลิตในจีน

ทั้งหมดนี้จึงทำให้ Z-9 ทุกเวอร์ชันที่ผลิตออกมาละม้ายคล้ายกับยูโรคอปเตอร์แบบ AS365 “ดอลฟิน” (Dauphin) หรือ “โลมา” ในภาษาฝรั่งเศส ที่ใช้ในกองทัพของหลายประเทศยุโรป และ Z-9W เป็นรุ่นดัดแปลงติดอาวุธโจมตีเป้าหมายทั้งยานพาหนะขนส่ง ยานหุ้มเกราะ รวมทั้งกำลังพลของข้าศึก

รัฐบาลกัมพูชา เซ็นสัญญาซื้อ Z-9 ทั้ง 12 ลำ จากกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานฮาร์บินเมื่อปี 2554 ในวงเงิน 195 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเงินกู้จากรัฐบาลจีนทั้งหมด โดยระบุว่า จะใช้อากาศยานปีกหมุนเพื่อภารกิจทางมนุษยธรรม รวมทั้งการกู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ตามรายงานของสื่อจีน เฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดไม่ได้มีเพียง Z-9B ที่สำหรับขนส่งลำเลียงอเนกประสงค์เท่านั้น หากยังมี 4 ลำ ที่เป็น Z-9W ติดอาวุธโจมตี อีก 2 ลำ สำหรับขนส่งวีไอพี และ 6 ลำ ใช้ลำเลียงขนส่งทั่วไปในกองทัพ

เฮลิคอปเตอร์โจมตีของจีนรุ่นนี้มีราวยึดสำหรับตั้งจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ HJ-8 (Hong Jian หรือ “ลูกศรแดง”) ที่ยิงได้ไกลราว 4,000 เมตร ติดปืนกลขนาด 12.7 มม. 2 ชุด และจรวดชุดขนาด 57/90 มม. อากาศสู่พื้นอีก 2 ชุด

ตามรายงานของสื่อกัมพูชาก่อนหน้านี้ กองทัพได้ซื้อ ฮ.ของจีนเพื่อนำขึ้นระวางประจำการแทน ฮ.แบบ Mi-8 กับ Mi-17 ที่ผลิตในสหภาพโซเวียต และเสื่อมสภาพไปเนื่องจากขาดการบำรุงรักษา

หลายปีมานี้ จีนได้กลายเป็นผู้สนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์รายใหญ่ให้แก่กองทัพกัมพูชา ตั้งแต่ปืนกลเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติพื้นฐานสำหรับทหารราบ ไปจนถึงปืนใหญ่ จรวดชุด เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือลำเลียงพล รถถัง รถบรรทุกทหาร และเครื่องบินขนส่งลำเลียงแบบเทอร์โบพร็อพ และเฮลิคอปเตอร์โจมตีเป็นรายการล่าสุด.
.
<bR ><FONT color=#000033>ฮาร์บิน Z-9 เป็นอากาศยานปีกหมุนที่ดัดแปลงนำไปใช้ได้หลากหลายภารกิจแบบเกินคาด ที่กัมพูชาสั่งซื้อจากจีน 12 ลำนั้น สามารถดัดแปลงติดตั้งระบบจรวดนำวิถีกับปืนกลได้ทั้งหมดในยามที่ต้องการ. -- ภาพ: ChinaDefence.Com</b> </b>
2
<bR ><FONT color=#000033>ฮาร์บิน Z-9B ของกองทัพประชาชนจีน ถึงแม้จะมี ฮ.รุ่นใหม่ออกมาอีกหลายรุ่นแล้วก็ตาม แต่ จื่อ-9 ก็ยังใช้แพร่หลายมากที่สุด กองทัพบก ทัพเรือและกองทัพอากาศจีนนำเข้าประจำการมาตั้งปลายทศวรรษที่ 1980 .  -- ภาพ: ChinaDefence.Com </b>
3
<bR ><FONT color=#000033>ฮาร์บิน ZH-9 ดัดแปลงติดระบบอาวุธอีกแบบหนึ่งของกองทัพบกจีน กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานฮาร์บินส่งมอบ Z-9 ให้กัมพูชา 2 ลำแรกสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา อีก 10 ลำส่งให้พร้อมกันกลางเดือน ส.ค.นี้ เพิ่งมีการเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่าในนั้นมี ฮ.โจมตีรวมอยู่ด้วย 4 ลำ.   -- ภาพ: ChinaDefence.Com </b>
4
<bR ><FONT color=#000033>ฮาร์บิน Z-9C ที่ใช้ในกองทัพเรือ ยังสามารถดัดแปลงติดตั้งตอร์ปิโด เปิดศึกใต้น้ำได้อีกต่างหาก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าทั้ง 12 ลำที่ขายให้กัมพูชาสามารถดัดแปลงติดตั้งระบบอาวุธต่างๆ นำไปใช้ได้ในหลากหลายภารกิจ. -- ภาพ: ChinaDefence.Com </b>
5

เขี้ยวเล็บจีนในเขมร
หลายปีมานี้ จีนได้กลายเป็นผู้สนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์รายใหญ่ให้แก่กองทัพกัมพูชา ตั้งแต่ปืนกลเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติพื้นฐานสำหรับทหารราบ ไปจนถึงปืนใหญ่ จรวดชุด เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือลำเลียงพล รถถัง รถบรรทุกทหาร และเครื่องบินขนส่งลำเลียงแบบเทอร์โบพร็อพ และเฮลิคอปเตอร์โจมตีเป็นรายการล่าสุด.

<bR ><FONT color=#000033>ปืนกลเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ บ.56 บ.56-1 และ บ.56-2 รุ่นพานท้ายไม้สีออกส้มๆ พบครั้งแรกในช่วงปะทะกันยกแรกๆ บริเวณปราสาทพระวิหารในช่วงกลางปี 2551 ซึ่งก็คือ AKM กับ AKMS เวอร์ชั่นก๊อปในจีนนั่นเอง.  </b>
6
<br><FONT color=#000033>ปืนกลเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติชนิดบุลพับ (Bullpub) ชุดเหนี่ยวไกติดตั้งอยู่ด้านหน้าซองบรรจุกระสุน ที่ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษทั้งตำรวจและทหาร ในภาพนี้เป็น QBZ-97 ระยะหลังๆ ยังมีรุ่น QBZ-97A และ B โผล่ให้เห็นอีกในโอกาสสำคัญต่างๆ. </b>
7
<br><FONT color=#000033>จรวดต่อสู้รถถัง PF-89 นำออกอวดเมื่อครั้งครบรอบปีการก่อตั้งกองพลน้อยที่ 70 ชานกรุงพนมเปญ เดือน ต.ค.2552 โผล่เห็นอีกครั้งตอนถอนทหารออกจากรอบๆ ปราสาทพระวิหารปีที่แล้ว ทหารกัมพูชาถือกันสลอน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคุณภาพอาจไม่ดีนักแต่ก็นำวิถีและละลายเกราะยานลำเลียงพลได้.</b>
8
<bR ><FONT color=#000033>ในภาพนี้เป็น T-62 ของจีนแบบเดียวกับที่ขายให้กัมพูชาซึ่งไม่ทราบว่าซื้อขายกันตั้งแต่เมื่อไร กัมพูชายังมี T-55 ที่ซื้อจากสาธารณรัฐยูเครนอีกราว 100 คัน.  </b>
9
<br><FONT color=#000033>แบบ-59 ยิงระยะไกล เป็น ป.130 จากจีนเช่นกัน นำออกอวดทดลองยิงให้เห็นในเดือน มี.ค.ปีนี้ ไม่ทราบปีและจำนวนที่ซื้อ.</b>
10
<br><FONT color=#000033>ที่นำออกอวดซ้อมยิงในเดือน มี.ค.ปีนี้ ไม่ได้มีแค่ BM-21 กราด ที่ผลิตในโซเวียตเดิมเท่านั้น แต่ยังมี บ.81 (Type-81) จรวดชุดขนาด 122 มม. จากจีนรวมอยู่ด้วย. </b>
11
<br><FONT color=#000033>จรวดต่อสู้อากาศยานบินระยะต่ำ FN-6 รุ่นยอดนิยมที่ฝ่ายกบฏในซีเรียสอย ฮ.ฝ่ายรัฐบาลร่วงหลายลำต้นปีนี้ กัมพูชานำออกอวดในโอกาสครบรอบปีการก่อตั้งกองพลน้อยที่ 70 เดือน ต.ค.2552 ซึ่งปัจจุบันบุตรชายคนโตของนายกรัฐมตรีฮุนเซนเป็นผู้บัญชาการ. </b>
12
<br><FONT color=#000033>เรือลำเลียงพล-ยกพลขึ้นบกที่บริเวณฐานทัพเรือเรียมใกล้กับเมืองท่าสีหนุวิลล์ ของขวัญ ที่จีนมอบให้คราวเดียวกันโน้น ยังมีเรือเร็วขนาดเล็กติดปืนกลอีก 15 ลำด้วย นัยว่าเอาไว้ใช้ปราบโจรสลัดกับพวกขนของเถื่อน. </b>
13
<bR><FONT color=#000033>ในที่สุดกองทัพกัมพูชาก็มีอากาศยานปีกตรึงสำหรับขนส่งลำเลียงอีกครั้งหนึ่ง ในภาพคือ MA-60 ที่ผลิตโดยกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานซีอาน ส่งมอบปีที่แล้ว ซื้อ  2 ลำด้วยเงินกู้จากจีนแบบอัฐยายขนมยายอีกเช่นกัน. </b>
14
กำลังโหลดความคิดเห็น