xs
xsm
sm
md
lg

เปิดเขี้ยวเล็บใหม่ กองทัพกัมพูชาซื้อ ฮ.จีนรวดเดียว 12 ลำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบฮาร์บิน Zhi-9WA ของกองทัพบกจีนซึ่งสามารถตัดแปลงติดอาวุธได้มากมายหลายชนิดและเรียกชื่อรุ่นย่อยแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ส่วนล่างของด้านหน้าของลำเป็นอุปกรณ์แทร็คกิ้ง ที่ใช้ในการสำรวจค้นหาเป้าที่อยู่เบื้องล่างและนำอาวุธให้วิ่งเข้าสู่เป้าหมาายได้อย่างแม่นยำ กองทัพกัมพูชาซื้อ Zhi-9 จากจีนทั้งหมด 12 ลำ โดยระบุว่าเป็นแบบ Utility คือใช้งานได้ทั่วไป สองฝ่ายกล่าวว่า ฮ.ทั้งหมดจะใช้ในภารกิจช่วยเหลือกู้ภัยและภารกิจด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก. -- ภาพ: Sino-Defence.Com. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กระทรวงกลาโหมกัมพูชาได้เซ็นสัญญาซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบ “จื้อ-9” (Zhi-9) จากจีน จำนวน 12 ลำ โดยใช้ส่วนหนึ่งของเงินกู้ 195 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลจีนเซ็นกันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างจีนที่ได้พยายามสร้างพันธมิตรที่ใกล้ชิดของตนกับประเทศสมาชิกหนึ่งในกลุ่มอาเซียน มีรายงานเรื่องนี้ในสื่อกลาโหมหลายแห่งในวันพฤหัสบดี 24 ม.ค.นี้

นับเป็นการเปิดเผยจำนวนอากาศยานปีกหมุนที่ซื้อจากจีนเป็นครั้งแรก ตั้งแต่เรื่องนี้ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่างๆ เมื่อเดือน ส.ค.2554 และหลังจาก 2 ฝ่ายได้เซ็นสัญญาเงินกู้ก้อนดังกล่าวในปลายปี 2555

สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานในขณะเดียวกันว่า พล.อ.เมืองสมพอน (Moeung Samphan) ปลัดกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เซ็นความตกลงซื้อขาย ฮ. Z-9 ทั้ง 12 ลำกับ พล.อ.ฉีเจียงกว๋อ (Qi Jiangguo) รองหัวหน้ากรมใหญ่เสนาธิการกองทัพประชาชนจีนในสัปดาห์นี้ พร้อมความตกลงช่วยเหลือด้านการฝึกอบรม และฝึกฝนบุคคลากรของกองทัพกัมพูชา และการจัดหาอาวุธให้แก่กองทัพกัมพูชาอีกจำนวนหนึ่ง

พล.อ.เตียบัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา กับ พล.อ.เจียงกว๋อ ต่างกล่าวว่า เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 12 ลำ จะใช้ในภารกิจด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก ถึงแม้ว่า Z-9 จะดัดแปลงให้เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ติดอาวุธได้หลากหลายชนิด ซึ่งรวมทั้งติดจรวดนำวิถียิงทำลายรถถัง และจรวดนำวิถีในภารกิจปราบเรือลำน้ำ ที่ใช้ในกองทัพบกกับกองทัพเรือจีนในปัจจุบันอีกด้วย

ในการให้สัมภาษณ์หลังพิธีเซ็นความตกลงซื้อขายในกรุงพนมเปญวันพุธ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายไม่เปิดเผยรายละเอียดอื่นใดเกี่ยวกับเรื่องนี้

เฮลิคอปเตอร์ Zhi-9 ผลิตโดยบริษัทผลิตอากาศยานฮาร์บิน (Harbin Aircraft Manufacture Company) แห่งเมืองท่าฮาร์บิน ภายใต้สิทธิบัตรจากบริษัทเอโรสปาติอาล (Aerospatiale) ในฝรั่งเศส เป็นรุ่นเดียวกับยูโรคอปเตอร์ “โดฝะ” (AS 365N Dauphin II) หรือ “Dolphin” (โลมา) ในภาษาอังกฤษ นำออกใช้งานครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1980 เป็น ฮ.อเนกประสงค์ ติดอุปกรณ์เพื่อภารกิจช่วยเหลือ-กู้ภัยได้ ต่อมาพัฒนาเป็น ฮ.โจมตี แบบ Z-9W ที่ใช้ในกองทัพบก และ Z-9C/D ในกองทัพเรือ ทั้งนี้เป็นรายงานในเว็บไซต์ Sino-Defence.Com

ฮ.แบบ Z-9 เป็นอากาศยานปีกหมุนที่จีนผลิตออกมามากที่สุด เพื่อใช้ในกองทัพ และงานฝ่ายพลเรือน และผลิตออกมาหลายรุ่น รวมทั้งจำหน่ายให้แก่กองทัพประเทศพันธมิตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในแอฟริกา ที่คุ้นเคยกับอากาศยานที่ผลิตในฝรั่งเศส ขณะที่ ฮ.ผลิตในจีน ขายในราคาต่ำกว่ามาก เนื่องจากปัจจุบันใช้วัสดุที่จีนผลิตเองกว่า 70%

รุ่น Z-9B สามารถบรรทุกทหารติดอาวุธครบมือได้ 10 นาย โดยนั่งเป็น 2 แถว fhko หลังนักบิน บางลำดัดแปลงให้มีห้องเล็กๆ ตอนท้ายลำ บรรทุกอุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ควบคุมการยิง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ “สงครามอิเล็กทรอนิกส์” ในสนามรบ เว็บไซต์แห่งเดียวกันกล่าว

จีนได้กลายเป็นผู้ให้การสนับสนุนรายใหญ่ที่สุดแก่กองทัพกัมพูชาที่อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ เก่า และล้าหลังจะต้องปลดประจำการ จีนเริ่มจากการบริจาครถบรรทุกทหารชนิดต่างๆ จำนวน 253 คัน ให้แก่กัมพูชาในปี 2553 ซึ่งเรื่องนี้มีขึ้นหลังจากเกิดความขัดแย้งกับไทย และนำไปสู่การปะทะกันด้วยอาวุธที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่เดือน ก.ค.2551 โอกาสเดียวกันนี้ จีนยังมอบชุดเครื่องแบบทหาร ซึ่งรวมทั้งเสื้อผ้า กับรองเท้า จำนวน 50,000 ชุด ให้กองทัพกัมพูชาอีกด้วย

การ “บริจาค” ของจีนยังมีขึ้นหลังจากต้นปีเดียวกัน สหรัฐฯ ได้ยกเลิกการส่งมอบรถบรรทุกจีเอ็มซีที่ใช้แล้ว จำนวน 250 คัน ให้กัมพูชาในต้นปีเดียวกัน เมื่อรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนยอมส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ราว 20 คน ที่หลบหนีเข้ากัมพูชาให้แก่ทางการจีนในปลายปี 2552 โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านจากประชาคมระหว่างประเทศ
.
<bR><FONT color=#000033>ปลัดกระทรวงกลาโหมกัมพูชา พล.อ.เมือง สมพอน (Moeung Samphan) กับ พล.อ.ฉีเจียงกว๋อ (Qi Jianguo) สัมผัสมือถ่ายภาพหลังพิธีเซ็นสัญญาในกรุงพนมเปญวันพุธ 23 ม.ค.2556 กัมพูชาจะใช้ส่วนหนึ่งของเงินกู้ 195 ล้านดอลลาร์จากจีน เพื่อซื้อเฮลิคอปเตอร์ Zhi-9 ที่ผลิตในจีนจำนวน 12 ลำ พร้อมความตกลงอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งซึ่งรวมทั้งจีนจะช่วยฝึกฝนและฝีกอบรมบุคลากรของกองทัพกัมพูชา ตลอดจนการจัดหาอาวุธให้อีกจำนวนหนึ่งด้วย แต่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ อีก. -- REUTERS/Samrang Pring. </b>
2
ถึงแม้จะไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่ไม่กี่ปีมานี้ อาวุธจีนหลายชนิดได้ปรากฏให้เห็นระหว่างเกิดความตึงเครียด และการปะทะกับฝ่ายไทยตามแนวชายแดน รวมทั้งปืนกลเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ “บ.56” (Type 56) ซึ่งเป็น AKM เวอร์ชันจีน กับปืนกล และอาวุธต่อสู้รถถังอีกจำนวนหนึ่ง

ทหารกัมพูชาติดอาวุธปืนกลกึ่งอัตโนมัติแบบ “บุลพับ” (Bull Pub) รุ่นใหม่ล่าสุดของจีน ขณะออกลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยในเมืองหลวง ระหว่างการประชุมนัดสำคัญๆ ที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อปีที่แล้ว นั่นคือปืนกลเล็กยาวชนิดที่มีแมกกาซีนบรรจุลูกกระสุนกับรังเพลิงอยู่หลังโกร่งไกของปืน ทำให้ปืนมีขนาดลำกล้องยาวขึ้น ยิงได้ไกลขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น

เมื่อปีที่แล้ว จีนได้มอบเครื่องบินบรรทุกแบบ MA-60 ให้กัมพูชาจำนวน 2 ลำ ทำให้กองทัพอากาศประเทศนี้มีเครื่องบินอีกครั้งหนึ่ง และเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ซึ่งที่ผ่านมามี ฮ.ใช้การได้อยู่เพียงไม่กี่ลำ และเครื่องบินขับไล่โจมตีรุ่นต่างๆ ที่ได้รับจากอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ยุคที่กัมพูชาถูกกองทัพเวียดนามยึดครอง ได้จอดตายมาหลายปีก่อนหน้านั้น เพราะขาดอะไหล่ และชิ่นส่วนสำคัญในการซ่อมแซม

นอกจากความช่วยเหลือด้านวัตถุต่างๆ จีนได้ทุ่มเงินมหาศาลให้รัฐบาลฮุนเซนทั้งในรูปเงินให้เปล่า และเงินกู้ ซึ่งทั้งหมดนี้มีขึ้นในขณะที่สหรัฐฯ เองก็กำลังพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างรอบด้านกับกัมพูชา เพื่อรองรับนโยบายกลับคืนสู่ภูมิภาคนี้

จนถึงปี 2555 นักลงทุนจากจีนเซ็นสัญญาเข้าลงทุนแขนงต่างๆ ในกัมพูชา เป็นมูลค่ารวมประมาณ 8,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับเกือบ 2 ใน 3 ของผลผลิตมวลรวมภายในของประเทศ และจีนได้ครองแชมป์ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

แต่ขณะเดียวกัน นักลงทุนจีนได้เป็นเจ้าของที่ดินสัมปทานในกัมพูชานับล้านๆ ไร่ ในโครงการปลูกพืชการเกษตรเป็นเจ้าของสัมปทานเหมืองทองใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการเขตเศรษฐกิจรอบๆ กรุงพนมเปญ และเมืองท่าสีหนุวิลล์

ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทผลิตพลังงานจากจีนก็ได้เป็นเจ้าของเขื่อนผลิตไฟฟ้าหลายแห่ง รวมทั้งเป็นเจ้าของสัมปทานสำรวจขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยของกัมพูชาอย่างน้อย 2 แปลงอีกด้วย.

ยุคใหม่ “หมูเขี้ยวตัน”
Sino-Defence.Com

3

4

5

6

7
กำลังโหลดความคิดเห็น