xs
xsm
sm
md
lg

ภาพชุด - โรงงานรองเท้าในกัมพูชาถล่มมีผู้เสียชีวิต 6 ราย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ทีมกู้ภัยและทหารเข้าค้นหาแรงงานหลังโรงงานถล่ม ในจ.กำปงสะปือ ห่างจากกรุงพนมเปญ ทางทิศตะวันตกราว 50 กม. ในวันที่ 16 พ.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า เพดานอาคารที่ถล่มลงมาภายในโรงงานรองเท้าทำให้มีแรงงานเสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย สร้างความวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม หลังเกิดเหตุภัยพิบัติในบังกลาเทศเมื่อเดือนก่อน . --  AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>
.

เอเอฟพี/รอยเตอร์ - เหตุเพดานถล่มที่โรงงานรองเท้าในกัมพูชาวันนี้ (16) ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุ สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรมหลังจากเหตุภัยพิบัติในบังกลาเทศเมื่อเดือนก่อน

"เราได้ขนย้ายซากหักพังออกเกือบหมดแล้วและคิดว่าไม่มีใครติดอยู่ใต้ซากเหล่านี้เพิ่มอีก" เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าว และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพดานคอนกรีตที่ถล่มลงมาดูเหมือนว่าจะก่อสร้างไม่ดี และถูกใช้เก็บอุปกรณ์และวัสดุซึ่งอาจรับน้ำหนักไม่ไหว

นายอิธ ซัมเฮง (Ith Sam Heng) บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์เวลาต่อมาว่า จนถึงขณะนี้ยืนยันผู้เสียชีวิตมีจำนวนถึง 6 คน กับอีก 6 คนได้รับบาดเจ็บ

โรงงานผลิตรองเท้าดังกล่าวอยู่ในท้องที่อำเภอกงพิสัย (King Pisey) จ.กัมปงสะปือ (Kampong Speu) ซึุ่่่งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางทิศตะวันตกราว 50 กิโลเมตร

เมื่อเดือนก่อน เกิดเหตุอาคารโรงงานขนาด 9 ชั้น ชานกรุงธากาถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,127 คน นับเป็นหนึ่งในเหตุภัยพิบัติในงานอุตสหากรรมที่เลวร้ายที่สุดของโลก และสร้างแรงกดดันให้กับบรรดาผู้ค้าปลีกชาติตะวันตกที่พึ่งพาแรงงานราคาถูกในภูมิภาคนี้ ที่มาตรฐานความปลอดภัยมักต่ำกว่ามาตรฐาน

แรงงานคนหนึ่งที่โรงงานกัมพูชากล่าวว่า ตำรวจและพนักงานบางส่วนช่วยกันรื้อซากปรักหักพังออก ทุกวันจะมีคนมาทำงานใต้บริเวณดังกล่าวมากกว่า 100 คน แต่ไม่ทราบจำนวนคนที่เข้าทำงานในเช้านี้

รอง ชุน ประธานสหภาพแรงงานกัมพูชา กล่าวว่า เหตุที่เกิดขึ้นสร้างความวิตกในหมู่แรงงานของประเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม โรงงานเสื้อผ้าในกัมพูชาไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสากล เพราะคุณภาพของอาคารไม่ได้รับการรับรอง ทำให้คนงานทำงานอยู่ในความเสี่ยงสูง

"เราเรียกร้องให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ต่างๆ เข้าตรวจสอบคุณภาพของอาคารโรงงานเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นนี้ในอนาคต สิ่งนี้เกิดขึ้นในบังกลาเทศเมื่อไม่นานและในเวลานี้ได้เกิดขึ้นในกัมพูชา เรากังวลอย่างมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของแรงงาน" นายรอง ชุน กล่าว

กัมพูชาทำรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าเป็นมูลค่ากว่า 4,600 ล้านดอลลาร์ ในปี 2555 แต่การผละงานประท้วงหลายระลอกได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่พอใจเกี่ยวกับค่าแรงต่ำและสภาพการทำงานที่ไม่ดี

การชุมนุมประท้วงของแรงงานกลายเป็นเรื่องเลวร้าย เมื่อลูกจ้างหญิง 3 คน ของบริษัท Kaoway Sport ที่ผลิตสินค้าให้กับ Puma ถูงยิงได้รับบาดเจ็บขณะชุมนุมเรียกร้องสภาพการทำงานที่ดีขึ้นที่โรงงานเมื่อเดือนก.พ. ปีก่อน

เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้บริษัท Puma, Gap และ H&M แสดงความรู้สึกกังวลและเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างละเอียด และหลังจากเหตุการณ์ในบังกลาเทศ ทำให้บรรดาบริษัทแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำให้คำมั่นที่จะทำให้โรงงานต่างๆ ในประเทศมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น.
.
โศกนาฏกรรมซ้ำซาก AFP/Reuters

2

3

4

5

6

7

8

9

10
กำลังโหลดความคิดเห็น