xs
xsm
sm
md
lg

ดาวเทียมสังเกตการณ์เวียดนามดวงแรกเข้าสู่วงโคจรแล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพที่เผยแพร่ในเว็บไซต์บริษัทอาริอานสเปซ ขณะดาวเทียมสังเกตการณ์พื้นโลกดวงแรก เข้าสู่วงโคจรในอวกาศตอนเช้าวันอังคาร 7 พ.ค.นี้ ดาวเทียมที่สามารถถ่ายภาพบนพื้นดินทีมีความคมชัดสูงจะช่วยให้เวียดนามสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และสภาพแวดล้อม ช่วยป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งในการเฝ้าติดตามการบริหารจัดการทรัพยากรณ์ในน่านน้ำและชายฝั่งทะเลความยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร.  </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ดาวเทียมสังเกตการณ์พื้นโลก (Earth Observation Satellite) ดวงแรกของเวียดนาม ได้เข้าสู่วงโคจรตามกำหนดแล้วในเช้าวันอังคาร 6 พ.ค.นี้ หลังจากถูกยิงขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดวีกา (Vega) จากศูนย์อวกาศยุโรปที่เมืองคูรู ดินแดนกิอานาของฝรั่งเศสในอเมริกาใต้

การยิงดาวเทียมดังกล่าวเลื่อนออกมาจากวันเสาร์ เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย บริษัทอาริอานสเปซ (Arianespace) รายงานในเว็บไซต์ในวันเดียวกัน

ดาวเทียม NREDSat-1 ซึ่งเป็นชื่อเรียกสั้นๆ ตามชื่อโครงการดาวเทียมสำหรับเฝ้าติดตามทรัพยากรณ์ สภาพแวดล้อม และภัยพิบัติเวียดนาม (Natural Resources, Environment and Disaster Monitoring Satellite) มีมูลค่า 76 ล้านดอลลาร์ จากการช่วยเหลืออย่างเป็นทางการเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลฝรั่งเศส 73 ล้านดอลลาร์ สมทบกับเงินงบประมาณแห่งรัฐ

ดาวเทียมลูกนี้จะช่วยให้เวียดนามที่มีน่านน้ำกับชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร กับเทือกเขาสลับซับซ้อนในภาคกลางกับภาคเหนือ สามารถตรวจติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ช่วยให้พยากรณ์ และป้องกันภัยธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้นเช่นเดียวกันกับการกู้ภัย และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ

ดาวเทียมที่มีน้ำหนักเพียง 120 กิโลกรัม ผลิตโดยบริษัทแอสเตรียม (Astrium) ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของบริษัทป้องกันทางการบินและอวกาศแห่งยุโรป สามารถถ่ายภาพบนพื้นโลกด้วยความชัดในระยะ 2.5 เมตร และเป็นดาวเทียมดวงที่ 3 ของเวียดนาม ถัดจากดาวเทียมสื่อสารวินาแส็ท-1 กับวินาแส็ท-2 ที่ส่งเข้าวงโคจรเมื่อปี 2551 และ 2555

หลายสิบปีที่ผ่านมา เวียดนามซึ่งเกิดภัยพิบัติร้ายแรงบ่อยครั้ง ต้องซื้อภาพถ่ายดาวเทียมจากองค์การ หน่วยงาน หรือบริษัทเอกชนต่างประเทศ ดาวเทียม NREDSat-1 จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านนี้ได้เป็นเงินมหาศาลตลอดหลายสิบปีข้างหน้า.
กำลังโหลดความคิดเห็น