รายงานการเมือง
หลายวันก่อนเข้าไปอ่านข่าวประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช. ด้วยอยากรู้ว่า กสทช. จะทำอย่างไรกับกรณีละครเรื่อง “เหนือเมฆ” เกิดไปเห็นข่าวประชาสัมพันธ์เรื่องที่อยู่เหนือเมฆ และดูจะเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องของละคคเช่นกัน คือเรื่องดาวเทียม
ที่สะดุดใจเพราะหัวข้อมีว่า “กทค.ชี้แจงการออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคม โต้ข้อวิจารณ์คลาดเคลื่อนซ้ำซาก สวนผู้วิจารณ์บิดเบือนต้องรับผิดชอบ” เข้าใจว่าความรู้สึกของ กสทช. คงเบื่อมากๆ กับการชี้แจงที่ทำไมคนกล่าวหาไม่เข้าใจเสียที กล่าวหาบิดเบือนซ้ำซากอยู่ได้ ควรออกมารับผิดชอบบ้าง
ผู้เขียนเองก็ไม่รู้ว่าใครมีความรู้เพียงใดที่ไปกล่าวหาซ้ำซาก เพราะ กสทช. ซึ่งทำหน้าที่ของผู้กำกับดูแล (Regulator) ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ย่อมมีผู้มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี จึงได้อ่านบทความดังกล่าวมีการชี้แจงถึง 8 ประการ แต่เมื่ออ่านไปแล้วรู้สึกเป็นห่วง กสทช.เป็นอย่างยิ่ง จึงต้องเขียนบทความนี้ขึ้นมาทั้งในเชิงวิชาการของกฎหมายและเทคนิค
ทั้ง 8 ประเด็นที่ กสทช.ชี้แจงมานั้น ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจเข้าใจในเรื่องตำแหน่งวงโคจร การได้มาซึ่งตำแหน่ง ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ กสทช. จากนั้นจึงจะตอบคำถามได้ว่าการออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคมนั้นถูกต้องหรือไม่
โดยจะต้องพิจารณากฎหมายและสนธิสัญญาที่ผูกพันประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการดาวเทียมด้วย แม้นักกฎหมายเองอาจเรียนมาบ้าง แต่ไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้อง เช่นทำแต่เรื่องคดีทรัพย์สินทางปัญญาก็อาจไม่เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอวกาศที่มีหลักการทางกฎหมายแตกต่างจากกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปด้วยแล้ว ก็อาจเข้าใจไม่ถูกต้อง
ตำแหน่งวงโคจร (Orbital Slot) ได้มาอย่างไร
กิจการดาวเทียมเป็นกิจการที่แตกต่างจากกิจการสื่อสารอื่นตรงที่มีส่วนที่อยู่ในอวกาศคือตัวดาวเทียมเอง การสื่อสารของคลื่นวิทยุจากโลกก็จะต้องผ่านทั้งชั้นบรรยากาศซึ่งอยู่ภายใต้หลักเขตแดนของประเทศ และผ่านอวกาศ ในเรื่องหลักเขตแดนนั้นไม่สู้จะมีปัญหาเพราะได้พบการอธิบายกันอยู่บ่อยในเรื่องที่แต่ละประเทศย่อมมีอธิปไตยเหนือดินแดนของตน รวมทั้งที่ลงไปใต้พื้นดิน และสูงขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศ
จุดที่แบ่งว่า บริเวณใดเป็นบรรยากาศหรืออวกาศนั้น ยังไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับ บางประเทศก็บอกว่าที่อยู่สูงเกินกว่า 60 ไมล์ขึ้นไปเป็นอวกาศ หรือหากถือตามอนุสัญญากรุงชิคาโกปี 1944 ที่จัดตั้งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Chicago Convention on International Civil Aviation) นิยามว่าอากาศยานจะได้รับแรงพยุงในชั้นบรรยากาศจากปฏิกิริยาของอากาศ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ บริเวณอากาศเป็นบริเวณที่มีอากาศพอเพียงช่วยในการบินของบอลลูนหรือเครื่องบิน เหนือขึ้นไปกว่านั้นก็เป็นอวกาศ ปัจจุบันยังไม่เกิดปัญหาที่ทำให้ต้องแบ่งเขตระหว่างบรรยากาศและอวกาศให้ชัดเจน เพราะกิจการอวกาศในปัจจุบันดำเนินการอยู่ที่สูงกว่านั้นมากจนไม่มีใครโต้แย้งว่าเป็นอวกาศหรือไม่ จึงยังคงปล่อยให้ “ไม่มีนิยาม”ไปก่อนได้
สำหรับอวกาศนั้นเป็นบริเวณที่ได้มีการตกลงกันตามสนธิสัญญาหลักการควบคุมการดำเนินกิจกรรมของรัฐในการสำรวจและใช้อวกาศรวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุบนท้องฟ้า (Treaty on Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space Including the Moon and other Celestial Bodies) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “สนธิสัญญาอวกาศ 1967” ที่ประเทศไทยเข้าร่วมลงนามตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1967 ถึงสถานะของอวกาศในข้อ 1. ว่าเป็นสมบัติส่วนรวมของมนุษยชาติที่ทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ในการสำรวจและใช้อวกาศ และในข้อ 2. บัญญัติว่า “อวกาศ รวมถึงดวงจันทร์ และเทหวัตถุอื่นไม่อยู่ภายใต้บังคับโดยการจัดสรรของชาติใดด้วยการอ้างอธิปไตย โดยการเข้าครอบครองหรือด้วยวิธีการอื่นใด” แต่ข้อความดังกล่าวไม่ห้ามการใช้ประโยชน์จากอวกาศและทุกคนสามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ดังปรากฏในคำปรารภ (Preamble) ได้ระบุความสำคัญว่า “การสำรวจและใช้อวกาศจะต้องกระทำไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนโดยไม่ขึ้นกับระดับทางเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์”
กิจการดาวเทียมเป็นการใช้ประโยชน์จากอวกาศอย่างหนึ่งด้วยการส่งดาวเทียมไปอยู่ในอวกาศแล้วใช้คลื่นความถี่ในการติดต่อกับภาคที่อยู่บนพื้นดิน จึงต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาอวกาศ 1967 ด้วย โดยเฉพาะดาวเทียมสื่อสารประเภทวงโคจรสถิต (Geostationary Orbit) หรือเรียกสั้นๆ ว่าดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) และโคจรรอบโลกด้วยความเร็วเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้เสมือนดาวเทียมอยู่กับที่
การใช้คลื่นความถี่ของดาวเทียมนั้นไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะเพียงในประเทศเจ้าของดาวเทียม แต่คลื่นความถี่ยังครอบคลุมไปยังประเทศอื่นด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดข้อบังคับ และประสานการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่ให้เกิดการรบกวนประเทศอื่น หรือระหว่างดาวเทียมที่อยู่ใกล้กัน การประสานนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานหนึ่งในองค์การสหประชาชาติคือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union) หรือ ITU มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญ (Constitution of the International Telecommunication Union) ในการจัดทำกรอบระเบียบสำหรับการสื่อสารในอวกาศและจัดให้มีการประสานงานระหว่างประเทศและให้คำแนะนำสำหรับประเทศที่ต้องการใช้คลื่นความถี่ตามระเบียบที่กำหนดเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนการใช้งานความถี่ในประเทศสมาชิกอื่น โดยไม่ได้ใช้การบังคับ
อีกเหตุผลหนึ่งที่ ITU ต้องเข้ามาดำเนินการในเรื่องดาวเทียมก็เนื่องจากข้อจำกัดที่ดาวเทียมค้างฟ้าที่ต้องอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรทำให้สามารถส่งดาวเทียมเข้าไปอยู่ในวงโคจรดังกล่าวได้จำกัด เพราะถ้าเข้าไปอยู่ใกล้กัน ก็จะเกิดการชนกันได้ หรือหากตำแหน่งใกล้กันและมีความถี่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันก็จะรบกวนการใช้งานกันได้ จึงต้องมีการจัดสรรการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังที่ใน ITU Radio Regulation ข้อ 0.3 กล่าวไว้อย่างกว้างๆ ว่าคลื่นความถี่วิทยุและวงโคจรอื่นใด รวมทั้งวงโคจรดาวเทียมค้างฟ้าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด ต้องจัดอย่างสมเหตุผล มีประสิทธิภาพและประหยัด
เคยได้ฟังบางท่านบอกว่า ความถี่สำหรับกิจการดาวเทียมมีไม่จำกัด ใช้ซ้ำกันได้นั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะจะซ้ำกันต้องเป็นคนละพื้นที่
การจะส่งดาวเทียมค้างฟ้าขึ้นไปใช้งานจะต้องได้รับสิทธิเสียก่อน หากไม่ได้รับสิทธินี้ประเทศผู้ส่งจะไม่สามารถส่งดาวเทียมขึ้นไปได้ตามความตกลงเรื่องการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ สิทธินี้จะได้มาก็โดยการจองสิทธิการใช้ความถี่ที่ตำแหน่งที่ต้องการ เนื่องจากวงโคจรนี้ต้องอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรจึงบอกตำแหน่งเป็นตำแหน่งเส้นแวง (Longitude) ที่ดาวเทียมจะไปอยู่ โดยการจดจองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ ITU ที่มี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 จัดพิมพ์เอกสารล่วงหน้าว่าจะใช้ความถี่ใดที่ตำแหน่งใดส่งไป ITU ให้ประกาศทั่วโลก
ขั้นที่ 2 หลังจากนั้นอย่างน้อย 6 เดือน ไม่เกิน 2 ปี ต้องประสานการใช้ความถี่ที่อาจมีการรบกวนในบริเวณประเทศที่ส่งสัญญาณลงมาหรือดาวเทียมข้างเคียง หากประสานเป็นที่ตกลงยอมรับของประเทศต่างๆ ก็ไปขั้น 3
ขั้นที่ แจ้งจดทะเบียนความถี่ที่ได้ประสานมาไปยัง ITU
ผู้ที่จะยื่นขอจดจองได้ตามระเบียบของ ITU ต้องเป็นรัฐหรือหน่วยงานระหว่างประเทศ (Member state) เท่านั้น หากเอกชนจะดำเนินกิจการดาวเทียมก็ต้องได้รับอนุญาตให้ทำในนามรัฐและถูกควบคุมตามกฎหมายภายในของรัฐนั้น สอดคล้องกับสนธิสัญญาอวกาศ 1967 ข้อ 6 มีสาระสำคัญว่า “รัฐภาคีของสนธิสัญญาจะต้องรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับกิจการของชาติในอวกาศ รวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่น ไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะกระทำโดยหน่วยงานของรัฐหรือไม่ใช่หน่วยงานของรัฐก็ตาม เพื่อเป็นการประกันได้ว่ากิจกรรมของชาติจะดำเนินไปสอดคล้องกับบทบัญญัติในสนธิสัญญานี้ กิจกรรมของหน่วยงานที่ไม่ใช่ของรัฐในอวกาศ รวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่น จะต้องได้รับการอนุญาตและการควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่องโดยรัฐภาคีตามสนธิสัญญา
หมายความว่า รัฐเท่านั้นที่จะดำเนินกิจกรรมใดๆ ในอวกาศได้ การดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของรัฐ เอกชนจะไปดำเนินกิจกรรมอวกาศโดยลำพังไม่ได้
สิทธิจากตำแหน่งวงโคจรเป็นอย่างไร
มีความเข้าใจผิดอย่างมากว่าสิทธิที่ได้มา คือ “ตำแหน่ง” ที่แท้จริงแล้วเป็นการ “ได้สิทธิใช้คลื่นความถี่ที่ตำแหน่งนั้น” เพราะ ITU ไม่มีอำนาจตามธรรมนูญในการจัดสรรตำแหน่ง ตัวอย่างที่ตำแหน่ง 50.5 องศา ทั้งไทยและตุรกีก็มี Filing ที่จดทะเบียนไว้แต่คนละความถี่ ITU มีหน้าที่เพียงแค่จัดสรรความถี่ จึงใช้การจัดสรรสิทธิการใช้ความถี่ที่แต่ละตำแหน่ง ดังจะเห็นว่าในแต่ละขั้นตอนนั้นจะเป็นการประสานความถี่กับประเทศต่างๆ ดังจะเห็นว่าในเรื่องการจองใช้สิทธิใช้ความถี่ที่ตำแหน่งในอวกาศของ ITU ก็กำหนดให้ทุกชาติมีสิทธิในการจองเท่าเทียมกัน ในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน (First come first serve) แต่เมื่อได้ดำเนินการตามข้อบังคับขั้น 3 ในการจองสิทธิของ ITU แล้ว ก็จะเกิดความผูกพันสิทธิระหว่างประเทศสมาชิกของ ITU ที่จะต้องยอมรับสิทธินั้นที่ผ่านการประสานงานตกลงระหว่างประเทศ
สิทธินี้ไม่ใช่อธิปไตย แต่เป็นสิทธิในการใช้ประโยชน์ และไม่ใช่การเข้าครอบครองแต่เป็นสิทธิของประเทศที่มีระยะเวลากำหนดไว้ชัดเจนตามข้อบังคับของ ITU (ไม่เกิน 7 ปี)
ข้อบังคับและระเบียบของ ITU เองก็สอดคล้องกับสนธิสัญญาอวกาศ 1967 ข้อ 3 ว่า “รัฐผู้มีส่วนได้เสียตามสนธิสัญญาจะต้องดำเนินกิจกรรมสำรวจและใช้อวกาศรวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่น ให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎบัตรของสหประชาชาติเพื่อผลประโยชน์ในการธำรงรักษาสันติภาพสากล ความมั่นคง และส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างประเทศ” หรือกล่าวว่าแม้ประเทศไม่มีอธิปไตยในตำแหน่งดังกล่าวแต่มีสิทธิและได้รับความคุ้มครองตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งประเทศอื่นจะมาละเมิดไม่ได้
ดังนั้น น่าจะสรุปได้ชัดเจนว่า กิจการดาวเทียมเป็นกิจการที่สนธิสัญญาระหว่างประเทศกำหนดให้เป็นกิจการที่รัฐภาคีต้องรับผิดชอบระหว่างประเทศ แม้ว่าในทางปฏิบัติแล้วกิจการนั้นจะดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหรือไม่ใช่หน่วยงานของรัฐก็ตาม สิทธิการใช้คลื่นความถี่ที่ตำแหน่งในวงโคจรนั้นไม่ใช่อธิปไตยของชาติใดชาติหนึ่ง แต่เป็นสิทธิของรัฐนั้นๆ ที่จะใช้ประโยชน์โดยได้รับการคุ้มครองตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงต้องถือได้ว่าเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งของประเทศที่จะต้องมีการจัดการตามรัฐธรรมนูญ กิจการดาวเทียมเป็นกิจการที่ต้องใช้คลื่นความถี่เสมอดังจะเห็นได้ว่าต้องมีการจดแจ้งการประสานคลื่นความถี่กับ ITU
มาถึงประเด็นที่ กสทช.เขียนไว้ในเว็บไซต์ว่าการออกใบอนุญาตนั้นเป็นการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ “ไม่เข้า”ตามมาตรา 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ จากที่กล่าวมาแล้ว การประกอบกิจการดาวเทียมจึงเป็นการประกอบการที่ใช้คลื่นความถี่เท่านั้น ตามข้อกำหนดของ ITU หากยังไม่ได้สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ที่ตำแหน่งนั้นในวงโคจรจะส่งดาวเทียมขึ้นไปไม่ได้
หากมีเอกชนจะดำเนินกิจการดาวเทียมก็ต้องเป็นการได้สิทธิจากรัฐซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการอนุญาตให้จดจองตำแหน่งใช้คลื่นความถี่ในวงโคจร และในประเทศไทยก็มีเฉพาะ “กสทช.” กับ “กระทรวง ICT” เท่านั้นที่ทำได้ในแบบต่างกัน
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจองใช้ความถี่ที่ตำแหน่งต่างๆ ไว้ 6 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งอาจมีหลาย Filing หรือความถี่ (รวมมี 27 Filing) ตำแหน่งเหล่านี้เป็นสิทธิของรัฐที่มอบให้กระทรวงคมนาคมดูแล ต่อมามีการตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ก็จึงเปลี่ยนให้เป็นกระทรวง ICT ดูแลตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศกับกระทรวงฯคมนาคม ในการให้บริการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ สัญญาข้อ 10 และข้อ 11 มีสาระสำคัญดังนี้
ข้อ 10 การจัดหาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมและย่านความถี่ให้กระทรวงเป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนดาวเทียม โดยบริษัทฯ ต้องให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ข้อ 11 สิทธิในตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม กระทรวงเป็นเจ้าของสิทธิในตำแหน่งวงโคจรที่กระทรวงเป็นผู้จัดหาตามข้อ 10 และกระทรวงให้สิทธิบริษัทฯ ใช้ตำแหน่งวงโคจรตามข้อ 12 เพื่อดำเนินการตามสัญญา การอนุญาตใดๆ ในการใช้สิทธิที่ตำแหน่งนั้นต้องขออนุญาตจากกระทรวงก่อน
ซึ่งจะเห็นว่าแม้บริษัทฯ จะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดหาตำแหน่งฯ แต่ก็เป็นความผูกพันตามสัญญาที่ต้องมอบสิทธิให้กระทรวงตามเจตนาในการเข้าทำสัญญาแต่ต้น
ตำแหน่งที่มีอยู่บางตำแหน่งก็จะหมดอายุลงและประเทศไทยจำต้องดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิ เช่นสิทธิในวงโคจรดาวเทียมที่ตำแหน่ง 50.5 และ120 องศาตะวันออก จะหมดอายุลงภายในเดือน พฤศจิกายน 2555 และมกราคม 2556 กระทรวง ICT มีหนังสือขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อแนวทางการรักษาตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบแนวทางการรักษาตำแหน่งวงโคจรดังกล่าวและมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ รับไปพิจารณาดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนให้ถูกต้อง โดยยึดถือประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และนำเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนการดำเนินงานต่อไป มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวยังไม่เป็นการมอบสิทธิการใช้คลื่นความถี่ที่ตำแหน่ง120 องศาให้บริษัทไปใช้งาน การรักษาสิทธิทำได้หลายวิธีเช่นจ้างดาวเทียมดวงอื่นมาอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวชั่วคราว แม้มีค่าใช้จ่ายก็นำมาเสนอขออนุมัติรัฐบาลได้ ดังนั้น บริษัทจึงยังไม่ได้มีสิทธิในตำแหน่งดังกล่าว กระทรวง ICT เองก็ยังไม่อนุมัติ หากบริษัทฯ จะนำไปใช้งานก็มีได้สองวิธีการ วิธีแรกคือให้บริษัทฯ นำไปใช้ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิมที่มีขั้นตอนต่างๆ ตามสัญญา วิธีนี้ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมใหม่ อีกวิธีหนึ่งคือมอบสิทธิในการจัดการให้ กสทช. นำไปดำเนินการจัดประมูลต่อไป ซึ่งหากบริษัทประสงค์จะใช้ก็เข้าประมูล หากประมูลได้ก็จะได้ใบอนุญาตและไม่ต้องมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการมอบสิทธิในตำแหน่งใดๆ ให้กับ กสทช. ดังนั้น กสทช.จึงดำเนินการประมูลไม่ได้
จะเห็นว่า กสทช.จะออกใบอนุญาตด้วยเหตุผลว่าการสร้างดาวเทียมเป็นการอนุญาตให้ไปสร้างโครงข่ายก่อนเหมือนการไปสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมก็ไม่ได้ เพราะกิจการนี้เป็นกิจการที่ต้องใช้คลื่นความถี่แม้ดาวเทียมอยู่ในอวกาศที่ไม่ใช่ในเขตอธิปไตยของรัฐ แต่ก็เป็นเขตอำนาจสิทธิของรัฐที่ได้รับการรับรองระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาแล้ว ถือเป็นทรัพยากรของชาติที่ต้องเอาคลื่นความถี่ที่ได้รับสิทธิการใช้งานมาประมูล ไม่ต่างกับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่เป็นกิจการใช้คลื่นความถี่และมีการดำเนินการในอาณาเขตของประเทศ
หากจะมองในเหตุผลว่า ต้องให้บริษัทไปหาสิทธิการใช้คลื่นที่ตำแหน่งในวงโคจรเอาเองในภายหลังก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะหากเป็นการใช้ตำแหน่งใหม่ก็ต้องเป็น กสทช. จัดหาตำแหน่งมาให้ประมูลอยู่ดี เนื่องจากต้องเป็นรัฐเท่านั้นที่จะจองตำแหน่งได้ หากกลัวว่าไม่ทันระยะเวลา 2 ปี ก็ให้บริษัทไปอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเสียก็หมดเรื่อง ที่สำคัญคือเมื่อกิจการนี้เป็นกิจการที่ต้องใช้ความถี่ ดาวเทียมจะใช้ความถี่ใดก็ตามแต่เมื่อต้องมีพื้นที่บริการในประเทศไทย ก็คือการใช้ความถี่นั้นในประเทศไทยย่อมต้องมีการใช้คลื่นความถี่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องประมูล จะอ้างว่าให้เฉพาะไปประกอบกิจการไม่ได้
จนถึงวันนี้ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม “แบบที่ 3” ยังไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ก็ควรหาทางออกร่วมกับกระทรวง ICT เพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากดำเนินการต่อไปจนเผลอไปช่วยประสานงานกับ ITU ที่ตำแหน่ง 120 องศา จะกลายเป็นการอนุญาตคลื่นความถี่ไปในตัว จะผิดจนไม่สามารถแก้ไขได้
ดูไปแล้วเรื่องค่อนข้างซับซ้อน เพราะกฎหมายของไทยเรื่องการจัดหาสิทธิการใช้ความถี่ของตำแหน่งดาวเทียมที่จะต้องมาประมูล ในต่างประเทศนั้นการดำเนินกิจการดาวเทียมเป็นของรัฐเองทั้งหมด หรือรัฐมีหุ้นใหญ่ก็หมดปัญหาไป เรื่องทั้งหมดนี้อธิบายยาก แต่ กสทช. ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา พนักงานที่มีความสามารถ น่าจะมีผู้รู้และเข้าใจทั้งมุมเทคโนโลยีและกฎหมายระหว่างประเทศได้ ไม่เช่นนั้นจะจ้างกันมาแพงๆ ทำไม!?
หลายวันก่อนเข้าไปอ่านข่าวประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช. ด้วยอยากรู้ว่า กสทช. จะทำอย่างไรกับกรณีละครเรื่อง “เหนือเมฆ” เกิดไปเห็นข่าวประชาสัมพันธ์เรื่องที่อยู่เหนือเมฆ และดูจะเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องของละคคเช่นกัน คือเรื่องดาวเทียม
ที่สะดุดใจเพราะหัวข้อมีว่า “กทค.ชี้แจงการออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคม โต้ข้อวิจารณ์คลาดเคลื่อนซ้ำซาก สวนผู้วิจารณ์บิดเบือนต้องรับผิดชอบ” เข้าใจว่าความรู้สึกของ กสทช. คงเบื่อมากๆ กับการชี้แจงที่ทำไมคนกล่าวหาไม่เข้าใจเสียที กล่าวหาบิดเบือนซ้ำซากอยู่ได้ ควรออกมารับผิดชอบบ้าง
ผู้เขียนเองก็ไม่รู้ว่าใครมีความรู้เพียงใดที่ไปกล่าวหาซ้ำซาก เพราะ กสทช. ซึ่งทำหน้าที่ของผู้กำกับดูแล (Regulator) ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ย่อมมีผู้มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี จึงได้อ่านบทความดังกล่าวมีการชี้แจงถึง 8 ประการ แต่เมื่ออ่านไปแล้วรู้สึกเป็นห่วง กสทช.เป็นอย่างยิ่ง จึงต้องเขียนบทความนี้ขึ้นมาทั้งในเชิงวิชาการของกฎหมายและเทคนิค
ทั้ง 8 ประเด็นที่ กสทช.ชี้แจงมานั้น ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจเข้าใจในเรื่องตำแหน่งวงโคจร การได้มาซึ่งตำแหน่ง ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ กสทช. จากนั้นจึงจะตอบคำถามได้ว่าการออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคมนั้นถูกต้องหรือไม่
โดยจะต้องพิจารณากฎหมายและสนธิสัญญาที่ผูกพันประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการดาวเทียมด้วย แม้นักกฎหมายเองอาจเรียนมาบ้าง แต่ไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้อง เช่นทำแต่เรื่องคดีทรัพย์สินทางปัญญาก็อาจไม่เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอวกาศที่มีหลักการทางกฎหมายแตกต่างจากกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปด้วยแล้ว ก็อาจเข้าใจไม่ถูกต้อง
ตำแหน่งวงโคจร (Orbital Slot) ได้มาอย่างไร
กิจการดาวเทียมเป็นกิจการที่แตกต่างจากกิจการสื่อสารอื่นตรงที่มีส่วนที่อยู่ในอวกาศคือตัวดาวเทียมเอง การสื่อสารของคลื่นวิทยุจากโลกก็จะต้องผ่านทั้งชั้นบรรยากาศซึ่งอยู่ภายใต้หลักเขตแดนของประเทศ และผ่านอวกาศ ในเรื่องหลักเขตแดนนั้นไม่สู้จะมีปัญหาเพราะได้พบการอธิบายกันอยู่บ่อยในเรื่องที่แต่ละประเทศย่อมมีอธิปไตยเหนือดินแดนของตน รวมทั้งที่ลงไปใต้พื้นดิน และสูงขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศ
จุดที่แบ่งว่า บริเวณใดเป็นบรรยากาศหรืออวกาศนั้น ยังไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับ บางประเทศก็บอกว่าที่อยู่สูงเกินกว่า 60 ไมล์ขึ้นไปเป็นอวกาศ หรือหากถือตามอนุสัญญากรุงชิคาโกปี 1944 ที่จัดตั้งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Chicago Convention on International Civil Aviation) นิยามว่าอากาศยานจะได้รับแรงพยุงในชั้นบรรยากาศจากปฏิกิริยาของอากาศ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ บริเวณอากาศเป็นบริเวณที่มีอากาศพอเพียงช่วยในการบินของบอลลูนหรือเครื่องบิน เหนือขึ้นไปกว่านั้นก็เป็นอวกาศ ปัจจุบันยังไม่เกิดปัญหาที่ทำให้ต้องแบ่งเขตระหว่างบรรยากาศและอวกาศให้ชัดเจน เพราะกิจการอวกาศในปัจจุบันดำเนินการอยู่ที่สูงกว่านั้นมากจนไม่มีใครโต้แย้งว่าเป็นอวกาศหรือไม่ จึงยังคงปล่อยให้ “ไม่มีนิยาม”ไปก่อนได้
สำหรับอวกาศนั้นเป็นบริเวณที่ได้มีการตกลงกันตามสนธิสัญญาหลักการควบคุมการดำเนินกิจกรรมของรัฐในการสำรวจและใช้อวกาศรวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุบนท้องฟ้า (Treaty on Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space Including the Moon and other Celestial Bodies) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “สนธิสัญญาอวกาศ 1967” ที่ประเทศไทยเข้าร่วมลงนามตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1967 ถึงสถานะของอวกาศในข้อ 1. ว่าเป็นสมบัติส่วนรวมของมนุษยชาติที่ทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ในการสำรวจและใช้อวกาศ และในข้อ 2. บัญญัติว่า “อวกาศ รวมถึงดวงจันทร์ และเทหวัตถุอื่นไม่อยู่ภายใต้บังคับโดยการจัดสรรของชาติใดด้วยการอ้างอธิปไตย โดยการเข้าครอบครองหรือด้วยวิธีการอื่นใด” แต่ข้อความดังกล่าวไม่ห้ามการใช้ประโยชน์จากอวกาศและทุกคนสามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ดังปรากฏในคำปรารภ (Preamble) ได้ระบุความสำคัญว่า “การสำรวจและใช้อวกาศจะต้องกระทำไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนโดยไม่ขึ้นกับระดับทางเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์”
กิจการดาวเทียมเป็นการใช้ประโยชน์จากอวกาศอย่างหนึ่งด้วยการส่งดาวเทียมไปอยู่ในอวกาศแล้วใช้คลื่นความถี่ในการติดต่อกับภาคที่อยู่บนพื้นดิน จึงต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาอวกาศ 1967 ด้วย โดยเฉพาะดาวเทียมสื่อสารประเภทวงโคจรสถิต (Geostationary Orbit) หรือเรียกสั้นๆ ว่าดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) และโคจรรอบโลกด้วยความเร็วเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้เสมือนดาวเทียมอยู่กับที่
การใช้คลื่นความถี่ของดาวเทียมนั้นไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะเพียงในประเทศเจ้าของดาวเทียม แต่คลื่นความถี่ยังครอบคลุมไปยังประเทศอื่นด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดข้อบังคับ และประสานการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่ให้เกิดการรบกวนประเทศอื่น หรือระหว่างดาวเทียมที่อยู่ใกล้กัน การประสานนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานหนึ่งในองค์การสหประชาชาติคือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union) หรือ ITU มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญ (Constitution of the International Telecommunication Union) ในการจัดทำกรอบระเบียบสำหรับการสื่อสารในอวกาศและจัดให้มีการประสานงานระหว่างประเทศและให้คำแนะนำสำหรับประเทศที่ต้องการใช้คลื่นความถี่ตามระเบียบที่กำหนดเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนการใช้งานความถี่ในประเทศสมาชิกอื่น โดยไม่ได้ใช้การบังคับ
อีกเหตุผลหนึ่งที่ ITU ต้องเข้ามาดำเนินการในเรื่องดาวเทียมก็เนื่องจากข้อจำกัดที่ดาวเทียมค้างฟ้าที่ต้องอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรทำให้สามารถส่งดาวเทียมเข้าไปอยู่ในวงโคจรดังกล่าวได้จำกัด เพราะถ้าเข้าไปอยู่ใกล้กัน ก็จะเกิดการชนกันได้ หรือหากตำแหน่งใกล้กันและมีความถี่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันก็จะรบกวนการใช้งานกันได้ จึงต้องมีการจัดสรรการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังที่ใน ITU Radio Regulation ข้อ 0.3 กล่าวไว้อย่างกว้างๆ ว่าคลื่นความถี่วิทยุและวงโคจรอื่นใด รวมทั้งวงโคจรดาวเทียมค้างฟ้าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด ต้องจัดอย่างสมเหตุผล มีประสิทธิภาพและประหยัด
เคยได้ฟังบางท่านบอกว่า ความถี่สำหรับกิจการดาวเทียมมีไม่จำกัด ใช้ซ้ำกันได้นั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะจะซ้ำกันต้องเป็นคนละพื้นที่
การจะส่งดาวเทียมค้างฟ้าขึ้นไปใช้งานจะต้องได้รับสิทธิเสียก่อน หากไม่ได้รับสิทธินี้ประเทศผู้ส่งจะไม่สามารถส่งดาวเทียมขึ้นไปได้ตามความตกลงเรื่องการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ สิทธินี้จะได้มาก็โดยการจองสิทธิการใช้ความถี่ที่ตำแหน่งที่ต้องการ เนื่องจากวงโคจรนี้ต้องอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรจึงบอกตำแหน่งเป็นตำแหน่งเส้นแวง (Longitude) ที่ดาวเทียมจะไปอยู่ โดยการจดจองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ ITU ที่มี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 จัดพิมพ์เอกสารล่วงหน้าว่าจะใช้ความถี่ใดที่ตำแหน่งใดส่งไป ITU ให้ประกาศทั่วโลก
ขั้นที่ 2 หลังจากนั้นอย่างน้อย 6 เดือน ไม่เกิน 2 ปี ต้องประสานการใช้ความถี่ที่อาจมีการรบกวนในบริเวณประเทศที่ส่งสัญญาณลงมาหรือดาวเทียมข้างเคียง หากประสานเป็นที่ตกลงยอมรับของประเทศต่างๆ ก็ไปขั้น 3
ขั้นที่ แจ้งจดทะเบียนความถี่ที่ได้ประสานมาไปยัง ITU
ผู้ที่จะยื่นขอจดจองได้ตามระเบียบของ ITU ต้องเป็นรัฐหรือหน่วยงานระหว่างประเทศ (Member state) เท่านั้น หากเอกชนจะดำเนินกิจการดาวเทียมก็ต้องได้รับอนุญาตให้ทำในนามรัฐและถูกควบคุมตามกฎหมายภายในของรัฐนั้น สอดคล้องกับสนธิสัญญาอวกาศ 1967 ข้อ 6 มีสาระสำคัญว่า “รัฐภาคีของสนธิสัญญาจะต้องรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับกิจการของชาติในอวกาศ รวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่น ไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะกระทำโดยหน่วยงานของรัฐหรือไม่ใช่หน่วยงานของรัฐก็ตาม เพื่อเป็นการประกันได้ว่ากิจกรรมของชาติจะดำเนินไปสอดคล้องกับบทบัญญัติในสนธิสัญญานี้ กิจกรรมของหน่วยงานที่ไม่ใช่ของรัฐในอวกาศ รวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่น จะต้องได้รับการอนุญาตและการควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่องโดยรัฐภาคีตามสนธิสัญญา
หมายความว่า รัฐเท่านั้นที่จะดำเนินกิจกรรมใดๆ ในอวกาศได้ การดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของรัฐ เอกชนจะไปดำเนินกิจกรรมอวกาศโดยลำพังไม่ได้
สิทธิจากตำแหน่งวงโคจรเป็นอย่างไร
มีความเข้าใจผิดอย่างมากว่าสิทธิที่ได้มา คือ “ตำแหน่ง” ที่แท้จริงแล้วเป็นการ “ได้สิทธิใช้คลื่นความถี่ที่ตำแหน่งนั้น” เพราะ ITU ไม่มีอำนาจตามธรรมนูญในการจัดสรรตำแหน่ง ตัวอย่างที่ตำแหน่ง 50.5 องศา ทั้งไทยและตุรกีก็มี Filing ที่จดทะเบียนไว้แต่คนละความถี่ ITU มีหน้าที่เพียงแค่จัดสรรความถี่ จึงใช้การจัดสรรสิทธิการใช้ความถี่ที่แต่ละตำแหน่ง ดังจะเห็นว่าในแต่ละขั้นตอนนั้นจะเป็นการประสานความถี่กับประเทศต่างๆ ดังจะเห็นว่าในเรื่องการจองใช้สิทธิใช้ความถี่ที่ตำแหน่งในอวกาศของ ITU ก็กำหนดให้ทุกชาติมีสิทธิในการจองเท่าเทียมกัน ในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน (First come first serve) แต่เมื่อได้ดำเนินการตามข้อบังคับขั้น 3 ในการจองสิทธิของ ITU แล้ว ก็จะเกิดความผูกพันสิทธิระหว่างประเทศสมาชิกของ ITU ที่จะต้องยอมรับสิทธินั้นที่ผ่านการประสานงานตกลงระหว่างประเทศ
สิทธินี้ไม่ใช่อธิปไตย แต่เป็นสิทธิในการใช้ประโยชน์ และไม่ใช่การเข้าครอบครองแต่เป็นสิทธิของประเทศที่มีระยะเวลากำหนดไว้ชัดเจนตามข้อบังคับของ ITU (ไม่เกิน 7 ปี)
ข้อบังคับและระเบียบของ ITU เองก็สอดคล้องกับสนธิสัญญาอวกาศ 1967 ข้อ 3 ว่า “รัฐผู้มีส่วนได้เสียตามสนธิสัญญาจะต้องดำเนินกิจกรรมสำรวจและใช้อวกาศรวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่น ให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎบัตรของสหประชาชาติเพื่อผลประโยชน์ในการธำรงรักษาสันติภาพสากล ความมั่นคง และส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างประเทศ” หรือกล่าวว่าแม้ประเทศไม่มีอธิปไตยในตำแหน่งดังกล่าวแต่มีสิทธิและได้รับความคุ้มครองตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งประเทศอื่นจะมาละเมิดไม่ได้
ดังนั้น น่าจะสรุปได้ชัดเจนว่า กิจการดาวเทียมเป็นกิจการที่สนธิสัญญาระหว่างประเทศกำหนดให้เป็นกิจการที่รัฐภาคีต้องรับผิดชอบระหว่างประเทศ แม้ว่าในทางปฏิบัติแล้วกิจการนั้นจะดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหรือไม่ใช่หน่วยงานของรัฐก็ตาม สิทธิการใช้คลื่นความถี่ที่ตำแหน่งในวงโคจรนั้นไม่ใช่อธิปไตยของชาติใดชาติหนึ่ง แต่เป็นสิทธิของรัฐนั้นๆ ที่จะใช้ประโยชน์โดยได้รับการคุ้มครองตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงต้องถือได้ว่าเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งของประเทศที่จะต้องมีการจัดการตามรัฐธรรมนูญ กิจการดาวเทียมเป็นกิจการที่ต้องใช้คลื่นความถี่เสมอดังจะเห็นได้ว่าต้องมีการจดแจ้งการประสานคลื่นความถี่กับ ITU
มาถึงประเด็นที่ กสทช.เขียนไว้ในเว็บไซต์ว่าการออกใบอนุญาตนั้นเป็นการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ “ไม่เข้า”ตามมาตรา 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ จากที่กล่าวมาแล้ว การประกอบกิจการดาวเทียมจึงเป็นการประกอบการที่ใช้คลื่นความถี่เท่านั้น ตามข้อกำหนดของ ITU หากยังไม่ได้สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ที่ตำแหน่งนั้นในวงโคจรจะส่งดาวเทียมขึ้นไปไม่ได้
หากมีเอกชนจะดำเนินกิจการดาวเทียมก็ต้องเป็นการได้สิทธิจากรัฐซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการอนุญาตให้จดจองตำแหน่งใช้คลื่นความถี่ในวงโคจร และในประเทศไทยก็มีเฉพาะ “กสทช.” กับ “กระทรวง ICT” เท่านั้นที่ทำได้ในแบบต่างกัน
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจองใช้ความถี่ที่ตำแหน่งต่างๆ ไว้ 6 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งอาจมีหลาย Filing หรือความถี่ (รวมมี 27 Filing) ตำแหน่งเหล่านี้เป็นสิทธิของรัฐที่มอบให้กระทรวงคมนาคมดูแล ต่อมามีการตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ก็จึงเปลี่ยนให้เป็นกระทรวง ICT ดูแลตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศกับกระทรวงฯคมนาคม ในการให้บริการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ สัญญาข้อ 10 และข้อ 11 มีสาระสำคัญดังนี้
ข้อ 10 การจัดหาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมและย่านความถี่ให้กระทรวงเป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนดาวเทียม โดยบริษัทฯ ต้องให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ข้อ 11 สิทธิในตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม กระทรวงเป็นเจ้าของสิทธิในตำแหน่งวงโคจรที่กระทรวงเป็นผู้จัดหาตามข้อ 10 และกระทรวงให้สิทธิบริษัทฯ ใช้ตำแหน่งวงโคจรตามข้อ 12 เพื่อดำเนินการตามสัญญา การอนุญาตใดๆ ในการใช้สิทธิที่ตำแหน่งนั้นต้องขออนุญาตจากกระทรวงก่อน
ซึ่งจะเห็นว่าแม้บริษัทฯ จะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดหาตำแหน่งฯ แต่ก็เป็นความผูกพันตามสัญญาที่ต้องมอบสิทธิให้กระทรวงตามเจตนาในการเข้าทำสัญญาแต่ต้น
ตำแหน่งที่มีอยู่บางตำแหน่งก็จะหมดอายุลงและประเทศไทยจำต้องดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิ เช่นสิทธิในวงโคจรดาวเทียมที่ตำแหน่ง 50.5 และ120 องศาตะวันออก จะหมดอายุลงภายในเดือน พฤศจิกายน 2555 และมกราคม 2556 กระทรวง ICT มีหนังสือขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อแนวทางการรักษาตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบแนวทางการรักษาตำแหน่งวงโคจรดังกล่าวและมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ รับไปพิจารณาดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนให้ถูกต้อง โดยยึดถือประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และนำเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนการดำเนินงานต่อไป มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวยังไม่เป็นการมอบสิทธิการใช้คลื่นความถี่ที่ตำแหน่ง120 องศาให้บริษัทไปใช้งาน การรักษาสิทธิทำได้หลายวิธีเช่นจ้างดาวเทียมดวงอื่นมาอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวชั่วคราว แม้มีค่าใช้จ่ายก็นำมาเสนอขออนุมัติรัฐบาลได้ ดังนั้น บริษัทจึงยังไม่ได้มีสิทธิในตำแหน่งดังกล่าว กระทรวง ICT เองก็ยังไม่อนุมัติ หากบริษัทฯ จะนำไปใช้งานก็มีได้สองวิธีการ วิธีแรกคือให้บริษัทฯ นำไปใช้ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิมที่มีขั้นตอนต่างๆ ตามสัญญา วิธีนี้ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมใหม่ อีกวิธีหนึ่งคือมอบสิทธิในการจัดการให้ กสทช. นำไปดำเนินการจัดประมูลต่อไป ซึ่งหากบริษัทประสงค์จะใช้ก็เข้าประมูล หากประมูลได้ก็จะได้ใบอนุญาตและไม่ต้องมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการมอบสิทธิในตำแหน่งใดๆ ให้กับ กสทช. ดังนั้น กสทช.จึงดำเนินการประมูลไม่ได้
จะเห็นว่า กสทช.จะออกใบอนุญาตด้วยเหตุผลว่าการสร้างดาวเทียมเป็นการอนุญาตให้ไปสร้างโครงข่ายก่อนเหมือนการไปสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมก็ไม่ได้ เพราะกิจการนี้เป็นกิจการที่ต้องใช้คลื่นความถี่แม้ดาวเทียมอยู่ในอวกาศที่ไม่ใช่ในเขตอธิปไตยของรัฐ แต่ก็เป็นเขตอำนาจสิทธิของรัฐที่ได้รับการรับรองระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาแล้ว ถือเป็นทรัพยากรของชาติที่ต้องเอาคลื่นความถี่ที่ได้รับสิทธิการใช้งานมาประมูล ไม่ต่างกับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่เป็นกิจการใช้คลื่นความถี่และมีการดำเนินการในอาณาเขตของประเทศ
หากจะมองในเหตุผลว่า ต้องให้บริษัทไปหาสิทธิการใช้คลื่นที่ตำแหน่งในวงโคจรเอาเองในภายหลังก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะหากเป็นการใช้ตำแหน่งใหม่ก็ต้องเป็น กสทช. จัดหาตำแหน่งมาให้ประมูลอยู่ดี เนื่องจากต้องเป็นรัฐเท่านั้นที่จะจองตำแหน่งได้ หากกลัวว่าไม่ทันระยะเวลา 2 ปี ก็ให้บริษัทไปอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเสียก็หมดเรื่อง ที่สำคัญคือเมื่อกิจการนี้เป็นกิจการที่ต้องใช้ความถี่ ดาวเทียมจะใช้ความถี่ใดก็ตามแต่เมื่อต้องมีพื้นที่บริการในประเทศไทย ก็คือการใช้ความถี่นั้นในประเทศไทยย่อมต้องมีการใช้คลื่นความถี่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องประมูล จะอ้างว่าให้เฉพาะไปประกอบกิจการไม่ได้
จนถึงวันนี้ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม “แบบที่ 3” ยังไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ก็ควรหาทางออกร่วมกับกระทรวง ICT เพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากดำเนินการต่อไปจนเผลอไปช่วยประสานงานกับ ITU ที่ตำแหน่ง 120 องศา จะกลายเป็นการอนุญาตคลื่นความถี่ไปในตัว จะผิดจนไม่สามารถแก้ไขได้
ดูไปแล้วเรื่องค่อนข้างซับซ้อน เพราะกฎหมายของไทยเรื่องการจัดหาสิทธิการใช้ความถี่ของตำแหน่งดาวเทียมที่จะต้องมาประมูล ในต่างประเทศนั้นการดำเนินกิจการดาวเทียมเป็นของรัฐเองทั้งหมด หรือรัฐมีหุ้นใหญ่ก็หมดปัญหาไป เรื่องทั้งหมดนี้อธิบายยาก แต่ กสทช. ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา พนักงานที่มีความสามารถ น่าจะมีผู้รู้และเข้าใจทั้งมุมเทคโนโลยีและกฎหมายระหว่างประเทศได้ ไม่เช่นนั้นจะจ้างกันมาแพงๆ ทำไม!?